พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82-86/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่คุรุสภาไม่ใช่ข้าราชการ การยักยอกเงินจึงไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่ของคุรุสภาไม่ใช่ข้าราชการ แม้ยักยอกเงินในหน้าที่ก็ไม่ใช่กระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน เงินของคุรุสภาไม่ใช่เงินงบประมาณของแผ่นดิน แม้จำเลยจะเป็นข้าราชการ แต่เมื่อเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของราชการหรืออยู่ในความรักษาของราชการ จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151 ไม่ได้ และแม้จำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 แต่ขอให้ลงโทษตามมาตรา 147,151 ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 352 ได้
ฟ้องบรรยายว่าผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพพร้อมด้วยคำแถลงซึ่งระบุว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ แสดงว่ารับสารภาพตลอดถึงเรื่องร้องทุกข์ด้วย
คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะพอใจตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยได้รับมอบหมายให้ไปรับเงินของคุรุสภาจากธนาคารออมสินเพื่อจ่ายให้แก่นางสำรวย จำเลยรับเงินแล้วยักยอกเสีย เงินก็ยังเป็นของคุรุสภาอยู่ นางสำรวยไม่ใช่ผู้เสียหายไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ให้คดีระงับไป
เจ้าหน้าที่ของผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยความว่าเงินที่จำเลยยักยอกไปนั้นทางคุรุสภาประจำจังหวัดได้รับคืนจากจำเลยแล้ว ไม่ประสงค์จะให้จำเลยได้รับโทษทางอาญาต่อไป ดังนี้ ไม่ใช่การถอนคำร้องทุกข์หรือการยอมความ
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 แต่ขอให้ลงโทษตามมาตรา 147,151 ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 352 ได้
ฟ้องบรรยายว่าผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพพร้อมด้วยคำแถลงซึ่งระบุว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ แสดงว่ารับสารภาพตลอดถึงเรื่องร้องทุกข์ด้วย
คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะพอใจตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยได้รับมอบหมายให้ไปรับเงินของคุรุสภาจากธนาคารออมสินเพื่อจ่ายให้แก่นางสำรวย จำเลยรับเงินแล้วยักยอกเสีย เงินก็ยังเป็นของคุรุสภาอยู่ นางสำรวยไม่ใช่ผู้เสียหายไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ให้คดีระงับไป
เจ้าหน้าที่ของผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยความว่าเงินที่จำเลยยักยอกไปนั้นทางคุรุสภาประจำจังหวัดได้รับคืนจากจำเลยแล้ว ไม่ประสงค์จะให้จำเลยได้รับโทษทางอาญาต่อไป ดังนี้ ไม่ใช่การถอนคำร้องทุกข์หรือการยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดสิทธิข้าราชการ: ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ใช้ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยแต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับในระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนทางกฎหมาย: ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและผู้บังคับบัญชา ไม่ถือเป็นตัวแทน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กำกับแขวงการทางและมีหน้าที่รับเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับราชการแขวงการทางด้วยจำเลยที่ 1 เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ไป เพื่อชำระค่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อจากโจทก์มาใช้ในราชการแขวงการทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินเสียดังนี้ ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 ก็เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบราชการ จำเลยที่ 1 หาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่จะนำกฎหมายเรื่องตัวการตัวแทนมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ข้าราชการกับหน่วยงานรัฐเป็นผลจากกฎหมายปกครอง ไม่ใช่สัญญา การละเมิดจึงอายุความ 1 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทะบวงกรมนั้น มีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นต้น หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปเพราะผลของนิติกรรมสัญญา เช่น จ้างแรงงาน ไม่ (นัยคำพิพากษา ฎีกาที่ 123/2504)
การที่ข้าราชการประมาทเลินเล่อทำให้กระทรวงทะบวงกรมเสียหาย จึงเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่เรื่องให้ตัวแทนรับผิดตามมาตรา 812 ฉะนั้น อายุความจึงมี 1 ปี นับแต่ทราบถึงการละเมิดตามมาตรา 448 ตาม นัยคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น
การที่ข้าราชการประมาทเลินเล่อทำให้กระทรวงทะบวงกรมเสียหาย จึงเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่เรื่องให้ตัวแทนรับผิดตามมาตรา 812 ฉะนั้น อายุความจึงมี 1 ปี นับแต่ทราบถึงการละเมิดตามมาตรา 448 ตาม นัยคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ข้าราชการกับหน่วยงานรัฐเป็นไปตามกฎหมายปกครอง ไม่ใช่สัญญาจ้าง การละเมิดจึงมีอายุความ 1 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทบวงกรมนั้นมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นต้น หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปเพราะผลของนิติกรรมสัญญา เช่น จ้างแรงงาน ไม่(นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 123/2504)
การที่ข้าราชการประมาทเลินเล่อทำให้กระทรวงทบวงกรมเสียหายจึงเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา420 มิใช่เรื่องให้ตัวแทนรับผิดตามมาตรา 812 ฉะนั้นอายุความจึงมี 1 ปี นับแต่ทราบถึงการละเมิดตามมาตรา448 ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น
การที่ข้าราชการประมาทเลินเล่อทำให้กระทรวงทบวงกรมเสียหายจึงเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา420 มิใช่เรื่องให้ตัวแทนรับผิดตามมาตรา 812 ฉะนั้นอายุความจึงมี 1 ปี นับแต่ทราบถึงการละเมิดตามมาตรา448 ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ กรณีประมาทเลินเล่อในการรักษาเงินของทางราชการและการปฏิบัติตามคำสั่ง
กรณีข้าราชการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินของทางราชการถูกยักยอกไป อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รับทราบรายงานการสอบสวนว่าจำเลยต้องรับผิด
