คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาห้ามฎีกาเพราะเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนลัดแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้แบ่งให้แก่โจทก์จำเลยตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้นั้น ดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการครอบครองปรปักษ์ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้แบ่งให้แก่โจทก์จำเลยตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้นั้น ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก เจ้าของรวม ต้องตามส่วนสิทธิที่แต่ละคนได้รับตามกฎหมาย ไม่สามารถสันนิษฐานแบ่งเท่ากันได้
การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องเป็นไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่ามีสิทธิเพียงใด การที่ยกเอาข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1357 มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฏสิทธิของเจ้าของรวมอยู่ชัดแจ้งแล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง
บุคคล 5 คน มีชื่อในโฉนดร่วมกัน โดยไม่ระบุว่าผู้ใดมีสิทธิเท่าใด หากข้อเท็จจริงที่นำสืบปรากฏชัดว่าได้มีชื่อในโฉนดร่วมกันนั้นเพราะได้รับโอนมรดกมาและสิทธิในการรับมรดกของแต่ละคนก็ปรากฏชัดตามทางนำสืบด้วยแล้ว ดังนี้ จะยกข้อสันนิษฐานมาให้แบ่ง 5 ส่วนได้คนละเท่ากัน ตามมาตรา 1357 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นโมฆะ การฟ้องแบ่งมรดกมีผลเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดก
การสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมย่อมเสียไปและไม่มีทางแสดงเจตนาให้สัญญานั้นกลับมีผลขึ้นได้อีกอย่างไรฉะนั้น ถ้าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ทายาทยังมีความตั้งใจสละมรดกอยู่เช่นเดิม ก็ต้องมีการแสดงเจตนาใหม่ให้ถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาท เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกให้แบ่งได้และมีผลเท่ากับขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยอยู่ในตัว โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้เพิกถอนทะเบียนอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับการแบ่งมรดกทำให้จำเลยมิอาจยกอายุความได้
แม้โจทก์ไม่ได้ครอบครองนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าอันเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกับจำเลยมาหลายปีก็ดี หากจำเลยยอมรับกับโจทก์ว่ายินดีแบ่งนาพิพาทให้โจทก์แล้ว จำเลยก็จะยกอายุความว่าโจทก์มิได้ฟ้องร้องเรียกมรดกเสียภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เพราะจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก เจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์สิน ไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
ที่พิพาทเป็นมรดก โจทก์จำเลยต่างเป็นหลานเจ้าของมรดก โจทก์กับจำเลยและญาติอื่น ๆ ได้ทำสัญญาแบ่งนาพิพาทและทรัพย์มรดกอื่น ๆ โดยฝ่ายโจทก์รู้เห็นยินยอมให้พี่ชายลงชื่อแทน เป็นเรื่องเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์สินที่รวมกัน ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หรือสัญญายกทรัพย์ให้แก่กัน การตั้งตัวแทนแบ่งทรัพย์กันจึงไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยตกลงกันแล้ว: สิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งใหม่ไม่มีผล
โจทก์จำเลยเป็นทายาทรับมรดกร่วมกันได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและเข้าครอบครองทรัพย์เป็นส่วนสัดกันไปแล้วนั้น การตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกเช่นนี้ชอบด้วยมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยตกลงกัน: ผลผูกพันตามมาตรา 1750 และการถือปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์จำเลยเป็นทายาทรับมรดกร่วมกัน ได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและเข้าครอบครองทรัพย์เป็นส่วนสัดกันไปแล้วนั้น การตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกเช่นนี้ชอบด้วยมาตรา1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องห้ามมิให้รับมรดกโดยอ้างไม่ใช่บุตร ศาลไม่พิพากษาแบ่งมรดกหากโจทก์ไม่ขอ
ปรากฏจากฟ้องและกระบวนพิจารณาว่าโจทก์ประสงค์เพียงขอห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องแก่ทรัพย์มรดกโดยอ้างว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของเจ้ามรดกดั่งนี้ ไม่มีประเด็นเรื่องแบ่งมรดก ศาลจึงไม่พิพากษาให้แบ่งกันในชั้นนี้
ฟ้องขอห้าม แต่เสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลตัดสินให้ในประเด็นเรื่องขอห้ามแล้วศาลสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่เสียมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์นั้น คงเรียกไว้แต่อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อมีผู้รับมรดกหลายคนและมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายในประมวลแพ่งฯ มาตรา 1357 ใช้เมื่อความจริงไม่ปรากฎ เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฎฟังได้ก็พึงถือตามข้อเท็จจริงนั้น
การที่จำเลยและโจทก์และทายาทอื่นรวม 14 คนมีชื่อในโฉนดแต่ พ.ศ.2465 เวลาจะแบ่งที่ในโฉนด ย่อมต้องแบ่งตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ.121 มาตรา 1 ข้อ 1 (2) คือ "ถ้าบุตรบางคนมรณภาพ ฯลฯ ให้เอาส่วนของบุตรที่มรณภาพแบ่งให้แก่หลานผู้มรณภาพ ซึ่งเป็นบุตรของบุตรผู้มรณภาพนั้น เหมือนอย่างว่าเป็นมรดกของบุตรผู้นั้นเองต่อ ๆ ลงไป ฯลฯ"
of 35