คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหาและการผัดฟ้องเกินกำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหาที่ถูกจังไว้ได้มีกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้ดำเนินคดีล่าช้าและผู้ต้องหาอาจถูกควบคุมไว้นายเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้ผู้ร้องแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา ในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และสอบคำให้การผู้ต้องหาไว้แล้ว อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจับผู้ต้องหาแล้ว ผู้ร้องจึงต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องผู้ต้องหาภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง หากไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้อง ต้องขอผัดฟ้องต่อศาล เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผัดฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรและการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา23ชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา24หรือมาตรา71(1)แล้วแต่กรณีโดยถือตามแนวทางปฎิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.5/2527ลงวันที่20พฤศจิกายน2527ข้อ3แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็เป็นแนวทางปฎิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา71(1)สำหรับกรณีของโจทก์ปรากฎว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี2533โจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่คำบังคับ: กำหนดเวลา 15 วัน และเหตุสุดวิสัย
คดีนี้ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่ 29 พฤษภาคม 2538 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 26กันยายน 2538 จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว แม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี 2529 แล้วก่อนฟ้องซึ่งโจทก์ทราบดี โดยจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้ อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้ว แต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ได้ ถือว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องแจ้งเหตุล่าช้าโดยละเอียดและชัดเจน หากไม่แจ้งเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถยื่นภายในกำหนด ศาลอาจไม่รับคำขอ
คดีนี้ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับไว้ณภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตามคำสั่งศาลซึ่งให้มีผลบังคับทันทีในวันที่29พฤษภาคม2538จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่วันที่26กันยายน2538จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา15วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้วแม้จำเลยจะอ้างในคำขอพิจารณาใหม่ว่าจำเลยได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ปี2529แล้วก่อนฟ้องซึ่งโจทก์ทราบดีโดยจำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด15วันนับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แม้เหตุที่ยื่นคำขอล่าช้าจะได้กล่าวไว้ในคำขอให้พิจารณาใหม่แล้วแต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่เมื่อใดเพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใดจึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด15วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ได้ถือว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณีอื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดผลของหมายอายัดเช็คเมื่อไม่ได้ดำเนินการบังคับคดีตามกำหนด
ภายหลังที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลไต่สวนบริษัท ย.ที่ปฏิเสธนำเงินตามเช็คมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ ดังนั้นหมายอายัดเช็คตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณานั้น ย่อมยกเลิกไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 260 (2) การที่โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น โดยอ้างว่าอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ยื่นไม่พ้นกำหนดเวลา 1 เดือน ตามกฎหมายนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเช็คชั่วคราวและการบังคับคดี: การไม่ดำเนินการตามกำหนดทำให้หมายอายัดสิ้นผล
ภายหลังที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลไต่สวนบริษัทย.ที่ปฏิเสธนำเงินตามเช็คมาวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีต่อไปภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ ดังนั้นหมายอายัดเช็คตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณานั้น ย่อมยกเลิกไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2)การที่โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น โดยอ้างว่าอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ยื่นไม่พ้นกำหนดเวลา1 เดือน ตามกฎหมายนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมดสิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือ คำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 146
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่1ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่13พฤศจิกายน2535การที่ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาดแต่ไม่มาดูแลการขายต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13พฤศจิกายน2535ดังกล่าวด้วยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่3ธันวาคม2535จึงเกินสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเยาวชน: เกณฑ์การกำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี และข้อยกเว้นกำหนดเวลาฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วย แต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนฯ และกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: กรณีพนักงานสอบสวนในเขตอำนาจศาล
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวและคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วพนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วยแต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้วแม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตามกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่และหากพนักงานอัยการมีเหตุ จำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับถูกแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
of 99