คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันพินัยกรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงสลักหลัง และข้อจำกัดการโอนที่ดินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังพินัยกรรมของ ท. ให้ใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามกฎหมาย มีผลเด็ดขาดเป็นกฎหมาย พินัยกรรมนั้นใช้ได้ตลอดมาจนปัจจุบัน ต่อมาท.ทำพินัยกรรมให้อ. อาศัยอยู่ในที่ดินส่วนหนึ่ง อ.จะทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนนั้นให้แก่ใครต่อไป โดยไม่มีที่ดินแปลงอื่นมาแทนมิได้ผู้รับที่ดินตามพินัยกรรมของ อ. จึงโอนที่ดินนั้นต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมยอมเพิกถอนการโอนที่ดิน: คำพิพากษาผูกพันแม้เป็นจำเลยร่วม
ศาลพิพากษาในคดีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยถูกบุคคลภายนอกฟ้องคดีถึงที่สุดว่าโจทก์รับโอนที่ดินจากจำเลยโดยมีเหตุสงสัยว่าจะไม่ได้รับเงินราคาซื้อกันจริง เป็นการสมยอมให้เพิกถอนการโอน คำพิพากษานี้ผูกพันโจทก์ทั้งสอง แม้จะเป็นจำเลยในคดีก่อนด้วยกันก็ตาม โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกเงินคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินส.ป.ก. มาตรา 12 พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ห้ามโอนให้กระทรวง ทบวง กรม
มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามมิให้ผู้ได้รับที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 5 ปี คำว่า "ผู้อื่น"นั้นรวมถึงกระทรวง ทบวง กรมด้วย ดังนั้นแม้แต่กระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจจะรับโอนที่ดินนั้น ๆได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัญญาให้ที่ดินเพิ่มเติมภายหลัง ไม่ผูกพันผู้รับโอน และอายุความทั่วไป 10 ปี
เมื่อเงื่อนไขข้อหนึ่งในสัญญายกที่ดินให้โจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โดยถือว่ามิได้มีข้อสัญญาข้อนี้ต่อกันโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนออกเสียจากสัญญานั้นได้
สัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการยกให้โดยไม่มีมูลค่าตอบแทนใด ๆ ย่อมไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยตัดฟ้องว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยมิได้อ้างเหตุผลประกอบว่าทำไมจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ในข้อไหนอย่างไรเป็นข้อตัดฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเงื่อนไขในสัญญายกที่ดินให้โจทก์ไม่เกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่อย่างไร จึงต้องใช้อายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปี
สัญญาให้ที่ดินซึ่งคู่สัญญาทำขึ้นต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ใช่เอกสารมหาชนดังเช่นโฉนดที่ดิน แต่เป็นเอกสารสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์ หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินด้วยลายเซ็นปลอมและการครอบครองปรปักษ์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 ปลอมลายเซ็นชื่อโจทก์ลงในใบมอบอำนาจร่วมกับลายเซ็นแท้จริงของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง รวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 รับโอนแล้วได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ดังนี้ การโอนที่พิพาทส่วนของโจทก์ตามลายเซ็นปลอมนั้น ไม่ผูกพันโจทก์ ที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ครอบครองที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี โจทก์ได้รู้เห็นแล้วยังคงปล่อยให้จำเลยที่ 3ครอบครองตลอดมา จำเลยที่ 3 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทส่วนของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโอนที่ดิน ส.ค.1 ที่ยังไม่ได้รับคำรับรองการทำประโยชน์ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดิน ส.ค.1 ให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย ซึ่งเท่ากับขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทยังไม่ได้รับคำรับรอง จากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไม่อาจจะโอนให้กันได้ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 เมื่อตามกฎหมายไม่อาจจะโอนกันได้ ก็จะถือว่าจำเลยผิดสัญญา เพราะไม่ไปจดทะเบียนขายภายในกำหนดอันจะต้องใช้ค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ตามสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินมรดก ศาลพิจารณาการแบ่งสิทธิร่วมในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดาซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินร่วม กรณีทายาทรับมรดกและเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดา ซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอนที่ทราบการซื้อขายก่อนหน้า ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์แล้วส่งมอบการครอบครองให้ โจทก์ครอบครองตลอดมา เพียงแต่จะไปทำการโอนทางทะเบียนให้ในภายหลังเท่านั้น ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร จำเลยที่ 2 ได้ขายให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน: การชำระหนี้จำนองแทนแล้วจึงโอนที่ดิน ถือเป็นการให้ที่มีภาระผูกพัน โจทก์ถอนคืนไม่ได้
มารดายกที่ดินให้แก่บุตรโดยบุตรออกเงินชำระหนี้จำนองแทนมารดาเพราะมารดาไม่มีเงิน แล้วมารดามอบอำนาจให้บุตรไปไถ่ถอนจำนองและทำนิติกรรมให้ที่ดินจำเลยในวันเดียวกันนั้นดังนี้ ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน มารดาจะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้
of 33