พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15467/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับสิ้นไปแล้ว ไม่อาจนำมาฟ้องร้องได้อีก
อ. ลูกจ้างโจทก์เคยใช้สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่พิพาทจากโจทก์พร้อมเงินอื่น เนื่องจากถูกโจทก์เลิกจ้างในคดีหมายเลขแดงที่ รย.310/2551 ของศาลแรงงานภาค 2 ซึ่งระหว่างการพิจารณาในคดีดังกล่าว อ. กับโจทก์ตกลงกันได้และ อ. ได้สละสิทธิเรียกร้องในเงินค่าล่วงเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องในค่าล่วงเวลาดังกล่าวนั้นจึงระงับสิ้นไป อ. จึงไม่อาจนำเอาสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับไปแล้วไปยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาและมีคำสั่งได้อีก ดังนั้น อ. จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากโจทก์ คำสั่งของจำเลยที่ 78/2551 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ที่ให้โจทก์จ่ายค่าล่วงเวลาแก่ อ. จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15462/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสวัสดิการและค่าชดเชยของลูกจ้างหลังการรวมกิจการและการเกษียณอายุ
การปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานนั้น ไม่มีบทกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องกระทำ จึงเป็นอำนาจทางการบริหารจัดการของนายจ้างตามแต่ที่จะกำหนดหรือตามที่ได้ตกลงกับลูกจ้างหรือพนักงานไว้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะให้รับฟังได้ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีให้แก่พนักงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่พนักงานเป็นสิทธิเฉพาะของจำเลย และเป็นไปตามนโยบายหรือแนวทางการพิจารณาปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานตามที่จำเลยประกาศไว้ ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขว่าพนักงานจะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยพนักงานจะรู้ว่าได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนประมาณวันที่ 15 มีนาคม ส่วนพนักงานที่พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานก่อนงวดการจ่ายเงินเดือนในเดือนมีนาคม 2550 จำเลยจะไม่พิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนให้ ดังนั้นเมื่อโจทก์พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 การที่จำเลยไม่ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี 2550 ให้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นไปตามอำนาจทางการบริหารจัดการของจำเลยตามระเบียบโดยชอบแล้ว
การที่โจทก์ใช้รถประจำตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2544 นั้น เป็นสิทธิประโยชน์และเป็นสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่ตัวเงินที่จำเลยจัดให้เฉพาะพนักงานระดับสูง แม้ต่อมาโจทก์จะได้รับอนุมัติจากจำเลยเป็นกรณีพิเศษ ให้เปลี่ยนเป็นการรับเงินช่วยเหลือค่ารถเดือนละ 50,000 บาท และค่าน้ำมันรถเดือนละ 3,000 บาท แทนก็ตามก็ยังถือว่าเป็นสวัสดิการอยู่นั่นเองเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินแทน เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถ จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ มิใช่เป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ขอและจำเลยยินยอมให้โจทก์รับเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง หลังจากจำเลยออกระเบียบงานที่ 14/2549 โดยข้อ 2.7 กำหนดไม่ให้นำเงินช่วยเหลือค่ารถไปรวมกับเงินเดือนเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณผลประโยชน์อื่นใด อันรวมถึงค่าชดเชยด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางไม่นำเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถมารวมเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
จำเลยประกอบกิจการธนาคารและเคยใช้ชื่อว่าธนาคาร ส. จำกัด โจทก์เคยเป็นพนักงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะต้องรวมกิจการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่น จำเลยกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงานไว้กับโจทก์ ว่าจำเลยจะจัดสวัสดิการให้โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่จำเลยจัดให้กับพนักงานของจำเลยซึ่งขณะนั้นจำเลยใช้ชื่อว่า ธนาคาร ส. ยกเว้นสวัสดิการว่าด้วยเงินบำเหน็จนั้น แสดงว่ากรณีเงินบำเหน็จที่จัดไว้สำหรับพนักงานของธนาคาร ส. ที่ทำงานมาก่อนที่จะมีการรวมกิจการ เป็นสวัสดิการที่มีมาก่อนแล้วและจำเลยยังคงที่จะสงวนสิทธิไว้ให้แก่พนักงานที่ร่วมทำงานกับจำเลยมาแต่แรก ไม่รวมถึงโจทก์ที่เป็นพนักงานใหม่ซึ่งเพิ่งเข้ามาหลังมีการรวมกิจการ ทั้งไม่ถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อนายจ้างเดิมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ตามความหมายในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น ที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ชอบแล้ว
การที่โจทก์ใช้รถประจำตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2544 นั้น เป็นสิทธิประโยชน์และเป็นสวัสดิการในรูปแบบที่มิใช่ตัวเงินที่จำเลยจัดให้เฉพาะพนักงานระดับสูง แม้ต่อมาโจทก์จะได้รับอนุมัติจากจำเลยเป็นกรณีพิเศษ ให้เปลี่ยนเป็นการรับเงินช่วยเหลือค่ารถเดือนละ 50,000 บาท และค่าน้ำมันรถเดือนละ 3,000 บาท แทนก็ตามก็ยังถือว่าเป็นสวัสดิการอยู่นั่นเองเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินแทน เงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถ จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ มิใช่เป็นค่าตอบแทนในการทำงานโดยตรงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ขอและจำเลยยินยอมให้โจทก์รับเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง หลังจากจำเลยออกระเบียบงานที่ 14/2549 โดยข้อ 2.7 กำหนดไม่ให้นำเงินช่วยเหลือค่ารถไปรวมกับเงินเดือนเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณผลประโยชน์อื่นใด อันรวมถึงค่าชดเชยด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางไม่นำเงินช่วยเหลือค่ารถและค่าน้ำมันรถมารวมเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
จำเลยประกอบกิจการธนาคารและเคยใช้ชื่อว่าธนาคาร ส. จำกัด โจทก์เคยเป็นพนักงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะต้องรวมกิจการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่น จำเลยกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงานไว้กับโจทก์ ว่าจำเลยจะจัดสวัสดิการให้โจทก์ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่จำเลยจัดให้กับพนักงานของจำเลยซึ่งขณะนั้นจำเลยใช้ชื่อว่า ธนาคาร ส. ยกเว้นสวัสดิการว่าด้วยเงินบำเหน็จนั้น แสดงว่ากรณีเงินบำเหน็จที่จัดไว้สำหรับพนักงานของธนาคาร ส. ที่ทำงานมาก่อนที่จะมีการรวมกิจการ เป็นสวัสดิการที่มีมาก่อนแล้วและจำเลยยังคงที่จะสงวนสิทธิไว้ให้แก่พนักงานที่ร่วมทำงานกับจำเลยมาแต่แรก ไม่รวมถึงโจทก์ที่เป็นพนักงานใหม่ซึ่งเพิ่งเข้ามาหลังมีการรวมกิจการ ทั้งไม่ถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อนายจ้างเดิมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ตามความหมายในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น ที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15347/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง แม้ลงลายมือชื่อข้อเรียกร้องไม่พร้อมกัน การปฏิเสธของนายจ้างไม่กระทบสิทธิ
แม้ผู้กล่าวหาซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อภายหลังจากฝ่ายลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้อง ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายลูกจ้างมีการเจรจากันตามกฎหมายแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั่งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้ามาดำเนินการไกล่เกลี่ย แสดงว่ากระบวนการเจรจาต่อรองตามบทบัญญัติของกฎหมายยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การที่ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติมในระหว่างกระบวนการใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวนั้น จึงถือว่าผู้กล่าวหาเป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องด้วยแล้ว การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับ ไม่มีผลทำให้ผู้กล่าวหาไม่อาจใช้สิทธิของตนตามกฎหมายได้ เมื่อผู้กล่าวหา เป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงร่วมนัดหยุดงานตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ได้ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการผละงานหรือละทิ้งหน้าที่ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15199-15200/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ครอบครองยานพาหนะในคดีละเมิดจากการขับรถประมาท
จำเลยที่ 6 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 6 ขับรถบรรทุกสินค้าไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 6 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 6 ได้กระทำไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วยโดยไม่จำกัดจำนวนตามมาตรา 1077 (2) และ 1087 ส่วนจำเลยที่ 2 แม้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่แสดงตัวออกว่าเป็นนายจ้างจำเลยที่ 6 และเข้าไปติดต่อเจรจาเกี่ยวกับการใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตลอดมาถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 4 เช่นนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ทั้งหลายของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 ด้วย
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 6 และในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 6 ขับรถไปในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่จากทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 6 หนังสือรับรองจำเลยที่ 4 ก็ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ร่วมลงทุนทำกิจการใดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หรือมีส่วนเป็นเจ้าของสินค้าที่บรรทุกมาในรถกระบะที่จำเลยที่ 6 ขับไปเกิดเหตุคดีนี้ คงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถกระบะคันเกิดเหตุเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใด ๆ ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 6 กระทำ
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 6 และในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 6 ขับรถไปในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่จากทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 6 หนังสือรับรองจำเลยที่ 4 ก็ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ร่วมลงทุนทำกิจการใดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หรือมีส่วนเป็นเจ้าของสินค้าที่บรรทุกมาในรถกระบะที่จำเลยที่ 6 ขับไปเกิดเหตุคดีนี้ คงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถกระบะคันเกิดเหตุเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใด ๆ ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 6 กระทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15117-15120/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบจนเกิดความเสียหาย ถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลสมควร
โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลยปฏิบัติงานฝ่ายพัสดุที่โรงงานหลังคาเหล็ก จำเลยมีขั้นตอนการดำเนินงานให้พนักงานฝ่ายพัสดุปฏิบัติตามเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับจำเลย การที่โจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน จนทำให้พัสดุขาดหายไปคิดเป็นเงินจำนวนมาก แม้สาเหตุที่พัสดุขาดหายไปอาจเกิดจากการทุจริตของผู้อื่นก็ตาม แต่การที่โจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลยก็ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้พัสดุสูญหายได้ง่ายขึ้น และหากโจทก์ทั้งสามปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลยอย่างเคร่งครัดแล้วพัสดุอาจจะไม่ขาดหายก็ได้ทั้งการที่โจทก์ทั้งสามยังยึดติดกับการปฏิบัติอย่างเดิมๆ เช่นเคยปฏิบัติมาก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสามไม่นำพาต่อระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันจะทำให้การบริหารจัดการงานของนายจ้างไม่สามารถดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลได้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามแม้จะไม่ปรากฏว่ากระทำโดยทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามตามมาตรา 119 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 67 ทั้งการกระทำของโจทก์ทั้งสามดังกล่าวยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสาม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากโจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลย จนทำให้พัสดุขาดหายไปคิดเป็นเงินจำนวนมาก อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรง และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากโจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลย จนทำให้พัสดุขาดหายไปคิดเป็นเงินจำนวนมาก อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรง และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15117-15120/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้าง และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลยปฏิบัติงานฝ่ายพัสดุที่โรงงานหลังคาเหล็ก จำเลยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ให้พนักงานฝ่ายพัสดุปฏิบัติตามเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับจำเลย การที่โจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานดังกล่าว จนทำให้พัสดุขาดหายไปคิดเป็นเงินจำนวนมากถึง 2,852,559.82 บาท แม้สาเหตุที่พัสดุขาดหายไปอาจเกิดจากการทุจริตของผู้อื่นก็ตาม แต่การที่โจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลยก็ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้พัสดุสูญหายได้ง่ายขึ้น และหากโจทก์ทั้งสามปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลยอย่างเคร่งครัดแล้วพัสดุอาจจะไม่ขาดหายก็ได้ ทั้งการที่โจทก์ทั้งสามยังยึดติดกับการปฏิบัติอย่างเดิม ๆ เช่นเคยปฏิบัติมาก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสามไม่นำพาต่อระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันจะทำให้การบริหารจัดการงานของนายจ้างไม่สามารถดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลได้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามแม้จะไม่ปรากฏว่ากระทำโดยทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามตามมาตรา 119 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 67 ทั้งการกระทำของโจทก์ทั้งสามดังกล่าวยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสามและการเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15031/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างทำให้ทรัพย์สินนายจ้างสูญหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ได้รับมอบหมายให้เข้าไปดำเนินการปลดธงชาติและธงเฉลิมพระเกียรติซึ่งต้องมีการปฏิบัติงานภายในห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลย การที่โจทก์ใช้กุญแจอาคารเปิดเข้าห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลยเพื่อปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น