พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ การพิสูจน์ลายมือชื่อ และดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. มีต่อจำเลยทั้งสี่และได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยทั้งสี่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะตกลงด้วยหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6334/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ แม้หลังผิดนัดชำระ และผู้รับโอนไม่มีส่วนได้เสียโดยตรง ย่อมทำได้ตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระแล้วจะโอนให้แก่กันไม่ได้ และผู้รับโอนจะต้องมีส่วนได้เสียในมูลหนี้ที่รับโอน แม้การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างเจ้าหนี้กับโจทก์จะกระทำภายหลังจำเลยผิดนัดชำระหนี้แล้วและโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในมูลหนี้ดังกล่าว ก็มิใช่เรื่องการซื้อขายความและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือและโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์และใช้ยันจำเลยได้ โจทก์ผู้รับโอนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่มีอยู่จากจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตามตั๋วแลกเงิน: สิทธิไล่เบี้ยและการโอนสิทธิเรียกร้อง
ธนาคาร น. เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน การที่ ธนาคาร น. ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามมาตรา 937 ธนาคาร น. ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคาร น. ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อธนาคาร น. ได้จ่ายเงินให้บริษัท ต. ซึ่งเป็นผู้รับเงินไปแล้ว ธนาคาร น. จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะสละประเด็นพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง การที่ลูกหนี้โต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้โดยอ้างเหตุจากผู้โอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทั้งสองว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำในโครงการหมู่บ้าน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้างและรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างมูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างและเงินยืมทดรองจ่ายที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้โอนย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองโดยตรง การที่จำเลยทั้งสองบอกปัดความับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้โดยตรงจากลูกหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองว่าจ้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้าง และรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรวมเป็นเงิน 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 1 มูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ จำเลยทั้งสองไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดีและการไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ หากสิทธิที่โอนมาไม่เกินสิทธิเดิม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดีเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกัน และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งผู้ร้องมิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดสิทธิ: ผลกระทบต่อการบังคับคดี
การที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินจากผู้ร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนของศาลชั้นต้นให้แก่บริษัท ท. โดยบริษัทดังกล่าวมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง และหากการโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ยังไม่มีการยกเลิกกันโดยชอบ สิทธิของจำเลยที่จะได้รับชำระหนี้จากผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นย่อมตกเป็นของบริษัท ท. จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาในคดีนั้นจากผู้ร้องแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปยังผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องให้เพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องต้องระบุรายละเอียดหนี้ให้ชัดเจน หากระบุไม่ชัดเจนถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ป.พ.พ. มาตรา 306 ได้บัญญัติถึงวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องไว้ว่า การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ ซึ่งโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเอกสารหมาย จ.7 เป็นหลักฐานที่อ้างว่าธนาคาร ด. ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร ด. มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเอกสารหมาย จ.7 มีข้อความระบุถึงหนี้ที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องกันไว้แต่เพียงว่า "รายละเอียดของสัญญาสินเชื่อและสัญญาหลักประกันที่ธนาคารได้โอนให้ผู้รับโอน รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะสัญญาและเอกสารดังกล่าวต่อไปนี้" ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่อาจเข้าใจความหมายได้ว่าหมายถึงหนี้สินเชื่อประเภทใดบ้าง เพียงแต่มีข้อความต่อไปว่า "หนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2537" มิได้มีข้อความใดกล่าวถึงหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจแปลความหมายได้ว่า ข้อความดังกล่าวรวมถึงหนี้ตามฟ้องด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10335/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จะจ่ายเงินให้ผู้โอนสิทธิเดิม หากไม่ต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างถนนตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับห้างดังกล่าวให้แก่โจทก์และมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว โดยโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและสำนวนหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าสำเนาหนังสือดังกล่าวไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ดังนี้ ถือว่าจำเลยยอมรับตามที่โจทก์กล่าวอ้างและยอมรับความถูกต้องของเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบจำเลยจะมานำสืบภายหลังว่าหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องฉบับที่อยู่ที่จำเลยมีข้อความบางอย่างไม่ครบถ้วนจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีชำระบัญชี บ.ส.ท. ผู้ซื้อมีสิทธิสวมสิทธิเรียกร้องและบังคับคดีได้
ข้อเท็จจริงปรากฏตามสัญญาโอนสินทรัพย์ระหว่าง บ.ส.ท. ผู้สวมสิทธิแทนโจทก์เดิมกับผู้ร้องว่า สัญญาโอนดังกล่าวกระทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ภายหลังจาก พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ใช้บังคับ ทั้งในสัญญาก็ระบุว่า บ.ส.ท. ฝ่ายผู้โอนกระทำโดยประธานกรรมการชำระบัญชี และขณะทำสัญญาผู้โอนอยู่ระหว่างการชำระบัญชีตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว กรณีจึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องรับโอนสินทรัพย์รายนี้จาก บ.ส.ท. ในขณะที่ บ.ส.ท. ดำเนินการชำระบัญชี ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ซึ่งตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว บัญญัติว่า ในการขายสินทรัพย์ประเภทสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ซื้อ ให้บรรดาทรัพย์สิน หลักประกัน สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกันสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตกแก่ผู้ซื้อด้วย วรรคสองบัญญัติว่า การขายสินทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงสินทรัพย์ที่มีข้อพิพาทเป็นคดีอยู่ในศาลโดยให้ผู้ซื้อเข้าสวมสิทธิหรือเข้าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวแทนที่ บ.ส.ท. ดังนี้ ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิหรือเข้าเป็นคู่ความแทน บ.ส.ท. ผู้สวมสิทธิแทนโจทก์เดิมได้โดยผลของกฎหมายโดยผู้ร้องไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยทั้งสี่ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องรับโอนสินทรัพย์รายนี้จาก บ.ส.ท. มาโดยชอบตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ และขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้ตามคำร้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะนัดไต่สวนคำร้องขอเข้าสวมสิทธิและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 ภายหลังจากวันที่ยื่นคำร้องและล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้วก็ตาม หาทำให้ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไม่ จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้ เมื่อปรากฏว่าขณะยื่นคำร้องคดีใกล้จะหมดระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว ในวันเดียวกันผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เดิม ผู้ร้องยังไม่มีอำนาจในการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองให้ทันกำหนดเวลาการบังคับคดี และผู้สวมสิทธิแทนโจทก์เดิมยังไม่ได้ดำเนินการตั้งเรื่องบังคับคดี ประกอบกับศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้องภายหลังรับคำร้องนานถึง 6 เดือนเศษ ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษสมควรที่จะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการบังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีของผู้ร้อง และปัจจุบันล่วงเลยเวลาการบังคับคดีแล้ว กรณีถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่อาจดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนดเวลาบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้ผู้ร้องออกไปเป็นเวลา 180 วัน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง
แม้ศาลชั้นต้นจะนัดไต่สวนคำร้องขอเข้าสวมสิทธิและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 ภายหลังจากวันที่ยื่นคำร้องและล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้วก็ตาม หาทำให้ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไม่ จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้ เมื่อปรากฏว่าขณะยื่นคำร้องคดีใกล้จะหมดระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว ในวันเดียวกันผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เดิม ผู้ร้องยังไม่มีอำนาจในการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองให้ทันกำหนดเวลาการบังคับคดี และผู้สวมสิทธิแทนโจทก์เดิมยังไม่ได้ดำเนินการตั้งเรื่องบังคับคดี ประกอบกับศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้องภายหลังรับคำร้องนานถึง 6 เดือนเศษ ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษสมควรที่จะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการบังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาการบังคับคดีของผู้ร้อง และปัจจุบันล่วงเลยเวลาการบังคับคดีแล้ว กรณีถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่อาจดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนดเวลาบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้ผู้ร้องออกไปเป็นเวลา 180 วัน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง