คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน โดยมีข้อตกลงล่วงหน้าและบอกกล่าวการโอนสิทธิ
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัทง. จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง. ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคแรก เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง. กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง. โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง. มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าซื้อ การบอกกล่าวการโอนสิทธิ และข้อตกลงการโอนสิทธิโดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัทง. จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง. ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคแรก เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง. กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง. โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง. มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย, การอนุมัติสินเชื่อ, ข้อตกลงเพิ่มเติม, สิทธิในการเรียกร้องเงินมัดจำ
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า ส่วนเงินที่เหลืออีก 1,850,000 บาท จะจ่ายในเมื่อทางธนาคารอนุมัติให้ ไม่ได้กำหนดให้เห็นต่อไปว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้จะมีผลเป็นอย่างไร การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
โจทก์ประกอบอาชีพเสริมสวย ไม่มีร้านเป็นของตนเอง เหตุที่ต้องการซื้อตึกแถวจากจำเลยก็เพราะร้านเสริมสวยที่ทำอยู่จะหมดสัญญาเช่า เงิน 150,000 บาท ที่วางมัดจำให้จำเลยไว้ก็เป็นเงินที่ยืมมาจากมารดา ในขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ติดต่อกับธนาคารยังไม่แน่ว่าธนาคารจะให้กู้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด โดยปกติการทำสัญญาจะซื้อขายผู้ซื้อจะเอาเงินมาจากที่ใดเป็นเรื่องของผู้ซื้อเอง ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในสัญญา แต่สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทนี้เขียนไว้ว่าเงินที่เหลืออีก 1,850,000 บาท จะจ่ายในเมื่อธนาคารอนุมัติให้แสดงว่าได้มีการพูดถึงเรื่องเงินที่จะนำมาจ่ายครั้งต่อไปกันไว้แล้วว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวแล้วสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกัน ต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนมัดจำที่ริบไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยจะริบเสียมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดและการพิสูจน์ข้อตกลงแบ่งมรดก
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สอบประการคือโดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับค.มารดาจำเลยทั้งห้าจำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่าค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัดแต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกันจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมายล.7ดังนี้ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมายล.7เป็นสัญญาแบ่งมรดกจึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อพิพาทเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ไม่ใช่เบี้ยปรับ
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 19 ต่อปีลงเป็นร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินมิใช่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จึงขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการแบ่งเงินจากการขายที่ดินและการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินที่ถือสิทธิรวมกันแบ่งขายเอากำไรสุทธิมาแบ่งกันคนละครึ่ง ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งเงินกำไรสุทธิให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงกันในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่า ให้ผู้จัดการธนาคาร ม.เป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของจำนวน 110 แปลง จำเลยมีสิทธิขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจากผู้จัดการธนาคารเท่าที่จำเป็นตามที่ลูกค้ามาขอรับโอนสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าที่ดินจากลูกค้าแล้วต้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร ม. ต่อมาจำเลยขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้จัดการธนาคารไปจำนวน 66 แปลง และจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้ลูกค้าไปจำนวน 36 แปลง โดยจำเลยได้รับเงินจำนวน 3,465,000 บาท ซึ่งจำเลยต้องนำเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ แต่จำเลยนำเข้าบัญชีเพียงบางส่วน ทั้งยังได้ถอนเงินออกไปคงเหลือเพียง 9,000 บาท ปัจจุบันมีเงินในบัญชีเพียง 3,000 บาท จำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามข้อตกลงแม้เงินดังกล่าวมิใช่เป็นเงินกำไรสุทธิที่จะนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้นำเงินจากการขายที่ดินครึ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อศาลในระหว่างการพิจารณา มิใช่นำมาแบ่งให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ กรณีมีเหตุที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณามาใช้ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากการขายที่ดินร่วมกัน และการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินที่ถือสิทธิรวมกันแบ่งขายเอากำไรสุทธิมาแบ่งกันคนละครึ่ง ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งเงินกำไรสุทธิให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงกันในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่า ให้ผู้จัดการธนาคาร ม.เป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของจำนวน 110 แปลง จำเลยมีสิทธิขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจากผู้จัดการธนาคารเท่าที่จำเป็นตามที่ลูกค้ามาขอรับโอนสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าที่ดินจากลูกค้าแล้วต้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารม. ต่อมาจำเลยขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้จัดการธนาคารไปจำนวน 66 แปลง และจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้ลูกค้าไปจำนวน 36 แปลง โดยจำเลยได้รับเงินจำนวน 3,465,000 บาท ซึ่งจำเลยต้องนำเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ แต่จำเลยนำเข้าบัญชีเพียงบางส่วน ทั้งยังได้ถอนเงินออกไปคงเหลือเพียง 9,000 บาท ปัจจุบันมีเงินในบัญชีเพียง 3,000 บาทจำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามข้อตกลงแม้เงินดังกล่าวมิใช่เป็นเงินกำไรสุทธิที่จะนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้นำเงินจากการขายที่ดินครึ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อศาลในระหว่างการพิจารณา มิใช่นำมาแบ่งให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ กรณีมีเหตุที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณามาใช้ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารโจทก์และตามสัญญาดังกล่าวข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้...ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี... ในระหว่างอายุสัญญากู้ ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ได้และหากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญานี้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เสร็จสิ้นโดยเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น" เห็นได้ว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้เป็นเพียงให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ระบุให้โจทก์แจ้งอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยที่ 1 ทราบเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้จำเลยที่ 1 ทราบ ดังนี้ การที่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกโดยสมัครใจ: มีผลผูกพันและตัดสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติม
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างสมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ซึ่งมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวง ความรับผิด ข้อเรียกร้อง และมูลคดีที่ข้าพเจ้าหรือบุคคลอื่นโดยการเรียกร้องผ่านข้าพเจ้า ซึ่งเคยมี กำลังมี หรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัท ฯลฯ ทั้งยังมีข้อความตามบันทึกอีกว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่า การที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจนั้นได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นและข้อตกลงการประกันภัย: การบังคับชำระหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญา
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นนี้ ป.พ.พ.มาตรา 655 วรรคแรกบัญญัติห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ถ้าดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่า1 ปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว หาได้บัญญัติว่าข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้กู้กับผู้ให้กู้ไม่ เมื่อข้อตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลเสียจากข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ย่อมต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องบังคับให้ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้อีก เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือที่แสดงข้อตกลงจำเลยทั้งสามในฐานะผู้กู้ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับต้นเงินได้ และยินยอมเสียดอกเบี้ยในต้นเงินใหม่ในอัตราเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยจำนวน99,828.77 บาท ที่จำเลยทั้งสามค้างชำระเป็นเวลา 1 ปี มาทบเข้ากับต้นเงิน1,100,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2537 รวมเป็นเงิน 1,199,828.77 บาทแล้วคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในต้นเงินที่มีดอกเบี้ยทบเข้าด้วย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 55922เป็นประกันหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม โดยมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันว่าผู้จำนองยินยอมจะเอาประกันอัคคีภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองตามข้อตกลงนี้ไว้กับบริษัทประกันภัยที่ผู้รับจำนองเห็นชอบ โดยผู้รับจำนองเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยตามจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองจะแจ้งให้ทราบแต่ละปี โดยผู้จำนองยินยอมเสียเงินค่าเบี้ยประกันภัยเองตลอดไปทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยดังกล่าวและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบนั้น ตามข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไป จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระคืนแก่โจทก์ ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ปี 2540 หลังจากฟ้องคดีแล้วนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชำระเบี้ยประกันภัยที่จำเลยยังไม่มีหนี้ต้องชำระและยังไม่ทราบจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่แน่นอนอีกด้วย นอกจากนี้ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ระบุจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะขอให้จำเลยชำระ จึงไม่อาจทราบว่าจำเลยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจบังคับให้ได้
of 118