พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่
ส. เป็นลูกจ้างของโจทก์มีตำแหน่งเป็นคนการ มีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมบนขบวนรถไฟสายหนองคาย-กรุงเทพ ตั้งแต่รถไฟออกจากสถานีหนองคาย ในเวลา19 นาฬิกา ถึงเวลา 23 นาฬิกา หลังจากนั้นจนถึงเวลา 4.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเป็นเวลาพักผ่อน ส. จะนอนที่รถทำการพนักงานรักษารถ และเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 4.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง การที่ ส. ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปกับขบวนรถไฟ การพักผ่อนบนขบวนรถไฟก็เพื่อให้ส.ได้ปฏิบัติงานต่อหลังจากพักผ่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของส.ที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟ ฉะนั้น การที่ ส. พลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่พักผ่อนบนรถไฟ จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายจากการทำงาน: ลูกจ้างประสบอันตรายขณะพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดย ผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่ เวลา 23 นาฬิกา จนถึง เวลา4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้ มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้ เริ่มปฏิบัติงานต่อ จนถึง เวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้อง อยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อ ไป ดัง นั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตก จากขบวนรถไฟจนถึง แก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี หากพิสูจน์ไม่ได้ ต้องรับผิดชำระภาษี
โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้จ่ายค่าจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างโดยมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเอกสารที่เป็นหลักฐานการจ่ายค่าแรงงาน ไม่ปรากฏสถานภาพของลูกจ้างโจทก์ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ โจทก์จะถือว่าลูกจ้างที่มีรายได้จากโจทก์มีรายได้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ จึงไม่จำต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมไม่ถูกต้องเพราะการที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ต้องดู จากรายได้ทั้งหมดของลูกจ้างแต่ละคนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำมาพิสูจน์ให้เห็นว่าลูกจ้างโจทก์มีเงินได้อยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับขี่: ผู้ขับขี่มีหน้าที่สังเกตและหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง แม้ผู้ถูกชนไม่ได้ติดตั้งสัญญาณเตือน
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกไม้กระดาน โดยไม้กระดานบางส่วนยื่นพันท้ายรถออกไป 1 เมตรเศษ ขณะจอดรถเพื่อรอเลี้ยวตรงเกาะกลางถนนโจทก์ขับรถยนต์ไปชนถูกไม้กระดานที่ยื่นออกมานั้น ขณะเกิดเหตุท้องฟ้ากำลังสลัว พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน แต่ยังไม่มืดและไม้กระดานที่ยื่นมีจำนวนมากแผ่น ย่อมมองเห็นชัดเจนในระยะไกล หากโจทก์ระมัดระวังย่อมสังเกตเห็น และหลบหลีกไม่ให้ชนถูกไม้กระดานที่ยื่นการเกิดเหตุชนกันจึงเป็นเพราะโจทก์ขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง แม้จำเลยมิได้ติดสัญญาณไฟหรือผ้าสีแดงไว้ที่ปลายไม้กระดาน โจทก์ก็เป็นฝ่ายประมาทมากกว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับขี่: ผู้ขับขี่มีหน้าที่สังเกตและหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง แม้ผู้ถูกชนจะมีความผิดในการบรรทุก
เมื่อการที่โจทก์ขับรถไปชนไม้ที่รถจำเลยบรรทุกยื่นออกมาเกิดเพราะโจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นตามคำสั่ง: หน้าที่ชำระหนี้แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์
โจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องตามคำสั่งซื้อของจำเลย และโจทก์ออกเงินค่าหุ้นแทนจำเลยไป แม้จะไม่มีสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับตลาดหลักทรัพย์มาเป็นพยาน จำเลยก็มีหน้าที่ตามคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะต้องชำระเงินคืนให้โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้รับโอนประทานบัตรเหมืองแร่ในการปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศราชการ แม้หลุมบ่อมีอยู่ก่อน
จำเลยรับโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรจาก ส. ขณะที่รับโอนมีบ่อหลุมตามฟ้องอยู่ในโรงแต่งแร่อยู่แล้ว และรับโอนมาภายหลังจากที่ประกาศผู้อำนวยการเขตควบคุมแร่ประจำเขตจังหวัดภูเก็ตพังงา ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) เรื่องการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับเขตเหมืองแร่และเขตแต่งแร่ โดยกำหนดมาตรการเกี่ยวกับเขตเหมืองแร่และเขตแต่งแร่ว่า สภาพของอาคารซึ่งใช้ในการเก็บแร่หรือมีแร่ไว้ในครอบครองของเหมืองจะต้องมีพื้นอาคารเทคอนกรีตและไม่มีห้องหรือหลุมใต้ดินในบริเวณอาคารและไม่มีห้องหรือหลุมใต้ดินที่พื้นนั้น การที่อาคารโรงแต่งแร่ของจำเลยมีบ่ออยู่ใต้พื้นซีเมนต์ถึง 3 บ่อ และเจ้าพนักงานได้ค้นพบแร่ดีบุกของกลางเก็บซ่อนไว้ในบ่อนั้น ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศผู้อำนวยการเขตควบคุมแร่ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง จำเลยจะอ้างว่าบ่อดังกล่าวมีมาก่อนที่จำเลยจะรับโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรไม่ได้ เพราะจำเลยได้รับโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรมาแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องจัดการแก้ไขและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและประกาศของทางราชการ มิฉะนั้นก็จะเป็นทางให้มีการหลีกเลี่ยงกฎหมายและประกาศดังกล่าวด้วยการโอนกิจการเหมืองแร่และประทานบัตรกันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเข้าใจผิดในกระบวนการยุติธรรม: จำเลยมีหน้าที่ดูแลคดีของตนเอง แม้เกิดจากความเข้าใจผิด
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 1 เกิดจากความเข้าใจผิดของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 1 เข้าใจผิดว่า จำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำตัวของจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ด้วย และทนายความของจำเลยที่ 2 ก็เข้าใจว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำบริษัทของจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาของจำเลยที่ 1 เอง เหตุผลดังกล่าวแม้จะเป็นความจริงก็ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เองจำเลยที่ 1 จะอ้างความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: ระยะเวลาปฏิบัติงานต้องสัมพันธ์กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้รวมถึงเวลานอกเหนือการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัท ก. ทำหน้าที่เป็นช่างทาสีบริษัท ก. มีคำสั่งให้โจทก์กับคนงานอื่นไปทำงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างเวลา 16-20 นาฬิกา เมื่อเวลาประมาณ3 นาฬิกา ของวันที่ 26 มิถุนายน 2530 โจทก์พลัดตกจากรถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์นอนอยู่เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแขนและขาขวาใช้งานไม่ได้เวลาที่โจทก์ประสบอันตรายดังกล่าวไม่ใช่ระยะเวลาที่โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เพราะเป็นเวลาที่โจทก์ต้องพักผ่อนเพื่อเตรียมปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาโจทก์จึงเรียกร้องเอาค่าทดแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย: การปลดออกจากการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ และการใช้รถของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงานข้อ 43 กำหนดว่า "การลงโทษปลดออกนั้น จะกระทำได้เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ 41 และข้อ 42 แต่โทษยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออก หรือถึงกับจะต้องถูกไล่ออก แต่มีเหตุผลอันควรลดหย่อน" การที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานช่างนำรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปักเสา 2 ต้น และยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านหม้อแปลงให้แก่ผู้รับเหมา การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน หมวด 5 เรื่องวินัย ข้อ 38(3) ที่กำหนดว่า "ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้ามขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง..." แล้วยังต้องด้วยข้อ 41(3) ที่กำหนดว่า "ทุจริตต่อหน้าที่การงาน" ด้วยเพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่น คือผู้รับเหมาที่โจทก์นำรถของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปปักเสาและยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านให้ซึ่งมีโทษถึงไล่ออก ดังนั้นการที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยมีคำสั่งปลดออกจึงเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าวแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม