พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดิน สินบริคณห์ และความยินยอมในการทำนิติกรรม การสัตยาบันหนี้ และการดำเนินกระบวนพิจารณา
การที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์และผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่ไปศาลตามนัดโดยศาลมิได้สั่งงดสืบพยาน ศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดระเบียบ
เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย
คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่
การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง
เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย
คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่
การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวของคู่สมรสที่ทำไปโดยความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา1462 1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา1462 1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างบนที่ดินโดยความยินยอมของผู้เยาว์: บ้านไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน
ส. บิดาผู้ร้องปลูกบ้านโดย ใช้ เงินของ ส. และจำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้ร้องลงในที่ดินผู้ร้องซึ่ง ขณะปลูกนั้นผู้ร้องอายุไม่เกิน ๗ ปี เพื่อใช้ เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน พอถือได้ว่าปลูกโดยผู้ร้องทั้งสามรู้เห็นยินยอมด้วย กรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๙ บ้านพิพาทจึงไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินอันจะถือว่าเป็นของผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์บ้านพิพาทที่โจทก์นำยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำไม่เข้าข่ายฉ้อโกงและทำลายเอกสาร เนื่องจากความยินยอมเริ่มแรกและเอกสารเป็นของผู้กระทำ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เงินมาตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 1 ให้คำรับรองว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะเปลี่ยน น.ส.3 ให้โจทก์และจะค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุการณ์ในภายหน้าที่จำเลยที่ 1 รับจะดำเนินการดังกล่าวให้ หากโจทก์ไม่พอใจในหลักประกัน แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่เปลี่ยนน.ส.3 และไม่ยอมค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่1 ไม่ปฏิบัติตามคำรับรองที่ให้ไว้แก่โจทก์เท่านั้น จำเลยที่1 ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 จะต้องเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น โจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เอาไปจากโจทก์ เป็นของจำเลยที่ 2 และที่3 เองจึงมิใช่เป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว.
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 จะต้องเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น โจทก์บรรยายฟ้องว่า น.ส.3ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เอาไปจากโจทก์ เป็นของจำเลยที่ 2 และที่3 เองจึงมิใช่เป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: อำนาจปกครองของมารดา, ความยินยอม, และการกระทำชำเรา
ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ ไปอยู่กับญาติซึ่งบ้านอยู่ใกล้กันไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้เสียหายทะเลาะกับมารดา หรือมารดานำไปฝาก ก็ไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การที่ญาติของผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลยแล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย และทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราผู้เยาว์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง ถือเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร
ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ ไปอยู่กับญาติซึ่งบ้านอยู่ใกล้กันไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้เสียหายทะเลาะกับมารดา หรือมารดานำไปฝากก็ไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การที่ญาติของผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายไปเอาหม้อยากับจำเลย แล้วจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย และทำให้กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่สุจริต
ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการยกให้โดยเสน่หาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์นั้น หากต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1ได้นำเอาสินสมรสนั้นไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ผู้เป็นสามี และโจทก์ก็มิได้ให้สัตยาบัน ในเรื่องอำนาจของโจทก์ที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมขายฝากนั้น ไม่พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 และมาตรา 137 วรรคสองซึ่งยกเลิกไปแล้ว แต่ต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1480 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาปรับ โดยต้องพิจารณาว่าในขณะทำนิติกรรมขายฝากจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723-5724/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยความยินยอมของผู้อื่น และความรับผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับ โดยมีนาง ก.ภรรยาจำเลยเป็นผู้กรอกวัน เดือน ปี และจำนวนเงินในเช็คดังกล่าวด้วยความยินยอมเห็นชอบของจำเลย กรณีต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้ เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนไม่ได้ขอให้พิพากษานับโทษของจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษติดต่อกันให้ไม่ได้
ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนไม่ได้ขอให้พิพากษานับโทษของจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษติดต่อกันให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารที่ส่งต่อศาลโดยความยินยอมของคู่ความ ไม่ถือเป็นพยานที่จำเลยอ้าง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันว่าก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง จำเลยจะนำเอกสารของธนาคารออมสินเสนอต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาประกอบ โจทก์แถลงเห็นชอบด้วยต่อมาจำเลยส่งเอกสารดังกล่าว โจทก์แถลงรับรองว่าสำเนาเอกสารและข้อความถูกต้อง นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่ธนาคารออมสินส่งมาตามหมายเรียกซึ่งศาลออกตามคำร้องขอของโจทก์ และเมื่อโจทก์ตรวจดูแล้วก็ว่าใช่เอกสารที่อ้าง ดังนี้เอกสารดังกล่าวจึงหาใช่เอกสารที่จำเลยอ้างเป็นพยานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเช่าช่วงและการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาเดิม
ข้อความตามสัญญาเช่าช่วงที่ระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดนั้น เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงไม่เกี่ยวกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเดิม ผู้เช่าและโจทก์ผู้ให้เช่าเดิมจะทำการโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่กันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับยินยอมเป็นหนังสือจากจำเลยโดยชัดแจ้ง และการโอนจะต้องทำเป็นหนังสือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306การตั้งตัวแทนเพื่อการโอนดังกล่าวจึงต้องกระทำเป็นหนังสือด้วย
เมื่อไม่ได้ความว่า ผู้เช่าได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าช่วงแก่โจทก์ผู้ให้เช่าเดิม การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญาเช่าช่วงต่ออนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบจะนำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามมิได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
เมื่อไม่ได้ความว่า ผู้เช่าได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าช่วงแก่โจทก์ผู้ให้เช่าเดิม การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญาเช่าช่วงต่ออนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบจะนำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามมิได้.(ที่มา-ส่งเสริม)