คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสั่งคืนของกลาง: เจ้าพนักงานป่าไม้มีอำนาจเฉพาะในการคืนของกลางที่ยึดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงาน-ป่าไม้จับกุมพร้อมไม้แปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด รถยนต์พิพาทถูกยึดไว้เป็นของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานป่าไม้ ซึ่งมิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลย จำเลยเป็นหัวหน้าพนักงาน-สอบสวนในคดีดังกล่าว ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานป่าไม้เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ที่ให้อำนาจไว้ แม้คดีอาญาดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุด พนักงานสอบสวนยังมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไปก็ตามแต่การขอคืนของกลางรถยนต์พิพาทต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 64 ตรี ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษ กล่าวคือ ผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลาง คือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ได้แก่เจ้าพนักงานป่าไม้ จำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการคืนของกลางรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจโดยจงใจเลี่ยงระเบียบ และการกระทำโดยทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ลูกหนี้ ถือเป็นความผิด
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์ภายหลังหรือไม่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุไม่จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์และไม่เป็นสาระหรือประโยชน์แก่คดีที่พึงพิจารณาวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจเป็นหนังสือยืนยันขอบเขตอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพนักงานของจำเลยและรับรองอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์ต่อบุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปส่วนมติกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้แทนดังกล่าวอีกชั้นหนึ่งเป็นข้อจำกัดอำนาจเป็นการภายในหนังสือมอบอำนาจจึงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และฐานะของจำเลยหรือเป็นการเพิกถอนยกเลิกมติดังกล่าวไม่ ลูกหนี้ยื่นขอสินเชื่อในรูปแบบของการกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของจำเลยแทนที่จำเลยจะเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารโจทก์ตามระเบียบกลับอนุมัติในรูป เพลซเมนท์/โลนหรือเงินฝากเป็นการจงใจหาวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบและวัตถุประสงค์ในรูปสินเชื่อที่แท้จริงโดยทุจริตเมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ตรวจสอบแล้วทักท้วงว่ารูปแบบสินเชื่อดังกล่าวเป็นการให้กู้และให้แก้ไขแทนที่จำเลยจะแก้ไขปฏิบัติเป็นรูปเงินกู้ตามข้อทักท้วงและขออนุมัติตามระเบียบให้ถูกต้องตามความจริงจำเลยกลับเปลี่ยนแปลงเป็นรูปตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นวิธีการเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามที่ทักท้วงและไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องอีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนสินเชื่อที่เกินอำนาจหลายครั้งหลายหนชี้ชัดว่าเพื่อเอื้อประโยชน์กันแก่ลูกหนี้เป็นเจตนาทุจริต จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่เสียหายโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และได้มีการชำระหนี้ทั้งหมดแล้วโดยได้ยกขึ้นอ้างตั้งแต่ชั้นอุทธรณ์ตลอดมาและมีพยานเอกสารประกอบซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งพอรับฟังเป็นคุณแก่จำเลยได้ว่าเป็นความจริงแต่เมื่อตั้งแต่จำเลยให้ลูกหนี้กู้ยืมไปลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาตลอดมาจนกระทั่งจำเลยพ้นจากตำแหน่งแล้วตลอดถึงขณะที่โจทก์ฟ้องคดีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมมีอยู่จริงก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำผิดการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้แล้วภายหลังเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้าและมิได้เกิดจากการดำเนินการของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายและไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากการกระทำผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6994/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคู่ความอื่นก่อนออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา254 (2) แม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 21 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6973/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจและการรับผิดตามสัญญา แม้ไม่มีการมอบอำนาจ
ในคดีแพ่ง เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ และข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายฟังได้ชัดแจ้งอย่างใดแล้ว ศาลก็ยกข้อกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีได้เอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายตามสัญญาพิพาท จำเลยต่อสู้ว่า ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิด ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เป็นข้อ 3 มีว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินตอบแทนหรือค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาพิพาทโดยตรง แม้ ผ.ผู้ลงชื่อในสัญญาจะมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยและจำเลยมิได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ผ.เป็นตัวแทนจำเลยก็ตาม แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยได้อยู่รู้เห็นในการทำสัญญาทั้งได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาด้วย ถือได้ว่าจำเลยเชิด ผ.ออกเป็นตัวแทนของตน ผ.จึงทำสัญญากับโจทก์ในฐานะตัวแทนจำเลย มีผลเท่ากับจำเลยทำสัญญากับโจทก์ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวนั้น จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส.เอง เมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนาย-ความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส. จากการเป็นทนายความของตน การกระทำของ ส.ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายหลังตัวการถึงแก่กรรม: สัญญาตัวแทนระงับ แต่ทนายยังปกปักรักษาประโยชน์ได้จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวน-พิจารณาแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไป ทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารรบบความศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้สืบสิทธิ
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฎต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังตัวความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 นั้นเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชี - อำนาจของผู้เปิดบัญชี - ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริง และผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้ แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร ซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้
of 98