คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเสียภาษีท่อเหล็ก: สินค้าอเนกประสงค์เข้าข่ายผลิตภัณฑ์ใช้ทำเครื่องเรือนได้หรือไม่
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออก ตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำ เครื่องเรือนที่มิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของ บัญชี ที่ 1 เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติ จำกัด เฉพาะ เจาะจง ว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือน โดยเฉพาะ ท่อ เหล็ก กลมและเหลี่ยมเอนกประสงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ต่าง ๆ ยาว มาตรฐาน6 เมตร ที่โจทก์ผลิตจากเหล็กแผ่นชนิดบาง แม้ จะ ใช้ ทำของ อย่างอื่นได้ด้วยแต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำ เครื่องเรือนได้ สินค้าที่โจทก์ผลิตจึงเข้าบทบัญญัติของกฎหมาย ดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรมจำกัดเฉพาะทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้จัดการมรดกไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ จ. โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ในพินัยกรรมมีการกรอกข้อความในช่องทรัพย์สินระบุเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งหลังคำว่าอื่น ๆ ก็เว้นว่างไว้ แสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินเฉพาะที่ระบุในพินัยกรรมให้ จ. เท่านั้น ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามคำสั่งศาลสูงของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ถอนผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกในประเทศไทยของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การใช้รถยนต์ และความเสียหายจากเหตุอื่น
กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 มีข้อความว่า จำเลยที่ 3จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย ข้อความดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยแก่บุคคลภายนอกเฉพาะแต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการใช้รถคันที่เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไฟไหม้พื้นถนนของโจทก์เกิดเพราะจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยทิ้งสินค้าที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นเองบนรถที่เอาประกันภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่อุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: การจดทะเบียนตามแนวเส้นที่ใช้สัญจรได้จริงภายในขอบเขตที่ตกลงกัน
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์เดินออกสู่ถนนมีความกว้าง 2 เมตร ตามแนวเส้นสีแดงในแผนที่ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่ามีความกว้าง6 เมตร โดยไม่ได้ระบุตำแหน่งทางภาระจำยอมที่แน่นอน ดังนี้ แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนจะต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้เดินได้โดยไม่มีการขัดขวาง เมื่อจำเลยเลือกจดทะเบียนภาระจำยอมบนแนวฟุตปาทบางส่วนและบนถนนบางส่วน โดยมีเสาไฟฟ้าและซุ้มต้นไม้บนฟุตปาท บางตอนโจทก์ใช้เดินไม่ได้ต้องลงไปเดินบนถนน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ย้ายไปจดทะเบียนภาระจำยอมบนถนนที่ใช้เดินได้โดยเริ่มจากขอบถนนออกไป 2 เมตร ซึ่งยังอยู่ภายในแนวเส้นสีแดงได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนี-ประนอมยอมความหรือเพิ่มภาระแก่ภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การสลักหลังไม่ขาดสาย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการนำสืบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตั๋วเสีย ทั้งมีการสลักหลังไม่ขาดสาย โจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็ค จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ให้การว่า โจทก์มิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใด จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
จำเลยให้การว่า มิได้สลักหลังเช็คพิพาท แต่กลับนำสืบว่า จำเลยสลักหลังเช็คเพียงเพื่อแสดงว่าเช็คพิพาทผ่านห้างหุ้นส่วนมา มิใช่สลักหลังเพื่อรับผิดนั้น จึงเป็นการสืบนอกเหนือและขัดกับคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแพ่ง: ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้
โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา อันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก หมายความว่าฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลจึงจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาได้ โจทก์ในฐานะนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเนื่องจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและไม่มีความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา และฟ้องแย้งว่า โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนภาคทัณฑ์ และทำทัณฑ์บนแก่จำเลยทั้งสามตามลำดับ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ทำให้จำเลยต้องเสียเงินว่าจ้างทนายความมาต่อสู้คดี แม้ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามกล่าวอ้างว่าการสอบสวนและลงโทษทางวินัยต่อจำเลยทั้งสามเป็นการไม่ถูกต้องเพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาอันเป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามในคดีนี้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้รับฟ้องแย้งส่วนที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน อันได้แก่ค่าขาดรายได้จากการไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างทนายความ ซึ่งปัญหาที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถูกลงโทษทางวินัยแล้วจะไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2534 จริงหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังต้องพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่ฟ้องเรียกเงินค่าว่าจ้างทนายความมาว่าความในคดีนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในชั้นอุทธรณ์และขอบเขตการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งทรัพย์ที่ปล้นมาหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดดังนี้ ข้อหาปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย เป็นการพิพากษาเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 215.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6175/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์: ปัญหาข้อกฎหมายกับการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
การกระทำอย่างไรหรือคำพูดอย่างไรที่รับฟังเป็นยุติแล้วจะเป็นความผิดตามกฎหมายบทมาตราใดหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดจึงเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย หาใช่เป็นการโต้แย้งให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องซึ่งฟังยุติแล้ว อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ความเสียหายต้องเกิดจากการทำงานในหน้าที่เท่านั้น
จำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในธนาคารแล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกง ยักยอก หรือทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือสูญเสียทรัพย์สินไม่ว่าด้วยประการใด ๆจำเลยที่ 2 ตกลงชดใช้เงินให้แก่ธนาคาร" ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนี้ย่อมหมายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดจากการทำงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลความสงบและความปลอดภัยภายในธนาคาร ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้ลูกค้าของโจทก์ลงชื่อในใบถอนเงินและเป็นผู้ถอนเงินไป ก็เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย.
of 66