คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคากระสุนปืนตามหนังสือเวียนของบริษัทผู้ผลิต ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
ราคากระสุนปืนที่โจทก์นำเข้าเป็นราคาที่บริษัท ว. ระบุไว้ตามหนังสือเวียนถึงลูกค้าในประเทศ ไทย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องส่งใบสั่งซื้อระหว่างเวลากำหนดไว้และราคากระสุนปืนชนิดและขนาดต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้นั้น จะใช้ราคานี้ได้ต่อเมื่อสั่งซื้อเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยจะสั่งซื้อเป็นงวด ๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นการตั้งราคาตามที่เคยปฏิบัติกันมา หากลูกค้าในประเทศไทยสั่งซื้อกระสุนปืนภายใต้เงื่อนไขในหนังสือเวียนนี้ ลูกค้าทุกคนก็จะซื้อกระสุนปืนได้ในราคาที่ตั้งไว้ โจทก์สั่งซื้อกระสุนปืนแบบต่าง ๆ เกินกว่าจำนวนที่ผู้ขายระบุไว้ ทั้งได้สั่งซื้อภายในระยะเวลาที่ผู้ขายกำหนด ถูกต้องตามเงื่อนไขในหนังสือเวียนดังกล่าวราคากระสุนปืนที่โจทก์นำเข้าจึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และการไม่อนุญาตถอนรถออกจากบัญชี ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารได้ยื่นหนังสือถึงจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดขอถอนรถโดยสารบางคันออกจากบัญชี ขส.บ.11ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 79แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบหรือข้อบังคับใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยจะพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่อนุญาตจะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้
เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสารถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขได้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และการไม่อนุญาตถอนรถออกจากบัญชีไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารได้ยื่นหนังสือถึงจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดขอถอนรถโดยสารบางคันออกจากบัญชี ขส.บ.11 ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบหรือข้อบังคับใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องปฏิบัติตาม โดยจะพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนรถร่วมออกจากบัญชี ขส.บ.11 จะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้ เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสาร ถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522จำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขจำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายทะเบียนสั่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และการไม่อนุญาตถอนรถออกจากบัญชี ไม่ถือเป็นปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารได้ยื่นหนังสือถึงจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดขอถอนรถโดยสารบางคันออกจากบัญชี ขส.บ.11ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกใช้รถที่จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 79แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบหรือข้อบังคับใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยจะพิจารณาสั่งเป็นอย่างอื่นที่เหมาะสมไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่อนุญาตจะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้ เมื่อรถที่โจทก์นำเข้ามาร่วมรับส่งผู้โดยสารได้พากันหยุดแล่นรับส่งผู้โดยสารถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา 31(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยมีอำนาจตามมาตรา 46 สั่งโจทก์ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขได้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีเงื่อนไขห้ามโอน โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง จึงไม่สามารถโอนสิทธิให้จำเลยได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิห้ามโอนภายใน 10 ปีนั้น เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.หรือตาม ป. ที่ดิน ดังนั้นโจทก์ไม่อาจโอนสิทธิครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1377 หรือมาตรา 1378 ให้ผู้อื่นได้ การที่โจทก์ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอน แล้วต่อมาบิดาโจทก์ได้นำไปขายและมอบการครอบครองให้แก่จำเลยครอบครองทำกินโดยจะไปโอนให้จำเลยหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วนั้น จำเลยหาอาจยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่: เงื่อนไขการประกาศขอคืนและการใช้สิทธิเรียกร้องภายหลังมีคำพิพากษา
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ยังเป็นของผู้ขายเมื่อสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผู้ซื้อไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า ผู้ร้องสัญญาจะโอนรถยนต์ให้ ด. เมื่อได้รับเงินที่ค้างเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายเมื่อ ด. ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือแล้ว เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อ ด. ยังไม่ได้ชำระราคาที่ค้างแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังเป็นของผู้ร้อง จำเลยนำรถยนต์ไปกระทำผิดและถูกศาลสั่งริบเมื่อผู้ร้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยจึงต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังอยู่กับผู้ขายจนกว่าจะชำระราคาสิ้นสุดตามสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผู้ขายไม่ต้องรับผิดหากผู้ซื้อนำรถไปกระทำผิด
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า ผู้ร้องสัญญาจะโอนรถยนต์ให้ ด. เมื่อได้รับเงินที่ค้างเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายเมื่อ ด. ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือแล้ว เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อ ด. ยังไม่ได้ชำระราคาที่ค้างแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังเป็นของผู้ร้อง จำเลยนำรถยนต์ไปกระทำผิดและถูกศาลสั่งริบเมื่อผู้ร้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยจึงต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และการต่ออายุใบอนุญาตวิทยุคมนาคมตามเงื่อนไขที่กำหนด
พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 กำหนดห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า หรือนำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ฯลฯเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และมาตรา 11 กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่ คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆ ดังนั้น ประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลขโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า "อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข"กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ทำการแก้ไขเครื่องรับส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ไม่เกินย่าน144-146 เมกะเฮิรตซ์ จึงเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจและชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในการกำหนดเงื่อนไขการต่ออายุใบอนุญาตเครื่องวิทยุคมนาคมชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 กำหนดห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า หรือนำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ฯลฯเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และมาตรา 11กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆดังนั้น ประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลขโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า "อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข"กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ทำการแก้ไขเครื่องรับส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ไม่เกินย่าน144-146เมกะเฮิรตซ์จึงเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจและชอบด้วยกฎหมายไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
of 48