พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีอาญาเช็คกับคดีแพ่งสัญญา กู้เงิน ประเด็นอยู่ที่เหตุแห่งการวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำผิดอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ซึ่งมีประเด็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญา ขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ คดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า สัญญากู้มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจึงฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายพิพากษายกฟ้องแต่คดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์หรือไม่จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้แล้ว จึงมิใช่ประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาคดีอาญา การฟ้องล้มละลาย และการเรียกดอกเบี้ย
คำพิพากษาในคดีอาญาที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 34,922 บาท จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกคือส่งมอบทรัพย์คืนให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ส่งมอบทรัพย์และโจทก์ไม่สามารถบังคับคดีให้จำเลยทั้งสองร่วมส่งมอบทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยทั้งสองใช้ราคาทรัพย์จำนวน 34,922 บาท หนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์ ส่วนหนี้เงินจำนวน 34,922 บาท ตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน อีกทั้งคำพิพากษาในคดีอาญานั้นก็มิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดในกรณีที่ใช้ราคาทรัพย์ แม้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 แต่การเรียกดอกเบี้ยตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้ต้องเสียหายที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้เมื่อฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิดังกล่าว มิใช่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวน 34,922 บาท จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำขอไปก่อน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ แต่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษต่อให้เพราะคดีดังกล่าวยังไม่ได้พิพากษา เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษต่อโดยอ้างว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโดยจำคุกจำเลยรวม10 ปี จำเลยไม่ได้แก้ฎีกาหรือฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่าคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: การแยกคดีอาญาและแพ่งจากคดีเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ จำเลยได้ขอสละข้อต่อสู้ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกคดีอาญาและแพ่งออกจากกัน การฟ้องซ้ำ และประเด็นความแตกต่างของคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องคดีทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาโจทก์จึงได้ถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องของคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นเข้ามาใหม่ยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง ไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้นการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับส่วนอาญาตามมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214-6216/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในคดีอาญาต้องมีเหตุอันควร ศาลมีอำนาจพิจารณาโทษและนับโทษตามคำขอ
ในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตาม แต่การขอแก้ไขคำให้การจำเลยสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ไขได้ การที่จำเลยยื่นคำให้การใหม่โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องของโจทก์ซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขคำให้การเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การแล้วจึงพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกันแม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกันจึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
โจทก์แยกฟ้องคดีเป็นสามสำนวนและมิได้ขอให้นับโทษติดต่อกันแม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ศาลพิพากษาให้นับโทษแต่ละสำนวนต่อกันจึงเป็นการเกินคำขอไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์และฎีกาของผู้เสียหายในคดีอาญา: การยุติสิทธิเมื่อไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ส่วนฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนโจทก์ร่วมมีสิทธิอุทธรณ์ฐานความผิดนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาขอไม่ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในคดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 54 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อ
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลในคดีอาญา: สิทธิอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 54(2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำให้การรับสารภาพในคดีอาญาต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีสิทธิไม่รับฟัง
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะบัญญัติรับรองสิทธิพื้นฐานของบุคคลผู้ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไว้หลายประการกล่าวคือให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งให้สิทธิแก่จำเลยที่จะให้การต่อศาลหรือไม่ให้การก็ได้ แต่ในกรณีที่จำเลยให้การต่อศาลแล้วหากประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การนั้น จำเลยจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 163 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างว่าเป็นเหตุผลอันสมควรหรือไม่
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้ และได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาหลายครั้ง เพื่อให้โอกาสจำเลยบรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยกลับผัดผ่อนตลอดมา จนในที่สุดจำเลยได้ยื่นคำให้การขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้อง โดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ จึงต้องถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ เมื่อข้อหาตามฟ้อง ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปจึงชอบแล้ว
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้ และได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาหลายครั้ง เพื่อให้โอกาสจำเลยบรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยกลับผัดผ่อนตลอดมา จนในที่สุดจำเลยได้ยื่นคำให้การขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้อง โดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ จึงต้องถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ เมื่อข้อหาตามฟ้อง ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปจึงชอบแล้ว