พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย การโต้แย้งต้องทำภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำสั่ง
ลูกหนี้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินไม่ต้องล้มละลาย มิได้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ตรงกับรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลไม่ตรงกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ตรงต่อข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้าหนี้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 61 จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เป็นการโต้แย้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดี มีสภาพบังคับและมีความหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษา ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 6 เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะโต้แย้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่ง: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเมื่อมิได้เสียค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วน
การที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไรบ้างนั้น จะดูเพียงหัวเรื่องที่หน้าอุทธรณ์ว่าอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา เพียงอย่างเดียวไม่ได้เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยได้แยกเป็นข้อ ก. ปัญหาข้อเท็จจริงข้อข.ปัญหาข้อกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ได้บรรยายว่า ตามที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยไม่ชอบด้วยเหตุผลและเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะพยานที่ศาลชั้นต้นสั่ง ตัดนั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคดีและได้กล่าวถึง ข้อที่ พยานเหล่านั้นจะมาเบิกความเกี่ยวกับประเด็นในคดีอย่างไรดังนี้ เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่ง ตัดพยานจำเลยแล้ว และเป็นการอุทธรณ์ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย จำเลยจึงคงเสียค่าขึ้นศาลแต่เพียงใน คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจ รับพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากข้อบังคับทำงานที่ไม่ชัดเจนและการไม่ลงชื่อรับทราบผลงาน
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างไม่พึงทำงานต่ำกว่า เกณฑ์ทำงานขั้นต่ำแต่ละวัน หากลูกจ้างคนใดทำงานต่ำกว่าเกณฑ์จำเลยมีสิทธิตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีสิทธิให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบผลงานและรับทราบการตักเตือนซึ่งอาจเป็นการตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงาน หรือตักเตือนเพื่อเป็นการลงโทษแล้วแต่กรณีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวิสัยของลูกจ้างทั่วไปกระทำได้เพราะไม่ปรากฏว่ามีลูกจ้างอื่นทำไม่ได้ นอกจากโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป้าหมายของเกณฑ์ขั้นต่ำหรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่จะให้ลูกจ้างทำงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งการว่ากล่าวตักเตือนลูกจ้างการให้ลงชื่อรับทราบผลงานเป็นสิทธิทั่วไปที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้การที่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบสรุปผลงานตามข้อบังคับ ของจำเลยเมื่อ ปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'นายจ้าง ต้องเรียกลูกจ้างมาเพื่อทำการตักเตือนการทำงานพร้อมกับให้เซ็นชื่อ รับทราบผลงานของตนไว้ด้วย'นั้น เป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงด้านนายจ้าง แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้กล่าวถึงด้านลูกจ้างด้วยไม่อาจแปลได้ว่าเป็นการบังคับ ลูกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จำเลยจะตักเตือนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานเมื่อได้ข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง/คำให้การเพียงพอ และการแก้ไขต้นร่างคำสั่งไม่ทำให้คำสั่งไม่ชอบ
ถ้าศาลตรวจคำฟ้องคำให้การจากคำฟ้องและหรือคำให้การได้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้ว การสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาจะเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า. ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง เจ้าหน้าที่ชั้นต้นร่างคำสั่งเพื่อให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งตรวจดูชั้นหนึ่งก่อนว่า จะเป็นร่างคำสั่งที่มีข้อเท็จจริง และการปรับบทลงโทษตรงตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยหรือไม่หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้องผู้มีอำนาจตรวจร่างคำสั่งหรือผู้มีอำนาจออกคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524-2525/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาทำงานปกติและสิทธิการได้รับค่าอาหารของลูกจ้าง การตีความคำสั่งการจ่ายเบี้ยเลี้ยง
เดิมจำเลยมีคำสั่งที่ 3507/2523 กำหนดให้พนักงานจ่ายงานจ่ายตั๋ว จ่ายเบี้ยเลี้ยงปฏิบัติงานนอกเหนือชั่วโมงทำงานปกติในช่วงเวลาตั้งแต่ 4.00-8.00 นาฬิกา และไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงอื่นใด ให้ได้รับค่าอาหารวันละ 20 บาทต่อมาจำเลยมีคำสั่งที่ 540/2525 กำหนดเวลาการทำงานตามปกติของพนักงานจ่ายงานในเขตการเดินรถที่ 6 เป็นสองผลัดผลัดที่ 1 ทำงานระหว่าง 4.00-12.30 นาฬิกาผลัดที่ 2 ทำงานระหว่าง 11.00-19.30 นาฬิกา ซึ่งนายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมแก่ ลักษณะงานในหน้าที่ของลูกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3 และข้อ 68 อันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ย้ายมาเป็นพนักงานจ่ายงานประจำเขตการเดินรถที่ 6 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของคำสั่งดังกล่าว ส่วนคำสั่งที่ 3507/2523 มิใช่เป็นเรื่อง กำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานแต่อย่างใด คำสั่งที่ 540/2525 ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับคำสั่งที่ 3507/2523 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำสั่งที่ 540/2525 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์หรือไม่โจทก์มีเวลาทำงานในช่วงเวลา 4.00-8.00 นาฬิกา แต่มิใช่เป็นการทำงานนอกเหนือชั่วโมงทำงานปกติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือค่าอาหารตามคำสั่งที่ 3507/2523 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การให้พนักงานทำงานเป็นผลัดไม่มีหลักฐาน ว่ามีชื่อและลายมือชื่อผู้ปฏิบัติงาน จึงฟังไม่ได้นั้น เป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องโต้แย้งความไม่ถูกต้องของคำสั่งศาล การขาดนัดพิจารณาเป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
คำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์อ้างเหตุแต่เพียงว่าทนายโจทก์เจ็บป่วยไม่สามารถมาศาลได้เท่านั้น ไม่ได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นคำขอที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นในปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามชั่วคราวต้องมีหลักฐานจากพยานตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องฟังพยานที่ผู้ขอนำมาสืบหรือที่ศาลเรียกมาสืบให้ได้ความตามที่มาตรา 255 บัญญัติไว้เสียก่อน จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยเพียงแต่สอบถามโจทก์จำเลยแล้วบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาทั้งที่ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอตามมาตรา 255 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ส่งเอกสารตามคำสั่งศาล & อำนาจแก้ไขคำสั่งที่ไม่ถูกต้องของศาลชั้นต้น
การที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกจากโจทก์เพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยยื่นคำให้การนั้น ชอบที่ศาลจะสอบถามหรือไต่สวนให้ได้ความว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ศาลกำหนด หรือเป็นการขัดขืนไม่ส่งเอกสารในการพิจารณาคดี และดำเนินการต่อไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่อนุโลมให้ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยประสงค์จะอ้างเอกสารเพื่อจะสืบข้อเท็จจริงเรื่องใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นหรือไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 124
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเข้าใจโดยผิดหลงศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ส่วนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการที่ผู้อุทธรณ์จะปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นสั่งแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลงเช่นนั้นไม่
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเข้าใจโดยผิดหลงศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ส่วนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการที่ผู้อุทธรณ์จะปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นสั่งแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลงเช่นนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2936-2938/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับฟ้อง และไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ มีคำสั่ง ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ย่อมมิใช่คำสั่งไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็น คำสั่งซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่ใช่คำสั่งทุเลาการบังคับคดี แต่เป็นคำขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของจำเลยใหม่ พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ระงับการจำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพิพาทศาลอุทธรณ์สั่งยกคำร้องที่ให้ระงับการจำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพิพาท คำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาล เพราะได้มีการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาโดยการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยแล้ว คำขอของจำเลยต่อศาลอุทธรณ์ เป็นคำขอเพื่อให้ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 224(2),247