คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมจำนอง: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิเพิกถอน แม้โจทก์มิได้อ้างถึงเจตนาทุจริตของผู้รับจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้อง ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะ: ลายมือชื่อกรรมการไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองบริษัท
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผล เท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมซื้อขายที่ดิน ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทเพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยและ ส.หลอกลวงโจทก์ให้ซื้อที่ดิน แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทโดยสำคัญผิดว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 และต่อมาพบว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 2 ตามเอกสารหมายดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้น การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและ ส.หลอกลวงโจทก์เสนอขายและนำชี้ที่ดินว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เสนอขายเป็นที่ดินแปลงหมายเลข 1ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง จนโจทก์หลงเชื่อเข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน คุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเข้าทำสัญญาของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลทำให้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นการกล่าวอ้างแล้วว่า โจทก์เข้าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2 จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 156

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในที่ดินซื้อขาย สัญญาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 156
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทเพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยและส. หลอกลวงโจทก์ให้ซื้อที่ดิน แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทโดยสำคัญผิดว่าที่ดิน แปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลง หมายเลข 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 และต่อมาพบว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 2 ตามเอกสารหมายดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้นการแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยและ ส. หลอกลวงโจทก์เสนอขายและนำชี้ที่ดินว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เสนอขายเป็นที่ดินแปลงหมายเลข 1 ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องจนโจทก์หลงเชื่อเข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน คุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเข้าทำสัญญาของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลทำให้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นการกล่าวอ้างแล้วว่า โจทก์เข้าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษา
ผู้ร้องอ้างว่า ส.มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก การสมรสระหว่าง ส.กับผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา1452 ประกอบมาตรา 1497 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 1497 ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็นคำร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งหมด แม้ทุนกองกลางเกินกำหนด นายวงแชร์/ผู้จัด ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิในทางแพ่ง แต่สมาชิกสามารถฟ้องร้องได้
แม้เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534ไม่ประสงค์ให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับสมาชิกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 6 ก็ตาม แต่ในมาตรา 7ก็บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้ย่อมแสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ ดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด การที่โจทก์จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเล่นแชร์มีการประมูลแชร์ระหว่างกันมาตลอดและจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ด้วยกันการที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์มีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกัน และย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 ดังกล่าว ฉะนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ ของโจทก์จำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เมื่อธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่าย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าวให้โจทก์ โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้แทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์เพียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วยจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468-469/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินปฏิรูปที่ดิน: โมฆะหากทำภายใน 3 ปีโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา28 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินภายในระยะเวลา 3 ปี เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย" บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด เป็นเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการก่อนเท่านั้น
คู่กรณีได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยกำหนดโอนกันครั้งแรกภายในระยะเวลา 3 ปี จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ซึ่งกำหนดโอนที่ดินพิพาทกัน และโจทก์ผู้จะซื้อมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ภายในระยะเวลา 3 ปี เช่นเดียวกัน จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุโมฆะก็ไม่อาจใช้สิทธิได้
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายบัญญัติรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุตามกฎหมายแพ่งก็ไม่เพียงพอ
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และมาตรา 188(1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติกล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
of 132