พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีปล้นทรัพย์และการลงโทษฐานมีอาวุธปืน การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามคนร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้มีดและปืนขู่ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 มีปืนพกไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองหนึ่งกระบอกโดยไม่รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 และพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่โจทก์ฟ้องแต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 อันเป็นกระทงหนักที่สุด จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นโจทก์ไม่นำสืบให้ชัด ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานนี้ไม่ได้พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อหานี้เสีย โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ใช้ปืนจี้ผู้เสียหาย และเห็นว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 1ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นแปลได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไว้ คำพิพากษาของศาลล่างยังคลาดเคลื่อนอยู่ ดังนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยของศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 14,872 บาท โดยคำนวณค่าปรับจากราคาของกลาง29 รายการ และให้ริบของกลาง 29 รายการนี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นให้ริบของกลางอีกรายการหนึ่งด้วย และแก้ จำนวนค่าปรับโดยคำนวณจากราคาของกลางรายการนี้ ให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก 24,000 บาทดังนี้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม และประเด็นเจตนาของจำเลยเกี่ยวกับของกลาง
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 14,872 บาท โดยคำนวณค่าปรับจากราคาของกลาง 29 รายการ และให้ริบของกลาง 29 รายการนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ริบของกลางอีกรายการหนึ่งด้วย และแก้จำนวนค่าปรับโดยคำนวณจากราคาของกลางรายการนี้ ให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก 24,000 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, การจ่ายค่าทดแทนจากนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053-2069/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาหลายสำนวน การให้นับโทษต่อกัน และขอบเขตการฎีกา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดี 17 สำนวน ซึ่ง ว. จำเลยถูกฟ้องทุกสำนวน บางสำนวนมีจำเลยอื่นร่วมด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยตัดบทมาตราที่ศาลชั้นต้นปรับบทไว้เกินฟ้องออกบ้าง ที่ศาลชั้นต้นให้ลงโทษตามบทหนักที่สุดก็แก้เป็นว่าให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุดหรือตามบทและกระทงที่หนักที่สุดด้วย แล้วแต่กรณีบางสำนวนยังคงลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 3 ปี 8 เดือน ตามเดิมบ้าง ตัดมาตราที่เกินฟ้องออกแล้วแก้โทษให้เบาลงจาก 3 ปี 8 เดือน เป็น 1 ปี 4 เดือนบ้าง เป็น2 ปีบ้าง และที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้นับโทษติดต่อกัน ก็ให้นับโทษจำเลยทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนไม่เกิน 5 ปี คู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053-2069/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์และการนับโทษจำเลยในคดีอาญาหลายสำนวน
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดี 17 สำนวน ซึ่ง ว. จำเลยถูกฟ้องทุกสำนวน บางสำนวนมีจำเลยอื่นร่วมด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตัดบทมาตราที่ศาลชั้นต้นปรับบทไว้เกินฟ้องออกบ้าง ที่ศาลชั้นต้นให้ลงโทษตามบทหนักที่สุดก็แก้เป็นว่าให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุดหรือตามบทและกระทงที่หนักที่สุดด้วย แล้วแต่กรณีบางสำนวนยังคงลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 3 ปี 8 เดือนตามเดิมบ้าง ตัดมาตราที่เกินฟ้องออกแล้วแก้โทษให้เบาลงจาก 3 ปี 8 เดือน เป็น 1 ปี 4 เดือนบ้าง เป็น2 ปีบ้าง และที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้นับโทษติดต่อกันก็ให้นับโทษจำเลยทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนไม่เกิน 5 ปี คู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษพยายามฆ่า: ประเด็นประสิทธิภาพอาวุธปืน, เจตนา, และการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81, 288, 83 ประกอบด้วยมาตรา 53 (2)ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 และลดโทษตามมาตรา 78ให้อีกกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 288, 83 ประกอบด้วยมาตรา 53 (1)ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 และลดโทษตามมาตรา 78ให้อีกกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 4 ปี ดังนี้ เป็นการพิพากษาแก้ทั้งบททั้งโทษจึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 และ 220
ใช้ปืนแก๊ปยาวยิง 2 นัด ขณะผู้เสียหายเดินมาห่างจำเลย4 - 5 วา กระสุนปืนถูกใบหน้า คือ ที่หน้าผาก 2 รู โดนจมูกและเข้าตาขวาตาขวาบอด ถูกยิงแล้วโลหิตไหลเต็มใบหน้าตามพฤติการณ์แสดงชัดว่ากระสุนปืนเฉียดเฉียงไป ไม่ถูกด้านตรง กระสุนปืนจึงไม่เจาะลึกเข้าไปภายในศีรษะและใบหน้า ผู้เสียหายจึงไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต ตามธรรมดาอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรง ใช้ประหัตประหารกันให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายและแน่นอนกว่าอาวุธอื่น จะสันนิษฐานว่าปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้เสียหายถูกยิงในระยะใกล้ แต่ได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตายหาได้ไม่
ใช้ปืนแก๊ปยาวยิง 2 นัด ขณะผู้เสียหายเดินมาห่างจำเลย4 - 5 วา กระสุนปืนถูกใบหน้า คือ ที่หน้าผาก 2 รู โดนจมูกและเข้าตาขวาตาขวาบอด ถูกยิงแล้วโลหิตไหลเต็มใบหน้าตามพฤติการณ์แสดงชัดว่ากระสุนปืนเฉียดเฉียงไป ไม่ถูกด้านตรง กระสุนปืนจึงไม่เจาะลึกเข้าไปภายในศีรษะและใบหน้า ผู้เสียหายจึงไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต ตามธรรมดาอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรง ใช้ประหัตประหารกันให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายและแน่นอนกว่าอาวุธอื่น จะสันนิษฐานว่าปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้เสียหายถูกยิงในระยะใกล้ แต่ได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราโดยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง แม้ศาลล่างไม่วินิจฉัย ศาลฎีกาพิจารณาและแก้ไขคำพิพากษาได้
จำเลยกับพวกรวม 2 คน ใช้อาวุธปืนขู่ และใช้กำลังกอดคอบังคับให้ผู้เสียหายเข้าป่าข้างทาง แล้วร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผลัดเปลี่ยนกันจนสำเร็จความใคร่ ย่อมมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 281
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่วินิจฉัยว่า การกระทำมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงไว้ด้วยหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ต้องพิพากษาแก้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่วินิจฉัยว่า การกระทำมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงไว้ด้วยหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ต้องพิพากษาแก้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราโดยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้รับรองว่าการกระทำเข้าข่ายโทรมหญิง
จำเลยกับพวกรวม 2 คน ใช้อาวุธปืนขู่ และใช้กำลังกอดคอบังคับให้ผู้เสียหายเข้าป่าข้างทาง แล้วร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผลัดเปลี่ยนกันจนสำเร็จความใคร่ ย่อมมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 281
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่วินิจฉัยว่า การกระทำมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงไว้ด้วยหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ต้องพิพากษาแก้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเรา โดยไม่วินิจฉัยว่า การกระทำมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงไว้ด้วยหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ต้องพิพากษาแก้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นสั่งรับโดยเข้าใจผิดว่าเป็นข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนสร้อยราคา 5,000 บาท ที่ยืมไปหรือให้ใช้ราคาพร้อมทั้งดอกเบี้ยนับจากวันผิดนัดถึงวันฟ้องอีก 560 บาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินกว่า 5,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานจำเลยควรรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้ว เป็นการเถียงว่า ควรรับฟังคำพยานอย่างไร จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อคำฟ้องฎีกาของจำเลยไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นก็สั่งรับฎีกามาแล้ว แม้จะใช้คำว่ารับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม ก็หาได้ผูกมัดศาลฎีกาให้จำต้องถือตามด้วยไม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคำฟ้องฎีกาของจำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานจำเลยควรรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้ว เป็นการเถียงว่า ควรรับฟังคำพยานอย่างไร จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อคำฟ้องฎีกาของจำเลยไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นก็สั่งรับฎีกามาแล้ว แม้จะใช้คำว่ารับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม ก็หาได้ผูกมัดศาลฎีกาให้จำต้องถือตามด้วยไม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคำฟ้องฎีกาของจำเลยได้