พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของนายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของนายจ้าง ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง และมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกการใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมจะต้องกระทบถึงรายได้ของนายจ้าง และทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทที่โจทก์ตั้งแล้วก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการที่โจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และมาตรา 67 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทแข่งกับนายจ้างถือเป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งบริษัท ค. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง อันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างแม้ไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 119(2) และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้างในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างและ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและบริการธุรกิจของบริษัทนายจ้าง จะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวแก่บุคคลทั้งสองเองมิได้มีผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างตั้งบริษัทคู่แข่ง ทำให้นายจ้างเสียหาย มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. นายจ้าง มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแต่ทำการตั้งบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้างและมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ซึ่งบริษัทโจทก์ดังกล่าวย่อมจะต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกับลูกค้าของนายจ้าง ลูกค้าอาจจะเลือกใช้บริการการให้คำปรึกษาของบริษัทโจทก์ได้ย่อมเป็นการกระทบถึงรายได้ของนายจ้างและทำให้นายจ้างเสียหาย แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทโจทก์ได้แย่งลูกค้านายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการที่โจทก์ตั้งบริษัทในลักษณะดังกล่าวเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(2)และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้าง และ จ. ผู้จัดการฝ่ายขายและบริการธุรกิจของบริษัทนายจ้างจะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวเอาโทษแก่บุคคลทั้งสองเอง หามีผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้บริษัท อ. เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์นั้น จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากเลิกจ้าง: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือฟ้องศาลแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตาม มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123 ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือ จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น
โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆ ที่พึงได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆ ที่พึงได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 กำหนดว่า ในระหว่างระยะเวลาทดลองงาน หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าผลการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าพอใจ จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกเลิกการจ้างงานโดยไม่จำต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาแล้วเห็นว่าผลการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจและบอกเลิกสัญญาจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างตามข้อตกลงที่ระบุไว้อันเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หมายถึง นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างให้ทำงานโดยมีเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หากผ่านการทดลองงานนายจ้างจะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง
การบอกเลิกสัญญาจ้างแต่เดิมบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 แต่ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ นำบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิจะตกลงเกี่ยวกับการเลิกจ้างให้เป็นอย่างอื่นได้ การจ้างและเลิกจ้างคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แล้ว จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 ซึ่งให้เลิกสัญญาจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ 3 กรณี คือสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาและนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา 119และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 มิได้มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานนั้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เข้าทั้ง 3 กรณีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้ายจำเลยจึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่
สัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หมายถึง นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างให้ทำงานโดยมีเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หากผ่านการทดลองงานนายจ้างจะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง
การบอกเลิกสัญญาจ้างแต่เดิมบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 แต่ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ นำบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิจะตกลงเกี่ยวกับการเลิกจ้างให้เป็นอย่างอื่นได้ การจ้างและเลิกจ้างคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แล้ว จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 ซึ่งให้เลิกสัญญาจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ 3 กรณี คือสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาและนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา 119และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 มิได้มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานนั้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เข้าทั้ง 3 กรณีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้ายจำเลยจึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194-2195/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาชี้ การพิจารณาคำร้องเลิกจ้างต้องพิจารณาประเด็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจริง และเหตุผลในการเลิกจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 โดยอ้างว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าผู้คัดค้านทั้งสองได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวของผู้ร้องหรือไม่และหากผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีมีเหตุอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองด้วยการเลิกจ้างได้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาหลักฐานเพื่อฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องหรือไม่แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองด้วยการเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยที่ตรงประเด็นแห่งคดีแล้ว และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการสอบสวนของผู้ร้องรายงานมา คำสั่งของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 51วรรคหนึ่งและมาตรา 52 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยไม่ยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 118 , 119 มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัย และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างงานตามสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา และเหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่เข้าหลักเกณฑ์
การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง นอกจากเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วยังต้องเป็นงานโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างและนายจ้างต้องเลิกจ้างลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย จำเลยประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติ จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานก่อสร้างอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยและจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ตามระยะเวลาการจ้างที่กำหนด กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสุดท้าย ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากความเสียหายไม่ร้ายแรง
แม้การขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยได้รับอันตรายแก่กาย หน้าผากแตกเลือดซึม ตาซ้าย ไหล่ซ้ายเอว และขาซ้ายเจ็บ และทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่การบาดเจ็บของผู้จัดการทั่วไปเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย ทั้งค่าเสียหายของรถยนต์ดังกล่าวบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จำเลยจึงได้รับความเสียหายอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ยังถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพราะเหตุใด โดยจำเลยอุทธรณ์เน้นเฉพาะบทกฎหมายที่บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพราะเหตุใด โดยจำเลยอุทธรณ์เน้นเฉพาะบทกฎหมายที่บัญญัติว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์และการฝ่าฝืนระเบียบ คำพิพากษาไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบขับรถยนต์นำน้ำมันไปส่งให้แก่กรมช่างอากาศ แต่โจทก์หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับยักยอกเอาน้ำมันดังกล่าวไปเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมาจากเหตุที่โจทก์ยักยอกทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยักยอกน้ำมัน แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างแล้ว มิใช่เป็นการยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่มีในคำสั่งเลิกจ้างมาวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา