พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิดให้ชัดเจน มิเช่นนั้นถือเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลสวนอาหารสีน้ำ ในวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 ในงานดนตรีกรรม คำร้องทำนองของผู้แต่ง ผู้ประพันธ์งานดนตรีกรรม คำร้องทำนอง โดยแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งผลงานเพลงผู้ชนะสิบทิศอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต นั้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 คำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนี้อาจมีการกระทำประการใดประการหนึ่งในหลายประการตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเพียงว่า โดยแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่บรรยายถึงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยกระทำการใดโดยแน่ชัด ก็ย่อมไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างไรในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 การบรรยายฟ้องในส่วนนี้จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของโจทก์ที่ 1 เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ในงานผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพพิมพ์ (ปก) โดยได้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งผลงานเพลงอกหักไม่ว่า อันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวได้มีการบันทึกภาพการขับร้องหรือบรรเลงเพลงอกหักไม่ว่า ลงในแผ่นเสียง เทปคาสเซต ซีดี วิดีโอเทป วิดีโอซีดี หรือบันทึกลงในวัสดุใด และจำเลยกระทำการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยการทำให้ปรากฏด้วยเสียงหรือภาพโดยวิธีใดเช่นเดียวกัน ส่วนงานภาพพิมพ์ (ปก) นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์นี้และจำเลยได้นำงานดังกล่าวออกแสดงต่อสาธารณชนโดยวิธีใดอีกเช่นกัน ทั้งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุท้ายคำฟ้อง ก็ไม่ได้สื่อความหมายให้เข้าใจตามคำฟ้องได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด คำฟ้องในส่วนนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองบรรยายให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุและภาพพิมพ์ของโจทก์ที่ 2 เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเช่นกัน การบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวทั้งสองส่วนจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ในงานผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพพิมพ์ (ปก) โดยได้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งผลงานเพลงอกหักไม่ว่า อันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวได้มีการบันทึกภาพการขับร้องหรือบรรเลงเพลงอกหักไม่ว่า ลงในแผ่นเสียง เทปคาสเซต ซีดี วิดีโอเทป วิดีโอซีดี หรือบันทึกลงในวัสดุใด และจำเลยกระทำการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยการทำให้ปรากฏด้วยเสียงหรือภาพโดยวิธีใดเช่นเดียวกัน ส่วนงานภาพพิมพ์ (ปก) นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์นี้และจำเลยได้นำงานดังกล่าวออกแสดงต่อสาธารณชนโดยวิธีใดอีกเช่นกัน ทั้งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุท้ายคำฟ้อง ก็ไม่ได้สื่อความหมายให้เข้าใจตามคำฟ้องได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด คำฟ้องในส่วนนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองบรรยายให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุและภาพพิมพ์ของโจทก์ที่ 2 เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเช่นกัน การบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวทั้งสองส่วนจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15358/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แม้เหตุผลต่างจากศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 5 ถึง 8 แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ แม้จะอาศัยเหตุผลต่างกัน แต่ผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งว่าคดีของโจทก์มีมูลและให้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 มา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11700/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากไม่มีเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคหนึ่ง คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เมื่อโจทก์ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142-1143/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อไม่ขออนุญาตฎีกาตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ศาลชั้นต้นรับฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคย่อมเป็นที่สุดตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 49 วรรคสอง และหากคู่ความประสงค์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคจำต้องทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกาและยื่นมาพร้อมกับฎีกาต่อศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมฎีกาไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 แต่คดีนี้จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับฎีกาด้วย เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งบทบัญญัติอันว่าด้วยการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่กำหนดให้ศาลฎีกาเท่านั้นที่มีอำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10893/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยโดยไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และคำพิพากษาไม่เป็นที่สุด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 57, 66, 91 พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งการกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วยและเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยไม่ชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" เมื่อจำเลยฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เฉพาะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุก 8 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมความประพฤติ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 1 ปี ยกฟ้องฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอทเฟตามีน จำเลยไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ศาลชั้นต้นปรับบทคลาดเคลื่อนและวางโทษจำคุกหนักไป ควรปรับบทให้ถูกต้องและกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่ เป็นจำคุก 4 เดือน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุกฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 7 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ซึ่งเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษในความผิดฐานนี้ ทำให้จำเลยต้องถูกจำคุกเพิ่มอีก 4 เดือน ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอุทธรณ์ และแม้คดีนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดนั้น หมายถึงต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเช่นนั้นได้ มิได้หมายความว่า แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน โดยกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจทำได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายและหาเป็นที่สุดไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 208 (2) และมาตรา 225 จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนใหม่
ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุก 8 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมความประพฤติ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 1 ปี ยกฟ้องฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอทเฟตามีน จำเลยไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ศาลชั้นต้นปรับบทคลาดเคลื่อนและวางโทษจำคุกหนักไป ควรปรับบทให้ถูกต้องและกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่ เป็นจำคุก 4 เดือน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุกฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 7 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ซึ่งเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษในความผิดฐานนี้ ทำให้จำเลยต้องถูกจำคุกเพิ่มอีก 4 เดือน ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอุทธรณ์ และแม้คดีนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดนั้น หมายถึงต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเช่นนั้นได้ มิได้หมายความว่า แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน โดยกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจทำได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายและหาเป็นที่สุดไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 208 (2) และมาตรา 225 จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8719/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารชุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบังคับอาคารชุด ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะฟ้องตั้งเรื่องเป็นละเมิด แต่ตามทางบรรยายฟ้องเป็นกรณีโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดและ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ดังนี้ไม่ใช่ฟ้องเรื่องละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดและพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของการอยู่ร่วมกันในอาคารชุดเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยฝ่าฝืนข้อบังคับและบทกฎหมายดังกล่าวได้เสมอตราบเท่าที่การก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเอง การยกประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา เป็นการไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อต่อสู้ในคำให้การ จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 2 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว มูลคดีนี้จึงเป็นอันระงับ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับหรือปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จริงหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่จำต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ หากโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 จริง ก็เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และกระทำละเมิดในทางการที่จ้างดังฟ้อง จึงเป็นคำให้การที่ไม่อาจให้รวมกันมาได้เพราะขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกับจำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาททั้งสองดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียม – ผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิม
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขและเพิ่มเติมคำให้การ และไม่อนุญาตให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น หากศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้ว ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นกล่าวคือคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว จึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั่นเอง ในการอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เสีย คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเป็นสิทธิเฉพาะตัว การใช้สิทธิของผู้อื่นย่อมไม่ชอบ
สิทธิในการยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาเป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละฝ่าย โจทก์ร่วมจะถือเอาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตขยายระยะเวลาฎีกาให้โจทก์ เป็นสิทธิของตนยื่นฎีกาของโจทก์ร่วมคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10870/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบ กรณีภูมิลำเนาไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ศาลต้องไต่สวนก่อนวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าบ้านซึ่งโจทก์อ้างมาในคำฟ้องว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยนั้น ไม่มีสภาพเป็นบ้านที่สามารถอยู่อาศัยได้ คงมีเพียงเสาบ้านเท่านั้นและจำเลยไม่ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว จึงไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยและภายหลังแต่นั้นมาย่อมไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แม้จำเลยจะยื่นคำขอโดยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา ก็ไม่ทำให้เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความจริงก่อนว่าเป็นไปตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247