หน้าที่ของโจทก์นอกจากดำเนินการปลดธงลงแล้วโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เกิดความเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ที่โจทก์เข้าไปดำเนินงานด้วย เมื่อสถานที่ดังกล่าวเป็นห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลยซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าภายในห้องดังกล่าวอาจมีทรัพย์สินมีค่า หรือเอกสารสำคัญ โจทก์ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่สถานที่นั้นเป็นอย่างดี เมื่อโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลทำให้พระทองคำ ฮก ลก ซิ่ว ซึ่งมีมูลค่าถึง 75,000 บาท ที่อยู่ในห้องดังกล่าวสูญหายไป จึงเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างก่อนครบระยะเวลาตามสัญญาจ้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14485/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่: การนำของสมนาคุณส่วนตัวไปใช้โดยไม่แจ้งผู้บังคับบัญชา
บริษัท น. นำจานกระเบื้องซึ่งเป็นของสมนาคุณมามอบให้กับจำเลยที่ 1 เพื่อมอบให้แก่ลูกค้า โจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับสินค้าดังกล่าวไว้และเห็นข้อความในเอกสารที่แสดงถึงการควบคุมจำนวนที่จัดส่ง โจทก์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารควบคุมการรับจ่ายของที่อยู่ในคลังสินค้า หากโจทก์ประสงค์ที่จะนำจานกระเบื้องซึ่งเป็นสินค้าควบคุมจำนวนไปใช้ส่วนตัวโดยเข้าใจว่าเป็นของสมนาคุณที่โจทก์มีสิทธินำไปใช้ได้ โจทก์ควรจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคลังสินค้ารับทราบ การที่โจทก์นำจานกระเบื้องที่บริษัท น. มอบให้จำเลยที่ 1 ไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถือได้ว่าเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14466/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
หนังสือบอกเลิกจ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ระบุข้อเท็จจริงตามที่อ้างในฟ้องว่า ธ. เจตนาจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) ไว้ด้วย โจทก์จึงยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวให้จำเลยต้องรับวินิจฉัย การที่ศาลแรงงานภาค 1 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13862/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระบุไม่จ่ายค่าชดเชย ย่อมใช้ได้ แม้มีข้อบังคับบริษัทกำหนดจ่ายไว้ก็ได้
ตาม พ.ร.บ.สภาการเหมืองแร่ พ.ศ.2526 มาตรา 23 วรรคสอง ที่บัญญัติให้เลขาธิการสภาการเหมืองแร่มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เป็นหลักการทั่วไป ไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่าสัญญาจ้างผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการเหมืองแร่จะมีกำหนดระยะเวลาน้อยกว่า 4 ปี ไม่ได้ แต่กลับบัญญัติให้เลขธิการสภาการเหมืองแร่อาจต้องพ้นตำแหน่งก่อนครบวาระไว้หลายประการ สัญญาจ้างโจทก์ให้เป็นลูกจ้างตำแหน่งเลขาธิการสภาการเหมืองแร่มีกำหนด 1 ปี จึงไม่ขัดต่อมาตรา 23 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
แม้กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) ระบุว่ามิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างก็ตาม แต่หากนายจ้างนั้นกำหนดข้อบังคับให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอันมีผลให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวก็กระทำได้ ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานจึงมีผลบังคับใช้
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าโจทก์ไม่ได้ค่าชดเชยหากโจทก์ตกลงรับข้อเสนอให้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้าง ซึ่งข้อ 2.1 ระบุว่าลูกจ้าง (โจทก์) จะไม่ได้รับค่าชดเชย แสดงว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับค่าชดเชย อันเป็นการไม่ใช้บทบัญญัติ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 ทั้งนี้โจทก์ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสามารถตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้ สัญญาจ้างในส่วนค่าชดเชยชอบด้วยกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
แม้กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) ระบุว่ามิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างก็ตาม แต่หากนายจ้างนั้นกำหนดข้อบังคับให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอันมีผลให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวก็กระทำได้ ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานจึงมีผลบังคับใช้
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าโจทก์ไม่ได้ค่าชดเชยหากโจทก์ตกลงรับข้อเสนอให้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้าง ซึ่งข้อ 2.1 ระบุว่าลูกจ้าง (โจทก์) จะไม่ได้รับค่าชดเชย แสดงว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับค่าชดเชย อันเป็นการไม่ใช้บทบัญญัติ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 ทั้งนี้โจทก์ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสามารถตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้ สัญญาจ้างในส่วนค่าชดเชยชอบด้วยกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว