คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวล่วงหน้าเลิกจ้างมีผลเมื่อลูกจ้างได้รับทราบ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยจากสินจ้างแทนการบอกกล่าว
การบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง เพียงแต่ให้คู่สัญญาฝ่ายที่จะเลิกสัญญาบอกกล่าวล่วงหน้าแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ทราบล่วงหน้าว่าจะเลิกสัญญา โดยต้องบอกกล่าวในเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง หรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งอันจะก่อให้เกิดผลเป็นการเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปเท่านั้น มิได้กำหนดให้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าภายในเวลางานตามปกติแต่อย่างใด การบอกกล่าวเลิกสัญญาจึงมีผลนับแต่ที่คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับการบอกกล่าวได้รับทราบการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น โจทก์รับทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 และจำเลยที่ 1 กำหนดจ่ายค่าจ้างก่อนวันที่ 25 ของเดือน การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นผลให้เลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป คือวันที่ 24 ตุลาคม 2545 เมื่อจำเลยที่ 1 ให้โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2545 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2545 เป็นเวลา 53 วัน
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยไว้โดยเฉพาะ จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่เมื่อทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เมื่อใด จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างและความถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและเป็นการเลิกจ้างโจทก์ที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) แล้ววินิจฉัยต่อมาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวซึ่งนายจ้างมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานต่อเนื่องโดยทำสัญญาต่ออายุ แม้มีกำหนดอายุสัญญา การไม่ต่อสัญญาถือเป็นการเลิกจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างฉบับแรกตั้งแต่ปี 2533 และมีการต่อสัญญากันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสัญญาจ้างฉบับสุดท้าย โดยสัญญาจ้างแต่ละฉบับมีกำหนดอายุ 1 ปี แม้ตามสัญญาจ้างดังกล่าวจะกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ก็ตาม แต่การจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีการต่ออายุการจ้างเรื่อยมา เห็นได้ว่ามิใช่เป็นการจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการแต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ต่อสัญญาจ้างกับโจทก์โดยไม่ยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป ย่อมถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต่อสัญญาจ้างก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่การเลิกจ้าง สิทธิการเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เคยกระทำผิดวินัยหลายครั้งและจำเลยได้สั่งพักงานโจทก์โดยในระหว่างที่พักงานนั้นจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์มาโดยตลอด ต่อมาโจทก์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและส่งฟ้องต่อศาลแขวงสมุทรปราการในข้อหาเล่นการพนันในวันพิจารณาคดีโจทก์ไม่ได้มาทำงาน วันรุ่งขึ้นโจทก์มาทำงาน ฉ. ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยจึงได้สั่งพักงานโจทก์ โดยสั่งในลักษณะเดียวกันกับโจทก์เคยกระทำความผิดอื่นมาก่อนทุกครั้ง โดยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าคุ้มครองแรงงานฯ นั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสั่งพักงานตามที่อุทธรณ์มาแต่อย่างใด อุทธรณ์โจทก์ประการนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
โจทก์ไปทำงานในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยปฏิเสธที่จะให้โจทก์เข้าทำงาน โดยสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลานานหลายวันโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง ระบุว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด..." นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง และลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ระหว่างให้หยุดงานชั่วคราว ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ แม้การพักงานครั้งก่อนหน้านี้โจทก์ได้รับค่าจ้างระหว่างการพักงาน และในการสั่งพักงานครั้งนี้โจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยทวงถามค่าจ้างระหว่างการพักงานแล้วจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างแต่อย่างใด กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังโจทก์แอบมาขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ทำงานในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นเจตนาของโจทก์ที่ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างในระหว่างพักงานยังคงมีอยู่ ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานมิใช่การเลิกจ้าง สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
คำฟ้องโจทก์เพียงแต่กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสั่งพักงานตามที่อุทธรณ์มา อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การเลิกจ้างจะต้องเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งทำให้สภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราว ซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์จึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว มิใช่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10332/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ แม้รายละเอียดวันที่ผิดพลาด ก็ใช้เป็นเหตุไม่จ่ายค่าชดเชยได้
แม้หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ระบุเหตุผลที่เลิกจ้างไว้ประการหนึ่งว่าโจทก์ไม่ได้มาทำงานในวันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 แต่ได้ลงบันทึกข้อมูลของบริษัทจำเลยว่าโจทก์มาทำงานในวันดังกล่าว ทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าอาหารให้โจทก์วันละ 10 บาท รวม 2 วัน เป็นเงิน 20 บาท อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ในวันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 ซึ่งไม่ตรงกับที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มาทำงานในวันที่ 24 มีนาคม 2547 แต่โจทก์แก้ไขข้อมูลว่ามาทำงานในวันดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เป็นเบี้ยขยันเดือนละ 300 บาท และค่าอาหาร วันละ 10 บาท อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ในวันที่ 24 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่คนละวันกัน แต่ก็เป็นการระบุเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุผลให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว เพียงแต่ระบุวันที่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ผิดพลาดไปซึ่งเป็นรายละเอียดเท่านั้น จำเลยย่อมยกเหตุผลที่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10267-10271/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังโอนกิจการ นายจ้างเดิมและผู้รับโอนมีหน้าที่รับผิดร่วมกัน
ปรากฏตามสัญญาการโอนกิจการว่า โดยที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในกิจการของจำเลยทั้งสอง มีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสะดวกต่อการกำกับดูแลรวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยการลดหรือใช้ต้นทุนร่วมกัน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจึงเห็นควรให้มีการโอนกิจการจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2 รับโอนสินทรัพย์ทุกชนิด หนี้สินและภาระผูกพันทั้งหมด ยกเว้นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งรับพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่สมัครใจทำงานกับจำเลยที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในโครงการโอนกิจการที่เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และปรากฏตามโครงการโอนกิจการที่จำเลยที่ 1 จัดทำเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำเสนอธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทราบว่า จำเลยที่ 2 จะรับโอนพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาณ 200 คน ตามความสมัครใจ ซึ่งผู้บริหารของจำเลยทั้งสองจะได้พิจารณาร่วมกันต่อไป ดังนั้น การโอนกิจการดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในกิจการของจำเลยทั้งสองให้การบริหารหนี้ด้อยคุณภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้นโดยมีข้อตกลงรับโอนพนักงานของจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ทั้งห้าว่าไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับโจทก์ทั้งห้าและไม่สามารถรับโจทก์ทั้งห้าเข้าเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 ได้ และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการเลิกจ้างโดยจำเลยที่ 1 ผู้โอนกิจการและจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกิจการมิได้ประสบภาวะความจำเป็นหรือขาดทุนจนถึงกับต้องเลิกจ้างพนักงาน ทั้งมิใช่เกิดจากการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งห้าจนถึงกับต้องถูกเลิกจ้าง ส่วนการจัดหาตำแหน่งงานให้โจทก์ทั้งห้าก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะต้องพิจารณาร่วมกันให้โจทก์ทั้งห้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าจึงเป็นการเลิกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรและเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือของลูกจ้าง, การกระทำส่อทุจริตเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้
ฎีกาของจำเลยมีลักษณะเป็นการโต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว เป็นอุทธรณ์ที่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย เมื่อมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันได้ความว่า โจทก์ยอมรับว่าได้ขับรถยกกล่องใส่เศษสะแคร็ปที่มีม้วนสายโทรศัพท์วางอยู่บนกล่องดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าหากได้นำไปขายต่อบุคคลภายนอก โดยไม่มีผู้ใดสั่งให้ยกมาเก็บไว้ในสถานที่ล่อแหลมพร้อมในการนำออกสู่ภายนอก การกระทำของโจทก์จึงส่อไปในทางทุจริต เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจและขาดความเชื่อถือในการทำงานของโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 205