พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การบังคับคดีต้องได้ราคาสูงสุด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าราคาที่พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายแก่ผู้ซื้อทรัพย์นั้น ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และน่าจะขายทอดตลาดได้ในราคาที่สูงกว่านี้ การที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาเพียงว่าผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งโจทก์ได้ลงลายมือชื่อเห็นชอบแล้ว ราคาที่ประมูลได้จึงเป็นราคาที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น โดยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลใด และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรจึงต้องฟังว่าราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายนั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น นอกจาก ป.วิ.พ.มาตรา 308 บังคับไว้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้นและตามข้อกำหนดของศาลแล้ว ในการขายทอดตลาดยังมีเจตนารมณ์เป็นประการสำคัญว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาที่ผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นยังต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เมื่อราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอในการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายได้ ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจำเลยชอบแล้ว
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น นอกจาก ป.วิ.พ.มาตรา 308 บังคับไว้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้นและตามข้อกำหนดของศาลแล้ว ในการขายทอดตลาดยังมีเจตนารมณ์เป็นประการสำคัญว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาที่ผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นยังต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เมื่อราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอในการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายได้ ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7109/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเพิกถอนการรับรองบุตรไม่ชอบ เมื่อไม่ได้ฟ้องผู้ถูกจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้ขัดขวางโจทก์ทั้งแปดที่จะพบปะเยี่ยมเยียนและปรนนิบัติ ต. ผู้เป็นบิดาตามสิทธิของโจทก์ทั้งแปด จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งแปดมิใช่บุตรของ ต. อันเป็นการปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิจะห้ามจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การจำเลยในชั้นนี้จึงมีเพียงว่า สมควรห้ามจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์หรือไม่เท่านั้น มิได้พาดพิงไปถึงเรื่องการรับรองบุตรนอกกฎหมายของ ต. ด้วย ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรของ ต. โดยอ้างว่าการจดทะเบียนรับรองบุตรดังกล่าวเกิดจากการฉ้อฉลของโจทก์ จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทตามประเด็นในฟ้องเดิมของโจทก์
แม้จำเลยจะมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรของ ต. ได้ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้ฟ้อง ต. ผู้จดทะเบียนรับรองบุตรมาด้วย คงฟ้องแย้งลำพังแต่โจทก์ทั้งแปดเท่านั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีคำขอให้มีผลบังคับอันจะกระทบกระเทือนถึงสิทธิของ ต. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้ ไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
แม้จำเลยจะมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตรของ ต. ได้ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้ฟ้อง ต. ผู้จดทะเบียนรับรองบุตรมาด้วย คงฟ้องแย้งลำพังแต่โจทก์ทั้งแปดเท่านั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีคำขอให้มีผลบังคับอันจะกระทบกระเทือนถึงสิทธิของ ต. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้ ไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6932/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกและการแบ่งปันมรดกโดยผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกนายเลื่อน จุลสิกขีเจ้ามรดก และเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว 1 แปลง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 6 แล้วให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงมาในคำฟ้องเดียวกัน เป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่นเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1722
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้แบ่งปันที่ดินมรดกอีก 7 แปลง ให้แก่ทายาทอีก 3 คนคือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้รับที่ดินพิพาททั้ง 6 แปลงในคดีนี้ซึ่งมีส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมรดกร่วมอยู่ด้วย เป็นการวินิจฉัยโดยฟังจากคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 คำเบิกความของพยานที่คู่ความนำสืบในชั้นพิจารณาประกอบด้วยพยานเอกสารที่คู่ความอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 8 อ้างเป็นพยานนั่นเอง จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกข้อเท็จจริงที่มีในสำนวนไม่และเมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีอยู่ดังได้วินิจฉัยมาแล้ว การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาททั้ง6 แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวโดยมิได้ขออนุญาตศาล แต่จำเลยที่ 1เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรส: สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเมื่อสามีไม่ได้ยินยอม แต่ยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรส: สิทธิเจ้าหนี้จำนอง vs. การเพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันต่อการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ ย่อมทำให้ไม่สามารถขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็หาได้กระทำไม่ จำเลยที่ 2 กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว มีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ จึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาล และจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลัง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบ หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: กรอบเวลาการยกข้อค้านและผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า จำเลยไม่เคยแต่งตั้งให้ ว.เป็นทนายความ การที่ ว.อ้างว่าเป็นทนายความของจำเลย ขอรับสำเนาคำฟ้องแทน และแถลงว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้เป็นความเท็จ เป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอม เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย หากความจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่งแต่จำเลยต้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่จำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามวรรคสอง
การที่จำเลยได้ยื่นคำร้องกล่าวหาว่า โจทก์และ ว.ละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากพฤติการณ์ของ ว.ที่อ้างว่าเป็นทนายของจำเลยขอรับสำเนาคำฟ้อง และขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ลายมือชื่อจำเลยในใบแต่งให้ ว.เป็นทนายความเป็นลายมือชื่อปลอม ซึ่งโจทก์รู้เห็นด้วย แสดงว่าจำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้องดังกล่าวเป็นอย่างช้า ดังนี้เมื่อจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นเมื่อเกินกว่าแปดวัน จึงไม่ชอบตามมาตรา 27 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา แม้ไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา เมื่อคำร้องของจำเลยต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
การที่จำเลยได้ยื่นคำร้องกล่าวหาว่า โจทก์และ ว.ละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากพฤติการณ์ของ ว.ที่อ้างว่าเป็นทนายของจำเลยขอรับสำเนาคำฟ้อง และขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ลายมือชื่อจำเลยในใบแต่งให้ ว.เป็นทนายความเป็นลายมือชื่อปลอม ซึ่งโจทก์รู้เห็นด้วย แสดงว่าจำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้องดังกล่าวเป็นอย่างช้า ดังนี้เมื่อจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นเมื่อเกินกว่าแปดวัน จึงไม่ชอบตามมาตรา 27 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา แม้ไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา เมื่อคำร้องของจำเลยต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปโดยชอบ หากไม่ชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ แม้ผู้ซื้อจะสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดอันเป็นทางได้มานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้ และการเพิกถอนการรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่า มีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่ามีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่า มีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่ามีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอน/จำนองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการโอน/จำนองได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้โอนเดิม
คำฟ้องโจทก์ยืนยันว่า ว.ดำเนินการจำนองแทนโจทก์โอนใส่ชื่อ ว.ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริงที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ได้ให้ ว.ลงลายมือชื่อในเอกสารแล้วจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 2 และการจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้โดยไม่จำต้องฟ้องให้เพิกถอนการโอนระหว่างโจทก์กับว.เข้ามาในคดีนี้ เพราะว.ไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย