คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วน-การแจ้งความจำนงเช่าต่อหลังผู้เช่าเสียชีวิต-พ.ร.บ.ควบคุมเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยเข้าอยู่โดยละเมิดไม่เกี่ยวกับสัญญาเช่าจำเลยต่อสู้ว่าบิดาจำเลยเช่าตึกของโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วน ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว และจำเลยก็เป็นหุ้นส่วนด้วย สัญญาเช่ายังไม่หมดอายุ และว่าจำเลยได้เข้าอยู่ในตึกเช่าร่วมกับบิดาตลอดมา เมื่อบิดาถึงแก่กรรมจำเลยก็ได้แจ้งความจำนงขอถือสัญญาเช่าต่อไปและได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือภายในกำหนด 30 วันแล้ว ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมเช่า ฯลฯ ดังนี้แม้ศาลจะไม่ยอมให้จำเลยสืบพยานในข้อที่ว่าห้างหุ้นส่วนเป็นผู้เช่าไม่ได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารก็ตาม ศาลก็ยังต้องให้สืบพยานในประเด็นข้อหลัง คือจำเลยได้อาศัยอยู่ในตึกรายนี้ร่วมกับบิดา ซึ่งเป็นผู้เช่า และเมื่อบิดาตาย จำเลยได้แจ้งความจำนงเป็นหนังสือขอเช่าต่อไปกับโจทก์ภายในกำหนด 30 วัน ฯลฯ จริงหรือไม่ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยความตกลงเป็นไปได้ แม้มีเหตุเลิกตามกฎหมาย
เหตุเลิกหุ้นส่วนตามมาตรา 1055 นั้นเป็นเหตุเลิกห้างหุ้นส่วนอันมิใช่โดยความตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วน ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือขัดต่อศีลธรรมอย่างไร ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วนต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกและการเป็นบริวารของผู้เช่า แม้มีการโอนกิจการ ห้างหุ้นส่วนก็ยังต้องรับผิดตามสัญญาเช่า
จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไปเช่าตึกเพื่อดำเนินกิจการของห้าง แม้ต่อมาหุ้นส่วนคนหนึ่งจะได้รับโอนกิจการทั้งหมดไว้แต่ผู้เดียวก็ดี เมื่อผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าย่อมขับไล่ผู้รับโอนกิจการของหุ้นส่วนนั้นได้ โดยถือว่าเป็นบริวารของจำเลยผู้เช่า ผู้รับโอนจะอ้างว่าจำเลยไปทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกแล้ว ผู้รับโอนหุ้นมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมีมติให้เลิกความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลง จะนำมาตรา1249-1040 มาใช้บังคับมิได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมโอนหุ้นของตนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่นผู้รับโอนหุ้นมาย่อมเป็นผู้เสียหายในทางอาญาได้
คดีอาญาที่อยู่ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้อง แม้ศาลจะเห็นว่าฟ้องบางข้อไม่ผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง แต่ยังมีข้อหาฐานอื่นอยู่ด้วย และคดีจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไปศาลไม่ควรด่วนวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิด
ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ย่อมมีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนตัวความได้
(อ้างฎีกา 1243/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี: ศาลจำกัดขอบเขตการวินิจฉัยเฉพาะการเลิกห้างหุ้นส่วนตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาล เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีหนังสือมาบอกกล่าวเลิกห้างหุ้นส่วนพร้อมกับเสนอระบุชื่อผู้ชำระบัญชีไปด้วย ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็มิได้คัดค้านประการใด ยังกลับตอบรับเห็นชอบและยอมตั้งผู้ชำระบัญชีผู้ที่ระบุไปนั้นด้วย เป็นแต่กำหนดเงื่อนไขไว้บางประการเท่านั้น ดังนี้นับว่าการเลิกห้างหุ้นส่วนและจัดการชำระบัญชีได้กระทำไปแล้วตามกฎหมาย แต่การชำระบัญชีในเรื่องทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจะถูกต้องหรือไม่ ย่อมเป็นประเด็นหนึ่งต่างหาก ฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นจะมาฟ้องศาลขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนนั้น และตั้งผู้ชำระบัญชีจัดการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนี้อีกไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และยังมีคำขออีกมากมายท้ายฟ้อง แต่ตั้งรูปคดีมาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ เพราะเสียค่าขึ้นศาลเพียง 15 บาท ดังนี้ศาลควรวินิจฉัยเพียงว่าการเลิกห้างหุ้นส่วน และการชำระบัญชีเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ส่วนทรัพย์ในห้างหุ้นส่วนจะมีเท่าใด เป็นส่วนของใครเท่าใด ไม่ควรวินิจฉัยให้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินโดยใช้สิทธิหุ้นส่วนเป็นหลักประกันก่อนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน
ผู้เป็นหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนกู้เงินเขามาแม้เขียนในสัญญากู้ว่า "เอาสิทธิหุ้นส่วนของบริษัทพักตรพริ้งซึ่งผู้กู้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง" มาเป็นหลักทรัพย์ประกันก็ดี เงินที่กู้มาก็ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้โดยส่วนตัว การที่พูดว่าเอาสิทธิหรือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนมาเป็นประกันเงินกู้ในสัญญากู้ที่ทำกันเองนั้น หาก่อให้เกิดเป็นการจำนำหรือบุริมสิทธิในอันที่จะติดตามไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของนิติบุคคล ซึ่งเกิดมาภายหลังนั้นไม่ เมื่อผู้กู้ไม่ชำระเงินจนถูกผู้ให้กู้ฟ้องศาล ศาลบังคับให้ชำระแล้วผู้ให้กู้จะไปยึดทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในภายหลังนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งขายทรัพย์ที่ยึดชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนเพื่อป้องกันความเสียหาย
ในคดีเรื่องขอให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ ในระหว่างดำเนินคดีนั้น ศาลได้สั่งยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนไว้ชั่วคราว ผู้ชำระบัญชีเดิมขอให้ขายที่ดินของห้างหุ้นส่วน โดยอ้างว่า การยึดที่ดินของห้างหุ้นส่วนไว้เฉย ๆ มีแต่ทางสิ้นเปลืองและเสียหายมาก เพราะต้องเสียค่ารักษาและที่สวนยางมีอาณาเขตต์กว้างขวางยากแก่การระวังรักษา ปรากฎว่ามีคนร้ายมาลักตัดยางเป็นนิจ เป็นที่เสียหายแก่สวนยางและผู้เป็นหุ้นส่วน ดังนี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้จัดการขายทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งขายทรัพย์ยึดของห้างหุ้นส่วนเพื่อป้องกันความเสียหาย
ในคดีเรื่องขอให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ ในระหว่างดำเนินคดีนั้น ศาลได้สั่งยึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนไว้ชั่วคราว ผู้ชำระบัญชีเดิมขอให้ขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนโดยอ้างว่า การยึดที่ดินของห้างหุ้นส่วนไว้เฉยๆ มีแต่ทางสิ้นเปลืองและเสียหายมาก เพราะต้องเสียค่ารักษาและที่สวนยางมีอาณาเขตกว้างขวางยากแก่การระวังรักษา ปรากฏว่ามีคนร้ายมาลักตัดยางเป็นนิจ เป็นที่เสียหายแก่สวนยางและผู้เป็นหุ้นส่วน ดังนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้จัดการขายทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสารส้ม: การตีความเอกสาร หลักฐานการซื้อขาย อำนาจฟ้องของห้างหุ้นส่วนสามัญ
ใบสั่งซื้อของโจทก์มีว่าโจทก์ตกลงซื้อสารส้มกับจำเลย บริษัทจำเลยตอบรับตกลงตามราคาและเงื่อนไขที่แจ้งตามใบสั่งซื้อนั้นทุกประการ จึงเป็นการตกลงซื้อขายกันไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยจะจัดการหาซื้อให้ทำนองตัวแทนหรือนายหน้าหากจำเลยผิดนัด ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ อันมิได้จดทะเบียน ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการและได้ทำการซื้อขายในนามของโจทก์เอง แม้จะระบุตำแหน่งผู้จัดการไว้ด้วยโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1049
ศาลพิพากษาว่าให้จำเลยขายสารส้มให้โจทก์ตามจำนวนและราคาในฟ้อง หรือให้จำเลยชดใช้ผลกำไรที่โจทก์ควรได้รับเป็นเงิน 49,000 บาทแก่โจทก์นั้น จำเลยย่อมเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญและการตั้งผู้ชำระบัญชี: ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้
ฟ้องขอให้แสดงว่าห้างหุ้นส่วนเลิกกันและขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีนั้นเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์กำหนดเป็นราคาเงินมิได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนขอให้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหุ้นส่วน และว่าเป็นเจ้าของโรงมหรสพแต่ผู้เดียวเมื่อได้ความตามทางพิจารณาว่าจำเลยครอบครองโรงมหรสพในฐานะเป็นผู้จัดการของหุ้นส่วนก็เป็นการสมควรที่จะต้องกล่าวคำวินิจฉัยให้แจ้งชัดตามประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยเองว่า จำเลยครอบครองในฐานะอันใดการกล่าวคำวินิจฉัยเช่นนี้หาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันและให้ตั้งผู้ชำระบัญชี ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วทรัพย์สินของหุ้นส่วนเป็นกรรมสิทธิ์รวมจึงให้บังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 โดยให้จัดการประมูลขายหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน แบ่งให้ผู้ถือหุ้นตามส่วนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า ให้ตั้งผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061,1062,1063 ดังนี้ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อย
of 23