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกิน ให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัด แต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนดจำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นายคุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุไว้ชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบ แต่จำเลย ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาแทนนายอำเภอได้ มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นาย นั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นายร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยุ่นอกห้องสรรพกรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเข้าไปส่งแต่เพียงผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายในนำส่งและเขียนขึ้นมาใหม่ เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมา แล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 71, 72, 79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้น ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1, 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกิน ให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัด แต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนดจำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นายคุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุไว้ชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบ แต่จำเลย ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาแทนนายอำเภอได้ มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นาย นั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นายร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยุ่นอกห้องสรรพกรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเข้าไปส่งแต่เพียงผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายในนำส่งและเขียนขึ้นมาใหม่ เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมา แล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 71, 72, 79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้น ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1, 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการต่อความเสียหายจากเงินถูกยักยอก กรณีละเลยคำสั่งและหน้าที่
กรณีข้าราชการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินของทางราชการถูกยักยอกไป อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รับทราบรายงานการสอบสวนว่าจำเลยต้องรับผิด
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกินให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัดแต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ ได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด จำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นาย คุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาการแทนนายอำเภอได้มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นายนั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นาย ร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยู่นอกห้องสรรพากรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเงินเข้าไปส่งผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายใบนำส่งและเขียนขึ้นใหม่เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมาแล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา71,72,79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1,2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกินให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัดแต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ ได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด จำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นาย คุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาการแทนนายอำเภอได้มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นายนั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นาย ร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยู่นอกห้องสรรพากรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเงินเข้าไปส่งผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายใบนำส่งและเขียนขึ้นใหม่เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมาแล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา71,72,79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1,2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน กับ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวข้าราชการฯ และพนักงานรัฐ
ผู้ที่ถูกบังคับให้ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น ต้องมีบัตรติดตัวหรือเก็บไว้ในลักษณะที่จะแสดงได้เสมอตามความในมาตรา 10 และ ถ้าฝ่าฝืนก็ถูกลงโทษแต่ไม่บังคับแก่ผู้ที่มีบัตรประจำตัวข้าราชการฯลฯ และพนักงานองค์การแห่งรัฐ เพราะความเช่นนั้น ไม่มีบัญญัติไว้ พระราชบัญญัติ 2 ฉบับข้างบน แยกต่างหากจากกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน กับข้าราชการและพนักงานรัฐ
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนมาตรา 10 บังคับว่า บุคคลซึ่งต้องมีบัตรประจำตัว ต้องมีบัตรติดตัดหรือเก็บไว้ในลักษณะซึ่งจะแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอในเมื่อเรียกร้องให้แสดง ฯลฯ ถ้าฝ่าฝืนก็ถูกลงโทษ แต่ไม่บังคับแก่ผู้ที่มีบัตรประจำตัวข้าราชการ ฯลฯ และพนักงานองค์การแห่งรัฐเพราะความเช่นนั้น ไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ฯลฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งย้ายและมอบหมายหน้าที่ข้าราชการของ ผู้ว่าราชการจังหวัด และความผิดฐานยักยอกเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งย้ายจำเลยไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอตรีประจำอำเภอเมือง พร้อมกันนั้นก็ได้สั่งให้จำเลยคงทำงานเป็นผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัดอยู่ ณ ที่เก่า มีหน้าที่รับเงินอากรการฆ่าสัตว์ที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้นนำส่งแผนกมหาดไทย เพื่อนำฝากคลังตามระเบียบ ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยรับเงินประเภทดังกล่าวนั้นแล้ว นำไปหาผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่นำฝากคลัง ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ตามที่แก้ไข