คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาท, อายุความ, การอุทธรณ์, ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จะต้องคำนวณจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง โดยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับแชร์วงแรก มีจำนวน 42,787.23 บาท ต้องถือว่าอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับแชร์วงแรกเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับแชร์วงแรกเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนอุทธรณ์ในดอกเบี้ยค้างชำระเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง เพราะหนี้ประธานต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับแชร์วงแรก การที่โจทก์เพียงยื่นคำแก้ฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาใหม่ โดยพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 บังคับให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่มีผลเป็นการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นดังกล่าว คดีสำหรับแชร์วงแรกจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา หนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความแล้ว นั้น เห็นว่า จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าแชร์วงที่สองจัดตั้งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2532 แล้วแชร์ล้มก่อนครบกำหนด โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยนับแต่แชร์ล้ม แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความซึ่งมีกำหนด 5 ปี คำให้การของจำเลยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าหนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระขาดอายุความ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองนั้นชอบแล้ว
ยอดหนี้ค่าแชร์วงที่สองของโจทก์จำนวนสามหุ้นกับดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องคำนวณยอดเงินได้ 119,547.50 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์เพียง 118,566.16 บาท เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาและกรณีมิใช่การผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคำร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาหลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแล้ว ถือเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่งไปแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว จำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา: การเลือกใช้สิทธิ และผลของการอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยมิใช่คนยากจน หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวจำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนหรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8684/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่นำเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นบทบังคับทั้งคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลแล้วศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที เพราะมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ การที่ศาลอุทธรร์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8645/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ตามคำฟ้อง: ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นที่จำเลยขอให้แก้ตามคำฟ้องอุทธรณ์
คดีมีประเด็นข้อพิพาท 4 ประเด็น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้ในประเด็นที่ 1 ถึงที่ 3 และชนะในประเด็นที่ 4 จำเลยอุทธรณ์โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับสามประเด็นที่แพ้ แต่มีคำขอท้ายอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ประเด็นที่ 2 เพียงประเด็นเดียว นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 ซึ่งมาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ 2 เพียงข้อเดียว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8616/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพ และการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดร่วม
จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบรับสารภาพความผิดตามฟ้องจนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแล้ว การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังตามคำรับสารภาพ ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี มิได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตอันจะทำให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8572/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาการชำระค่าขึ้นศาล ส่งผลให้คำสั่งศาลถึงที่สุด แม้จะอ้างเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์ว่าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นอุทธรณ์ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง แต่จำเลยที่ 2 ไม่เสียภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2545 แต่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ย่อมเป็นอันถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอวางเงิน ค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ซึ่งพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แล้วก็ดี และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยที่ 2 จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มพร้อมกับสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยอ้างเหตุว่ามิได้จงใจที่จะไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ดี ก็หามีผลลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดดังกล่าวแล้วไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ในครั้งหลังนี้ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และขอให้สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาภายหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ภายหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม คดีนี้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทุกประเด็น โจทก์อุทธรณ์แล้วห้ามตัดสิทธิการพิจารณา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต ยกฟ้องฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครองเพื่อจำหน่ายอีกฐานหนึ่งด้วย ศาลชั้นต้นได้สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยขึ้นมายังศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาตตามอุทธรณ์ของจำเลยเท่านั้น โดยฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์ไม่อุทธรณ์ จึงเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าธรรมเนียมศาลเมื่ออุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่กระทบถึงการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะไม่ได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้แล้วและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป โดยจำเลยมิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่
of 349