คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: เงินค่าเช่าซื้อ 80,000 บาท รวมดอกเบี้ย ผู้ให้เช่าซื้อต้องโอนกรรมสิทธิ์เมื่อครบตามสัญญา
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ราคาเงินผ่อนเพิ่มดอกเบี้ย14 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แสดงว่าราคาเงินผ่อนคือราคาเงินสดบวกดอกเบี้ยดอกเบี้ยจะเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่าซื้อที่จะต้องชำระ ฉะนั้นข้อสัญญาที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบ 80,000 บาทผู้ให้เช่าซื้อยินยอมโอนที่ดินที่เช่าซื้อให้ จึงหมายถึงราคาเงินผ่อนที่รวมดอกเบี้ยเข้าด้วยแล้ว หาใช่เฉพาะเงินต้นต้องครบ80,000 บาทไม่ ฎีกาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฉ้อฉลเจ้าหนี้ ผู้รับโอนรู้ถึงการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ไม่มีทรัพย์สินพอจะชำระหนี้แก่โจทก์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1แม้ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ถือว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีความสนิทสนมกันมาก จำเลยที่ 2จึงน่าจะทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 ว่าขณะที่จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ถือว่าขณะที่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิในการเรียกร้องเงินส่วนเกิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล โดยจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำนองให้โจทก์ เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาแล้ว แม้ภายหลังโจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้บุคคลอื่นได้ราคาสูงกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระ จำเลยจะขอให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินส่วนที่เกินจำนวนหนี้แก่จำเลยไม่ได้เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 732 ใช้บังคับเฉพาะกรณีขายทอดตลาดบังคับจำนอง ไม่ใช้บังคับกรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหลังครบกำหนดขายฝาก: สิทธิของจำเลยในการบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์
หลังจากครบกำหนดการขายฝากแล้ว ส. ผู้ซื้อฝากกับ บ.ผู้ขายฝากทำหนังสือสัญญากันมีข้อความว่า "บ. ได้ให้เงิน ส.ค่าไถ่ถอนที่พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 33,000 บาท ส. ขายคืนที่พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ บ." ในวันที่ ส. รับเงินจาก บ.นั้น ส. และ บ. ได้พากันไปสำนักงานที่ดินจังหวัดเพื่อโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้ บ. แต่ยังโอนกันไม่ได้เพราะ บ.ไม่มีเงินค่าธรรมเนียมการโอน ได้ตกลงกันว่าก่อนปีใหม่2-3 วันจะไปโอนกันใหม่ แต่ ส. ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนแสดงว่า ส. จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้ บ.ภายหลัง จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายเวลาการขายฝาก เนื่องจากได้ครบกำหนดการขายฝากและ บ.หมดสิทธิไถ่คืนการขายฝากไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการปลูกสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิในอาคารยังเป็นของผู้ปลูกสร้างจนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินของผู้ร้องรวม 4 คูหา เมื่อปลูกสร้างเสร็จแล้วผู้ร้องจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 รวม 3 โฉนดและจำเลยที่ 1 จะยกอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วให้ผู้ร้องจำนวน 1 คูหานั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน มีผลทำให้จำเลยที่ 1มีสิทธิปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของผู้ร้อง โดยไม่ถือว่าอาคารพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารไม่เสร็จและไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องก็ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกแล้วจำนวน 3 โฉนดให้จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อาคารพิพาทจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง แต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ผู้ปลูกสร้าง ส่วนที่ผู้ร้องได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อจนเสร็จบริบูรณ์ สมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นเรื่องผู้ร้องไปว่ากล่าวตามสิทธิต่อไป ไม่อาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์อาคารพิพาทจากการยึดในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ข้อแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อ และการโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลย ใช้ชื่อสัญญาว่าจะซื้อขายที่ดิน มีข้อสัญญาว่า จำเลยผู้ขายตกลงแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่...ขายให้แก่โจทก์ผู้ซื้อเนื้อที่ 1 งาน ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินจากผู้ขายโดยผ่อนชำระเงินให้เสร็จสิ้นภายใน 60 เดือน เดือนละ 500 บาทนับแต่เดือน...รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ผู้ซื้อมีสิทธิทำประโยชน์ทันทีที่ชำระเงินงวดแรก ผู้ขายจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ผู้ซื้อทันทีที่ชำระเงินงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า สาระสำคัญของสัญญาดังกล่าวได้ระบุราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกัน โจทก์ผู้ซื้อจะชำระราคาเป็นงวดรายเดือน และระบุว่าเมื่อโจทก์ชำระราคางวดสุดท้ายเสร็จจำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทันทีจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไขหรือข้อสัญญาที่โจทก์จะต้องปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไข ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เสียก่อน จำเลยจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าจำเลยเอาที่ดินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายที่ดินนั้นหรือจะให้ที่ดินนั้นตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ โดยเงื่อนไขที่โจทก์ได้ใช้เป็นเงินจำนวนเท่านั้นคราวเท่านี้คราว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา572 และไม่มีข้อตกลงที่แสดงว่าโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบที่ดินคืนแก่จำเลย และถ้าหากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคา 2 งวด ติดต่อกันจำเลยบอกเลิกสัญญาได้และริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อตามมาตรา 573,574 ดังนั้น ข้อความในสัญญาจึงไม่อาจแปลได้ว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อที่ดิน แม้จำเลยจะออกใบเสร็จรับเงินราคาที่ดินที่โจทก์ผ่อนชำระรายเดือนว่าค่าเช่าซื้อที่ดินให้โจทก์ก็เป็นการกระทำของจำเลยฝ่ายเดียว ไม่อาจทำให้เป็นสัญญาเช่าซื้อที่ดินไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายข้าวเปลือกและการโอนกรรมสิทธิ์: อำนาจฟ้องของโจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าพืชผลทางการเกษตรทุกชนิด ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงสีข้าว โจทก์ได้นำข้าวเปลือกไปมอบให้จำเลยที่ 1 ไว้และให้สิทธิจำเลยที่ 1 แปรสภาพเป็นข้าวสารออกขายได้หากโจทก์มีความประสงค์ต้องการขายข้าวเปลือกเมื่อใดจำเลยที่ 1จะใช้ราคาเป็นเงินสด โดยคิดราคาข้าวเปลือกชนิดและประเภทเดิมในปริมาณเดียวกัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการให้กรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว เพียงแต่จะคิดราคากันในภายหลังเท่านั้นและต้องใช้ราคาโดยไม่ต้องคืนทรัพย์ที่รับไว้ จึงเป็นการซื้อขายวิธีหนึ่งไม่ใช่รับฝากทรัพย์ ไม่นอกวัตถุประสงค์ของโจทก์และจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการไม่มีความผิดทางอาญา
จำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยจำเลยทื่ 1มิได้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 3 จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเงื่อนเวลาชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์: ศาลบังคับได้แม้ก่อนครบกำหนด หากจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 154 วรรคสองอาจจะเป็นการแสดงออกของผู้ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธหนี้ของโจทก์อย่างเดียวโดยมิได้ยกเงื่อนเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นโดยปริยาย ศาลจะหยิบยกปัญหาเรื่องเงื่อนเวลาขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินพิพาททั้งหมดให้จำเลยที่ 1 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามนัด ทั้งต่อมายังมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับให้รับชำระราคาจากโจทก์ก่อนครบกำหนดเงื่อนเวลาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1667/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้เนื่องจากติดจำนองและไม่มีเงินไถ่ถอน
สัญญาจะซื้อขายให้สิทธิแก่โจทก์ผู้จะซื้อที่จะขอชำระราคาทั้งหมดก่อนกำหนดพร้อมกับรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทันที เมื่อโจทก์พร้อมจะชำระเงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่จำเลยก่อนกำหนดโดยบอกกล่าวให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยไม่สามารถจะไถ่ถอนจำนองทรัพย์สินนั้นจากธนาคารเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ทันที เพราะธนาคารต้องการให้จำเลยชำระหนี้จำนองทั้งหมด แต่จำเลยไม่มีเงินพอ จึงเป็นความผิดของจำเลยเอง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้วจำเลยต้องคืนเงินค่าทรัพย์สินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้แล้ว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำนวนเงินที่จำเลยได้รับไว้แต่ละครั้ง
of 56