พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นภายในกำหนด แม้จะมีอุปสรรคในการติดตามเรื่อง
ตามฎีกาของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดจึงขอศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปแต่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าได้วินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้ด้วยเลยคงมีแต่ศาลชั้นต้นเกษียนสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดจึงไม่รับอุทธรณ์คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่โจทก์ดังนี้จึงเป็นฎีกาที่ซ้ำกับที่กล่าวในอุทธรณ์อันเป็นการคัดค้านเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องประการใดบ้างเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่20เมษายน2536และโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์เพื่อมาทราบคำสั่งในวันที่27เมษายน2536ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วต่อมาวันที่21เมษายน2536ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในเบื้องต้นจึงถือได้ว่าวันที่27เมษายน2536เป็นวันนัดที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ให้โจทก์มาฟังคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์และถ้าโจทก์ไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งดังกล่าวโดยชอบแล้วด้วยการที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมาแต่โจทก์ไม่สามารถทราบคำสั่งได้เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงและยังหาสำนวนไม่พบจนกระทั่งวันที่18พฤษภาคม2536เจ้าพนักงานศาลหาสำนวนพบและโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวโจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้นั้นพฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวเท่านั้นดังนี้หากโจทก์จะไม่ให้ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่27เมษายน2536โจทก์ก็จะต้องขอขยายระยะเวลาที่กำหนดนัดไว้ในวันที่27เมษายน2536ออกไปก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าวตามมาตรา23แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในวันที่27เมษายน2536แล้วดังนี้จึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และมีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อ
โจทก์มอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่าง ๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ สาขาชัยนาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่ 2 มกราคม 2532 ป.ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์ สาขาชัยนาท ได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ จ.ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้ว แม้ จ.เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วง และในการลงชื่อของ จ.ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับ ทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของ จ.ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จึงมีผลเสมือนว่า จ.ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น ดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วน ไม่เป็นโมฆะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้ และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวน 48 งวด คือ 4 ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นเอา 4 ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตาม ก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้ และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวน 48 งวด คือ 4 ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นเอา 4 ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตาม ก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องมีข้อพิพาทชัดเจน หากจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองตลอดมาโจทก์ขอรังวัดออกโฉนดทั้งแปลงเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่ารังวัดล้ำที่ดินจำเลยไม่ออกโฉนดให้โจทก์จำเลยทอดทิ้งไม่เคยทำประโยชน์พิพาทโจทก์จึงได้สิทธิครอบครองที่ดินของจำเลยแม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินของจำเลยจนได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1374และ1375แล้วก็ตามแต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองของโจทก์ดังกล่าวอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7648/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ครบถ้วน แม้โจทก์ยังไม่ได้รับเงิน
จำเลยได้นำเงินตามคำพิพากษาที่ต้องชำระแก่โจทก์ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยได้ชำระค่าธรรมเนียม ถอนการยึดและค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีโดยการยึด หรืออายัดและขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลย ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่นต่อไป โจทก์ย่อมจะบังคับคดี แก่จำเลยต่อไปไม่ได้ และไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคท้ายที่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขอเฉลี่ยสวมสิทธิดำเนินการบังคับคดีแทนโจทก์ผู้ยึดต่อไปได้ และการที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินที่จำเลยที่ 1 วางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ก็มิใช่เป็นเหตุที่จะไม่ถอนการบังคับคดีให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหมดประโยชน์พิจารณาเมื่อจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์
ภายหลังโจทก์ยื่นฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้รื้อบ้านที่โจทก์ฟ้องออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้ว คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาพิพากษาฎีกาของโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7510/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้กรรมการลงลายมือชื่อไม่ครบตามจดทะเบียน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความพิมพ์ไว้ชัด จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบพิสูจน์หักล้างว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้เพิ่งทำภายหลังที่มีการทำสัญญาซื้อขายแล้วลงวันที่ย้อนหลังไปแม้โจทก์ไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวไปแสดงต่อจำเลยในวันที่ทำสัญญาซื้อขายก็ไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์หรือมีกฎหมายกำหนดว่าให้โจทก์ต้องแสดงต่อจำเลยในวันทำสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินการแทนโจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้น การที่ บ.ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายในสัญญาซื้อขายซึ่งมีตราของโจทก์ประกันก็เท่ากับ บ.เป็นตัวแทนของโจทก์ ส่วนที่ บ.ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจกับในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจโดยมี ท.เป็นกรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจก็หาใช่ว่ากรรมการของโจทก์ไม่ครบ 2 คนตามที่จดทะเบียนไว้ไม่ ส่วนการที่โจทก์มีกรรมการถึง 6 คน แล้วให้บ.ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจกับเป็นผู้รับมอบอำนาจรวม 2 ตำแหน่ง ก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่ประการใด และพฤติการณ์ดังนี้ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364-7365/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ในสำนวนหลังของศาลชั้นต้นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้วโจทก์และจำเลยที่8(โจทก์และจำเลยในสำนวนหลัง)มิได้ยื่นอุทธรณ์ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในสำนวนแรกยื่นอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์เกี่ยวกับสำนวนคดีหลังจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค1เกี่ยวกับจำเลยที่8จึงไม่ชอบและไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่8ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบชัดเจนก่อนจำหน่ายคดี
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสอง ในครั้งแรกไม่ได้ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า "รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2537 ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้ ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ การเพิกเฉยของศาลที่ไม่แจ้งคำสั่งและกำหนดเวลาให้โจทก์ดำเนินการ อาจไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้องหมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ให้โจทก์นำส่งภายใน7วันถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองในครั้งแรกไม่ได้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนดขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้วส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่งและเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่2เมื่อวันที่30มกราคม2537แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า"รอโจทก์แถลง"ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้เมื่อวันที่6กุมภาพันธ์2537ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง"โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่4มีนาคม2537ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1และที่2ไม่ได้ถึง25วันและ32วันตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6483/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทแยกกันในคดีที่โจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเฉพาะตน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 51,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3เป็นเงิน 47,483 บาท แม้จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1เป็นเงิน 203,500 บาท ก็ตาม ฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2และที่ 3 ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ของโจทก์แต่ละคนรวมกันมา ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2538)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2538)