คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้าง: ผู้รับเหมาทิ้งงาน แม้โจทก์มิได้บอกกล่าวกำหนดเวลา ก็ชอบที่จะเลิกสัญญาได้
เมื่อถึงงานงวดที่4จำเลยหยุดทำการก่อสร้างโจทก์เตือนให้จำเลยก่อสร้างต่อไปจำเลยก็ไม่ยอมและในที่สุดทิ้งงานไปดังนี้ย่อมเห็นได้โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่จำเลยได้แสดงออกจึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยทำการก่อสร้างต่อไปอีกเพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ทิ้งงานหรือไม่ชำระหนี้อยู่ดีดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้โดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาจ้างเหมา: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทเป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการ วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา โจทก์ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้อื่นทำงานจ้างเหมาก่อสร้างต่อจากจำเลยได้ และอีกข้อหนึ่งแห่งสัญญาดังกล่าวกำหนดว่า ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้รับจ้างยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อไปจนงานจ้างเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ ดังนี้ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา แม้จะมิใช่เบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไปตามความเสียหายที่แท้จริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อและการคืนสิทธิประโยชน์จากการใช้บ้าน
โจทก์ทำสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยครั้งแรก 50,000 บาท แล้วโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อต่อมาจำเลยกับพวกมาที่บ้านพิพาท จำเลยพูดขับไล่ ส.บุตรโจทก์ออกจากบ้านพิพาท ถ้าไม่ออกจะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ส.และ น.กลัวจึงขนของออกแล้วจำเลยปิดประตูใส่กุญแจบ้านพิพาท เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา ดังนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 50,000 บาท กับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อแทนจำเลย 18 เดือน เป็นเงิน 65,070 บาท รวมเป็นเงิน 115,070 บาท แต่จำเลยได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ เมื่อบุตรโจทก์พักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท เป็นเวลา49 เดือนเศษ โจทก์จึงต้องให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการใช้บ้านพิพาท ปรากฏว่าการเคหะแห่งชาติคิดค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ออกจากบ้านพิพาทเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นอัตราที่สมควร จึงกำหนดค่าที่โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่บ้านพิพาทคิดเป็นเงิน98,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามเมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ 17,070 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เลิกสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเช่าซื้อผิดสัญญา การเลิกสัญญา และการคืนเงิน/ชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยครั้งแรก 50,000 บาท แล้วโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาจำเลยกับพวกมาที่ บ้านพิพาท จำเลยพูดขับไล่ ส. บุตรโจทก์ออกจากบ้านพิพาทถ้าไม่ออกจะเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ส. และ น.กลัวจึงขนของออกแล้วจำเลยปิดประตูใส่กุญแจบ้านพิพาทเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาและเป็นการแสดงเจตนา เลิกสัญญา ดังนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาซื้อสิทธิเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 50,000 บาท กับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่ผู้ให้เช่าซื้อแทนจำเลย 18 เดือน เป็นเงิน 65,070 บาทรวมเป็นเงิน 115,070 บาท แต่จำเลยได้มอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ เมื่อบุตรโจทก์พักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท เป็นเวลา 49 เดือนเศษ โจทก์จึงต้องให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการใช้บ้านพิพาท ปรากฏว่าการเคหะแห่งชาติคิดค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ออกจากบ้านพิพาทเดือนละ2,000 บาท ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นอัตราที่สมควร จึงกำหนดค่าที่โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่บ้านพิพาทคิดเป็นเงิน98,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ 17,070 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เลิกสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและผลกระทบต่อสัญญาซื้อขาย รวมถึงการเลิกสัญญาสินค้า
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่า ผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลย คือบริษัทโจทก์ แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อน และเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้ นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท. ได้ระบุไว้ชัดว่า บริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลย ซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อ ดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไป จากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟ-เครดิตเสียก่อน เมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าว แม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้ โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืน ตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงของคู่สัญญา การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ซื้อ และการเลิกสัญญาสัญญาซื้อขาย
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่าผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลยคือบริษัทโจทก์แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อนและเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท.ได้ระบุไว้ชัดว่าบริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลยซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลยเมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยจำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไปจากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเสียก่อนเมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าวแม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำเมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืนตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ: การเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดในค่าเสียหาย
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง 400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์เครื่องโม่ปูน วัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วย แม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อสัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามาก จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอม โดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง
กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเอง โดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 605
ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจ้างทำของที่ไม่ชอบธรรม จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและค่าวัสดุคงเหลือ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์ เครื่องโม่ปูนวัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วยแม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์ มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อ สัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้างานจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเองโดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การชำระเงินหลังวันทำสัญญาไม่ถือเป็นมัดจำ และผลกระทบต่อการคืนเงินเมื่อเลิกสัญญา
มัดจำตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญานั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาระบุ ในวันทำสัญญาผู้จะซื้อได้ชำระเงิน 200,000 บาท และในวันที่ 20 มีนาคม 2532 ชำระอีก3,300,000 บาท เฉพาะเงิน 200,000 บาท ที่ผู้ซื้อให้ผู้จะขายยึดเป็นประกันเท่านั้นที่เป็นมัดจำ ส่วนเงิน 3,300,000 บาท ซึ่งชำระหลังวันทำสัญญาไม่ใช่มัดจำเป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วน
เงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนโจทก์เพราะเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่รับเงินไว้ ส่วนโจทก์ซึ่งได้รับโอนที่ดินบางส่วนจากจำเลยมาแล้วก็ต้องโอนคืนเฉพาะที่ยังมีชื่อทางทะเบียนเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินซึ่งโจทก์ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับโอนไปจากจำเลย โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแทนเพื่อไม่ให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยสุจริตพร้อมดอกเบี้ยอัตรานับจากวันที่โจทก์ให้บุคคลภายนอกรับโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238ประกอบด้วยมาตรา 247
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
of 60