พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: เหตุสุดวิสัยไม่สะดุดอายุความ
บทบัญญัติเรื่องเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถทำให้อายุความสะดุดหยุดลงอันเป็นเหตุให้อายุความยังไม่ครบบริบูรณ์ดังที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 187 นำมาใช้ในคดีอาญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยสัญญาซื้อขายไม้แป้นรองมิเตอร์: การปฏิบัติตามสัญญาเป็นพ้นวิสัยต้องพิจารณาจากข้อตกลงและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายที่จำเลยทำไว้กับโจทก์มิได้มีข้อความระบุถึงเรื่องให้จำเลยต้องนำไม้ที่จะขายให้โจทก์จากในป่าซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่กองทัพภาคที่ 1 ประกาศปิดป่า และในประกาศของกองทัพดังกล่าวก็ระบุไว้แต่เพียงห้ามบุคคลเข้าไปหรืออยู่อาศัยในเขตพื้นที่บางจังหวัดเท่านั้น ทั้งยังประกาศใช้บังคับมาก่อนจำเลยได้เสนอและทำสัญญาขายไม้แป้นรองมิเตอร์ ให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์เลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ได้จัดให้มีการประมูลใหม่ ผู้ที่ประมูลได้ก็จัดหาไม้แป้นรองมิเตอร์ ตามประเภท ชนิด และขนาดเช่นเดียวกับที่จำเลยทำสัญญาขายให้แก่โจทก์ได้ การที่จำเลยไม่สามารถหาไม้แป้นรองมิเตอร์ มาขายให้โจทก์ได้ตามสัญญา จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ประกอบกิจการในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปการที่โจทก์ต้องเสียเวลาล่าช้าในการนำไม้แป้นรองมิเตอร์ ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนเหตุสุดวิสัย ศาลไม่ต้องไต่สวนหากไม่ได้อ้างเหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ.นั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์ภาษี: ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และพิจารณาเจตนาในการซื้อขายที่ดินเพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้ แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.252 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลภาษีอากร-กลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 252
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย และการพิจารณาเจตนาในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้องมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 30(2)ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523 จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองมานานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่าจ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไปถือได้ว่า จ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้ จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42(9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ (วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต้องกระทำภายในกรอบเวลาที่กำหนด แม้มีเหตุขัดข้องกะทันหัน ก็ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง14 วัน มีเวลายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีได้ล่วงหน้าอย่างเพียงพอ อีกทั้งคดียังมีตัวโจทก์อีกผู้หนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลได้ ดังนั้น ถ้าเสมียนทนายป่วยกะทันหันก็ยังมีตัวโจทก์มาศาลได้ในวันนัด และแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องจำเป็นต้องขอเลื่อนคดีกรณีของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอย่างช้าภายในวันนัดสืบพยาน จะยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีภายหลังจากวันนัดสืบพยานโจทก์หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและการพิสูจน์ความรับผิดของผู้ลากจูงเรือ ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ขนส่งทำการประมาทเลินเล่อทำให้เรือโจทก์จมลงได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1ให้การปฏิเสธความรับผิดว่าเหตุที่เรือจมเพราะเหตุสุดวิสัย อันเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำให้การจึงตกแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 วรรคแรก จำเลยที่ 1 มี อ.และส. เป็นพยานเบิกความถึงกรณีเรือจมลงว่าเกิดเพราะคลื่นลมแรงจัดเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงให้เห็นว่าที่ว่าคลื่นลมแรงจัดนั้นเป็นคลื่นลมแรงที่ไม่อาจคาดหมายได้จากบุคคลที่ประสบเหตุ และไม่มีใครป้องกันได้อันจะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 8 ส่วนที่จำเลยที่ 2นำสืบก็ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวอ้าง กลับได้ความตามคำ ของ ช. พยานโจทก์ว่ากรณีที่มีมรสุม นั้นจะมีประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งให้ชาวประมงทราบเพื่อมิให้นำเรือออกทะเลในช่วงที่จำเลยที่ 1 ลากจูงเรือนั้นเป็นระยะที่ไม่มีมรสุม และถึงแม้มีก็ไม่แรง อันแสดงให้เห็นว่า ในระหว่างที่มีการลากจูงเรือนั้น ไม่มีสภาพทางธรรมชาติที่จะให้ผลพิบัติโดยไม่มีใครอาจป้องกันได้ จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าความเสียหายของเรือนั้นเกิดเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยทั้งสองพ้นความรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางภาษีอากรเมื่อของเสียหายจากเหตุสุดวิสัยหลังนำเข้า และข้อยกเว้นการคืนภาษี
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้น เมื่อเรือนำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร) ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้
ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร) ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้
ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-ความผิดฝ่ายโจทก์: การชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินเวลา
โจทก์ที่ 1 และทนายโจทก์ทั้งสองทราบวันสุดท้ายที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะขวนขวายชำระหรือขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียม การที่โจทก์ที่ 1 และทนายโจทก์ทั้งสองนำเงินค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มไปชำระต่อศาลเมื่อเลยเวลาราชการไปประมาณ 30 นาทีและเจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้รับไว้ นับว่าเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เอง จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีผลเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ การไม่ชำระหนี้เช่าซื้อไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ข้อตกลงที่ว่าสัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทจะมีผลบังคับได้ต่อเมื่อบริษัทขนส่งจำกัด อนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร-ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็น เหตุการณ์ ในอนาคตไม่แน่นอน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมา กระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทขนส่งจำกัด เงื่อนไขตามสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาแล้วเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ได้ เพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ เนื่องจากไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อ บริษัท ค. ผู้ให้เช่าซื้อได้ยึดรถยนต์พิพาทดังกล่าวไป ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่ เรื่องนอกเหนืออำนาจจำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เป็นเหตุ พ้นวิสัย หรือสุดวิสัย ซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยจะ ป้องกันได้แต่อย่างใด