พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ย และการรับชำระหนี้แทนการชำระตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน30,000 บาท จำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ 1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน เมื่อมีการหักชำระหนี้จากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิด ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน196,186.28 บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของผู้ให้กู้เป็นโมฆะหากอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดและฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจำนวนนั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินกู้อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์, ผลของการอุทธรณ์เกินกำหนด, และข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง
++ เรื่อง ++++
++ คดีแดงที่ 1968-1969/2537 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน 2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้
เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้
++ คดีแดงที่ 1968-1969/2537 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน 2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้
เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และขอบเขตของความโมฆะ
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับและในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับและในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคงเดิม แม้ธปท. เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวไม่จำเป็นวินิจฉัย
การคิดอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยตามคำ-พิพากษานั้นมีผลเปลี่ยนแปลงไป โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามคำพิพากษา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาถึงที่สุด และการพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
การคิดอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษานั้นมีผลเปลี่ยนแปลงไป โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามคำพิพากษา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย: บทบาทการนำสืบหลักฐานประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลังที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลสามารถรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่นำสืบความข้อนี้ให้ปรากฏต่อศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปีซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ & อัตราดอกเบี้ย: ตั๋วสัญญาใช้เงิน, การนำเงินชำระหนี้ไปหักต้นเงิน/ดอกเบี้ย, สิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่าต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968(1)ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม เงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปีตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบชำระหนี้ – ดอกเบี้ยเกินอัตรา – นำไปชำระต้นเงินได้ – มาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้องเงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคแรก