พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการขนส่ง หากมีส่วนร่วมในการขนส่งและเกิดความเสียหาย
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าตามฟ้อง เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ย่อมต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามหนังสือรับช่วงสิทธิที่ผู้เอาประกันภัยออกให้แก่โจทก์มีข้อความว่า ผู้เอาประกันภัยได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ และตกลงโอนสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากความเสียหายและสูญหายของสินค้าตามฟ้องให้แก่โจทก์ ย่อมฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายและสูญหายของสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายและสูญหายของสินค้าที่รับประกันภัยไว้โดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องหรือไม่ นั้น ในส่วนของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าเกษตรกรรม ทั้งคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการรับขนของเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ นอกจากเอกสารซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ประเภทรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง ในส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น ท. ผู้จัดการของจำเลยที่ 2 พยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความรับว่า รับขนสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ได้รับการติดต่อจากจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าตามฟ้องให้ไปร่วมขนส่งสินค้า แต่ ท. อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าจึงสอบถาม อ. โดย อ.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อ. จึงไปติดต่อนำรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มารับขนสินค้า คนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรับขนสินค้าตามฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เองว่า เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งเหตุแล้วได้นำรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งมาแบ่งขนสินค้าไปส่งยังคลังสินค้าของผู้เอาประกันภัย ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการขนส่งสินค้ารายนี้ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องรับผิดชอบจัดหารถไปช่วยขนสินค้าไปยังที่หมายปลายทางตามสัญญาว่าจ้าง ทั้ง ท. เบิกความรับว่า หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมได้ชำระค่าว่าจ้างขนส่งให้แก่จำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนส่งเพื่อทางการค้าเป็นปกติ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง เมื่อสินค้าที่รับขนเกิดความเสียหายสูญหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดกับจำเลยร่วมอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องหรือไม่ นั้น ในส่วนของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าเกษตรกรรม ทั้งคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการรับขนของเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติ นอกจากเอกสารซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการขนส่ง ประเภทรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง ในส่วนของจำเลยที่ 2 นั้น ท. ผู้จัดการของจำเลยที่ 2 พยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความรับว่า รับขนสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ได้รับการติดต่อจากจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าตามฟ้องให้ไปร่วมขนส่งสินค้า แต่ ท. อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าจึงสอบถาม อ. โดย อ.ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อ. จึงไปติดต่อนำรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มารับขนสินค้า คนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุก็ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรับขนสินค้าตามฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามคำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เองว่า เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งเหตุแล้วได้นำรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งมาแบ่งขนสินค้าไปส่งยังคลังสินค้าของผู้เอาประกันภัย ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการขนส่งสินค้ารายนี้ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องรับผิดชอบจัดหารถไปช่วยขนสินค้าไปยังที่หมายปลายทางตามสัญญาว่าจ้าง ทั้ง ท. เบิกความรับว่า หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมได้ชำระค่าว่าจ้างขนส่งให้แก่จำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนส่งเพื่อทางการค้าเป็นปกติ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้อง เมื่อสินค้าที่รับขนเกิดความเสียหายสูญหายในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดกับจำเลยร่วมอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีสินค้าสูญหายจากการส่งมอบผิดพลาด การจำกัดความรับผิดไม่อาจใช้ได้หากเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
คดีนี้จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำการตามข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เพียงแต่ให้การว่าจำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับขนทางอากาศไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีจึงถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์ว่าผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าพิพาทเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองที่ปลายทางนำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่ผู้รับตราส่ง และไม่ตรงตามสถานที่ส่งมอบที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศ ที่จำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ว่าผู้ส่งระบุที่อยู่ของผู้รับตราส่งผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสินค้าไปส่งผิดสถานที่ ก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การนอกประเด็น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง เมื่อคดีรับฟังได้ดังกล่าวถือได้ว่าผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าพิพาท อันเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองและลูกจ้างซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 บัญญัติว่า "ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ" ดังนั้น แม้จำเลยจะมีเงื่อนไขจำกัดความผิดในความสูญหายของสินค้าไว้ที่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศก็ไม่อาจนำเงื่อนไขความรับผิดในการขนส่งทางอากาศดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การกระทำละเมิดต่อผู้ส่งสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันทางละเมิดจากการใช้รถเช่าซื้อในธุรกิจขนส่ง
จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปจากจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นเพียงผู้เช่าซื้อก็สามารถนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปยื่นขอใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ การที่จำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปใช้ในการประกอบการขนส่งและใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลของจำเลยที่ 4 ในขณะเกิดเหตุโดยจำเลยที่ 4 มิได้ทักท้วงหรือแจ้งถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว ทั้งรถคันเกิดเหตุมีป้ายวงกลมซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 4 ติดอยู่ที่หน้ากระจกรถด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่งโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ เมื่อขณะเกิดเหตุกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 ได้กระทำในทางการที่จ้างและในธุรกิจประกอบการขนส่งของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8304/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างขนส่งต่อความเสียหายจากพฤติกรรมทุจริตของคนขับรถ
โจทก์ซื้อขายเหล็กจากบริษัท ร. โจทก์จึงเป็นเจ้าของเหล็กเมื่อ ส. ได้แสดงตนว่าเป็นพนักงานของจำเลยและไปรับเหล็กดังกล่าวซึ่งโจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งแล้วแต่ไม่นำเหล็กไปส่งให้โจทก์ตามที่ได้ว่าจ้างกันไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ส. เป็นพนักงานขับรถยนต์บรรทุกเหล็กซึ่งเป็นรถที่แล่นร่วมกับบริษัทจำเลยกระทำการยักยอกเหล็กของโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
ส. เป็นพนักงานขับรถยนต์บรรทุกเหล็กซึ่งเป็นรถที่แล่นร่วมกับบริษัทจำเลยกระทำการยักยอกเหล็กของโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน กรณีประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และช่วยเหลือคนต่างด้าว
การที่จำเลยขับรถยนต์กระบะโดยสารขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งตั้งแต่จำเลยขับรถรับคนโดยสาร และการที่จำเลยรับคนต่างด้าวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นการช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม แม้เหตุการณ์ที่จำเลยถูกจับกุมจะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันกับการกระทำความผิดฐานแรกก็ตาม แต่ลักษณะแห่งการกระทำสามารถแยกส่วนจากกันได้ จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้บริการขนส่งเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีลักษณะเป็นการรับขนส่งเพื่อบำเหน็จที่เป็นค่าระวางพาหนะ
ป.รัษฎากรมิได้บัญญัติว่า การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรหมายความว่าอย่างไร จึงต้องถือความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และมาตรา 610 จากบทบัญญัติดังกล่าว การให้บริการขนส่งจึงหมายถึงการรับขนส่งของหรือคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อบำเหน็จคือค่าระวางพาหนะเป็นทางค้าปกติของผู้ขนส่ง ฉะนั้น หากบำเหน็จที่ได้รับมิใช่ค่าระวางพาหนะแล้ว การให้บริการนั้นก็ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่ง ซึ่งค่าระวางพาหนะจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งเป็นสำคัญ เมื่อบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าเป็นค่าตอบแทนการที่โจทก์ส่งพนักงานไปส่งเอกสารให้ลูกค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงในสัญญาจ้างบริการโดยมิได้คำนึงถึงระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งในแต่ละคราวเป็นสำคัญ ค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าระวางพาหนะ การให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่งอันจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) แม้จะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีของสูญหาย และการจำกัดความรับผิดที่ไม่เป็นผลผูกพัน
เมื่อสินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยก็ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 และโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิดของจำเลย ทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วย และอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขนส่งผู้โดยสาร: ผู้ได้รับอนุญาตเดินรถไม่มีอำนาจฟ้องแทนเจ้าของสิทธิ
ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 6 วรรคสอง ได้บัญญัติให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวภายในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ได้ทำสัญญานำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารประจำทางกับ ข.ส.ม.ก. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการขนส่งผู้โดยสารตามเส้นทางต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอำนาจใด ๆ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ หรือรับมอบอำนาจจากนายทะเบียนกลางให้ฟ้องหรือดำเนินคดีแก่ผู้ที่กระทำฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ ที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ และ พ.ร.บ.รถยนต์ฯ
การกระทำที่จะเป็นละเมิดและถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลอื่นจะต้องเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อ และจากการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อผู้ถูกกระทำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง แต่โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับ ข.ส.ม.ก. เท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นของ ข.ส.ม.ก. และ ข.ส.ม.ก. มีสิทธิอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาร่วมเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทและยังเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อผู้ล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าว แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นละเมิดก็เป็นละเมิดต่อสิทธิของ ข.ส.ม.ก. ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับ ข.ส.ม.ก. อย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ข.ส.ม.ก. ต่างหาก
การกระทำที่จะเป็นละเมิดและถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลอื่นจะต้องเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อ และจากการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อผู้ถูกกระทำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง แต่โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับ ข.ส.ม.ก. เท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นของ ข.ส.ม.ก. และ ข.ส.ม.ก. มีสิทธิอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาร่วมเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทและยังเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อผู้ล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าว แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นละเมิดก็เป็นละเมิดต่อสิทธิของ ข.ส.ม.ก. ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับ ข.ส.ม.ก. อย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ข.ส.ม.ก. ต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11039/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ปฏิบัติงานในการขนถ่ายสินค้าที่ทำให้สินค้าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อ
การที่การไฟฟ้านครหลวงทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้นำสินค้าตามฟ้องออกจากตู้คอนเทนเนอร์และขนส่งรถบรรทุกไปยังคลังสินค้าของบริษัท อ. ที่จังหวัดสมุทรปราการ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทางอื่นไม่ใช่การขนส่งทางทะเลไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล มาตรา 6 ฯ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการรับขนของตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่สัญญารับขนของของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย หรือบุบสลาย หรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่จะได้พิสูจน์ได้ว่าการสูญหาย หรือบุบสลาย หรือชักช้านั้น เกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ตามสัญญารับขนของระหว่างการไฟฟ้านครหลวงกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าตามฟ้องตั้งแต่เปิดตู้คอนเทนเนอร์และเริ่มขนสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์เมื่อความเสียหายของสินค้าตามฟ้องเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าดังกล่าวอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้านั้นได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10553/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการขนส่ง-ช่วงสิทธิประกันภัย: จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายตามสภาพรถยนต์จริง
ตามหนังสือมอบอำนาจช่วง และฟ้องเดิมของโจทก์ระบุว่าฟ้อง นางสาวดารุณีเป็นจำเลยที่ 1 โดยให้รับผิดในมูลละเมิด ระบุว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 3 อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ต่อมาโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นนางดารุณีหรือนางสาวดรุณี และขอแก้ไขภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 เป็นบ้านเลขที่ 2/1 หมู่ที่ 10 ซึ่งภูมิลำเนาตามที่ขอแก้ไขตรงกับภูมิลำเนาปัจจุบันของจำเลยที่ 1 ที่ให้การระบุว่า จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ที่ 10 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยระบุว่าย้ายมาจากบ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ทำละเมิดในคดีนี้ ดังนี้จึงเป็นการแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล และภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องเดิมซึ่งเป็นจำเลยคนเดียวกัน มิใช่แก้ไขคำฟ้องโดยเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 1 จากนางสาวดารุณี เป็นนางสาวดรุณี ซึ่งเป็นคนละคนกันแต่อย่างใด อีกทั้งการที่โจทก์ระบุชื่อตัวและชื่อสกุลของจำเลยที่ 1 ในหนังสือมอบอำนาจช่วงและคำฟ้องเดิมผิดพลาดคลาดเคลื่อนนั้น ก็เป็นการสะกดชื่อตัวผิดเล็กน้อยจาก "นางสาวดรุณี" เป็น "นางสาวดารุณี" พอถือว่าเป็นชื่อเดียวกันนั้นเอง ส่วนชื่อสกุลสะกดผิดจาก "สังข์แก้ว" เป็น "สังข์ทอง" ก็ผิดเฉพาะพยางค์ท้ายเท่านั้น พยางค์หน้าเป็นคำเดียวกัน ชื่อสกุลจึงคล้ายคลึงกันมาก แสดงว่าที่ระบุชื่อตัวและชื่อสกุลจำเลยที่ 1 ผิดเกิดจากการสับสนเข้าใจผิดในชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ถือว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงถูกตัวและถูกต้องชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1