คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9332/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างแสดงใบรับคำขออนุญาตขายวีซีดี ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีเจตนาประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน" บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการดังกล่าวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของ อ. ผู้ไปขออนุญาตจากนายทะเบียนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยมีเจตนาประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความผิดทางอาญา (เสพยาเสพติด) แม้เข้ารับการฟื้นฟูแล้ว ก็เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย พนักงานต้องไม่กระทำความผิดทางอาญา และจำเลยเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่พนักงานกระทำความผิดอย่างร้ายแรง และประกาศของจำเลยที่ว่า เมื่อจำเลยหรือหน่วยงานราชการตรวจพบสารเสพติดในร่างกายของพนักงานจะได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยคือ เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย การที่โจทก์มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษแม้จะเป็นเพียงผู้เสพและได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นผลเสียหายกับองค์กรอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690-6692/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรง: การทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกสถานที่ทำงาน แต่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในที่ทำงาน
แม้ จ. จะได้รับบาดเจ็บที่บริเวณดวงตาข้างซ้ายและลำตัวมีรอยฟกช้ำโดยสามารถไปทำงานได้ในวันรุ่งขึ้นและเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นหลังเวลาเลิกงานและนอกสถานที่ทำงานก็ตาม แต่สาเหตุที่โจทก์ทั้งสามกับ ภ. ร่วมกันทำร้าย จ. ก็เนื่องจากไม่พอใจ จ. เกี่ยวกับการทำงานและในที่ทำงาน หลังเลิกงานโจทก์ทั้งสามกับ ภ. ไปดักทำร้าย จ. ขณะลงจากรถรับส่งพนักงานของจำเลย อันมีลักษณะร่วมกันรุมทำร้าย จ. ฝ่ายเดียวและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันจากภายในที่ทำการของจำเลย ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกัน ทั้งขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสาม ภ. และ จ. ยังคงสวมเครื่องแบบพนักงานของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกันทำร้ายร่างกาย จ. อย่างอุกอาจไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย เป็นการกระทำต่อเพื่อนพนักงานด้วยกันในเรื่องที่มีสาเหตุจากการทำงานต่อหน้าเพื่อนพนักงานที่มากับรถรับส่งพนักงานของจำเลย อันเป็นการทำให้เสียภาพพจน์และทำให้ยุ่งยากในการปกครองบังคับบัญชาพนักงานในองค์กรของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6687/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้สิทธิในการย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างสามารถกระทำได้ตามความเหมาะสมเพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กรของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคำสั่งย้ายงานดังกล่าวมีผลใช้บังคับเพียงใดคงต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นกรณีไป เมื่อมูลเหตุในการออกคำสั่งเป็นคำสั่งที่บีบบังคับให้โจทก์ลาออกเพื่อจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินเกษียณอายุและไม่ต้องจ่ายค่าจ้างที่สูงเกินไปของโจทก์ซึ่งไม่คุ้มค่ากับกำลังการผลิตของจำเลยที่ 1 ที่ตกต่ำลง และการย้ายงานดังกล่าวไม่ก่อประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะโจทก์คงเหลือระยะเวลาทำงานอีกเพียง 2 เดือนเศษ ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว ยังมีมูลเหตุการออกคำสั่งโดยไม่สุจริตแก่ลูกจ้าง จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วและกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท แม้กระทำนอกเวลางานก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์นำภาพถ่ายเปลือยของหญิงและการร่วมประเวณีระหว่างหญิงดังกล่าวกับโจทก์ที่โจทก์บันทึกไว้ออกเผยแพร่เพื่อประจานหญิงนั้นจนปรากฏเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งระบุว่าโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายช่างของจำเลยย่อมกระทบต่อเกียรติและชื่อเสียงของจำเลย ถือว่าโจทก์ไม่รักษาเกียรติและชื่อเสียงของจำเลย เป็นการประพฤติชั่ว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดี แม้โจทก์กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงานก็เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างและการร่วมกระทำความผิด จำเลยแม้ไม่ใช่ลูกจ้างก็อาจมีความผิดได้หากร่วมกระทำความผิดกับลูกจ้าง
จำเลยมิได้เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย แม้จำเลยร่วมกับ น. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายลักทรัพย์ของผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) ทั้งนี้เพราะความเป็นลูกจ้างเป็นเหตุเฉพาะตัวของ น. จึงไม่มีผลไปถึงจำเลยด้วย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนลูกจ้าง: การตายจากโรคประจำตัว ไม่ใช่จากลักษณะงาน
ป. เป็นลูกจ้างของจำเลย ทำหน้าที่ขับรถรับส่งบุตรหลานพนักงานของจำเลย ป. ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ในที่ทำการของจำเลย
ป. มีโรคประจำตัวคือภาวะความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลในปัสสาวะ ไขมันในเลือดสูง และหัวใจห้องล่างซ้ายโต โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้ายโตเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงที่ทำให้หัวใจหยุดทำงานเฉียบพลันได้ ใบแจ้งการตายระบุสาเหตุการตายว่าหัวใจหยุดทำงานฉับพลัน ทั้งลักษณะงานของ ป. มีเพียงขับรถรับส่งบุตรหลานพนักงานของจำเลยไปโรงเรียนเท่านั้น ไม่ใช่งานที่ต้องใช้กำลังแรง ไม่อาจทำให้เกิดโรคหรือเจ็บป่วยถึงตายได้ สาเหตุการตายจึงเกิดจากโรคประจำตัวของ ป. ไม่ได้เกิดด้วยโรคซึ่งเกิดตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ที่ 1 ผู้เป็นภรรยาของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการแจ้งเหตุเลิกจ้างใหม่ นายจ้างต้องแจ้งเหตุเลิกจ้างให้ชัดเจนและทันเวลา หากไม่แจ้งสิทธิในการอ้างเหตุภายหลังไม่มี
โจทก์ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทุกคนรวมทั้ง ม. และ ป. ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างวันที่ 1 สิงหาคม 2551 โดยระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรงไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ เท่ากับโจทก์ประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง แม้ต่อมาโจทก์จะมีหนังสือยกเลิกการเลิกจ้างไปถึง ม. และ ป. ก่อนวันที่การเลิกจ้างมีผลก็ตาม แต่ในหนังสือดังกล่าวอ้างเหตุจำเป็นต้องจ้าง ม. และ ป. ต่อไปเพื่อดำเนินงานบางส่วนให้แล้วเสร็จ มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และลูกค้าของโจทก์ โดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอนตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2551 อันมีลักษณะเป็นการจ้างทำงานต่อเพื่อให้งานที่มีอยู่ก่อนปิดกิจการเสร็จไปเท่านั้น เหตุผลในการเลิกจ้าง ม. และ ป. เมื่อครบระยะเวลาจ้างต่อจึงยังคงเป็นเหตุเดิมคือเหตุปิดกิจการนั่นเอง ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเพิ่งทราบภายหลังการประกาศเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดว่าเครื่องจักรของโจทก์หายไปและเชื่อว่า ม. กับ ป. มีส่วนในการลักเครื่องจักร เป็นการพ้นวิสัยที่จะแจ้งเหตุเลิกจ้างว่าจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง กรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องแจ้งเหตุเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างนั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ยังอยู่ในช่วงเวลาก่อนวันที่มีผลเป็นการเลิกจ้างวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และก่อนสิ้นระยะเวลาที่โจทก์จ้าง ม. กับ ป. ให้ทำงานต่อ จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์อาจแจ้งเหตุเลิกจ้างใหม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุเลิกจ้างใหม่ให้ ม. และ ป. ทราบในขณะเลิกจ้าง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างในภายหลังเพื่อที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ม. และ ป. ได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเลิกจ้างที่มีการจ่ายเงินชดเชย ไม่ขัดต่อกฎหมาย และมีผลผูกพันลูกจ้าง
เอกสารซึ่งมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้รับทราบการเลิกจ้างเป็นหนังสือจากจำเลยแล้ว และยังทราบว่าจำเลยตกลงจ่ายเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายต่าง ๆ จำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ แม้ในขณะนั้น โจทก์ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ก็ตาม แต่โจทก์ก็มีอิสระที่จะตัดสินใจได้โดยไม่อยู่ในภาวะที่จะต้องเกรงกลัวจำเลย หรือถูกบีบบังคับให้รับเงินต่าง ๆ ตามที่จำเลยเสนอให้ โดยโจทก์สามารถเลือกได้อย่างอิสระว่าจะตกลงยอมรับเงินจำนวนดังกล่าว หรือไม่ตกลงยอมรับแล้วไปใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายจากจำเลยในภายหลัง ข้อตกลงที่โจทก์ยอมรับว่าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ทั้งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับและผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบนายจ้างต่ออุบัติเหตุลูกจ้างขณะปฏิบัติงานนอกเส้นทางเพื่อแก้ไขความผิดพลาดของตนเอง
ลูกจ้างที่ประสบอันตรายและจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 5 ต้องเป็นลูกจ้างที่ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์ขับรถบรรทุกไปส่งวัสดุก่อสร้างที่บ้านของลูกค้านายจ้างแล้วขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อไปยืมเงินเพื่อนบิดาของโจทก์ ทำให้รถของนายจ้างติดหล่ม โจทก์จึงขับรถจักรยานยนต์ไปตามเพื่อนมาช่วยยกรถที่ติดหล่ม และประสบอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์อื่นที่วิ่งตัดหน้าในระหว่างที่ขับรถจักรยานยนต์ไปตามเพื่อนจนทำให้ตาขวาของโจทก์บอดสนิท สมองช้ำ นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขับรถของนายจ้างไปทำธุระส่วนตัวอันเป็นการกระทำนอกทางการที่จ้าง เมื่อโจทก์ขับรถของนายจ้างไปติดหล่มย่อมเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่โจทก์จะต้องแก้ไขความผิดพลาดอันเกิดจากการกระทำของตนเองและจำเป็นต้องจัดการเอารถของนายจ้างขึ้นจากหล่มให้ได้เพื่อปกปิดมิให้นายจ้างทราบว่าตนเองขับรถของนายจ้างออกนอกเส้นทางไปทำธุระส่วนตัว โดยนายจ้างไม่ทราบว่าโจทก์แอบขับรถของนายจ้างไปทำธุระส่วนตัวนอกทางการที่จ้าง ดังนี้ การประสบอุบัติเหตุของโจทก์เพราะสาเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการประสบอันตรายตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
of 223