พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืน
การขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืน
การขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือสัญญาขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือสัญญาขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ถูกอายัดหลังศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ
เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายที่จำเลยวางศาลเมื่อจำเลยอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชนะคดีจำเลยก็ชอบที่จะร้องขอคืนเงินที่วางนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 251 (อ้างคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 487/2493)
คำสั่งศาลอายัดเงินของจำเลยนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการอายัดเงินรายนี้ และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้นั้นแต่ประการใด คำสั่งอายัดนั้นจึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1) (อ้างฎีกาที่ 885/2490).
คำสั่งศาลอายัดเงินของจำเลยนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการอายัดเงินรายนี้ และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้นั้นแต่ประการใด คำสั่งอายัดนั้นจึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1) (อ้างฎีกาที่ 885/2490).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ถูกอายัด เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ
เงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายที่จำเลยวางศาลเมื่อจำเลยอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชนะคดีจำเลยก็ชอบที่จะร้องขอคืนเงินที่วางนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251(อ้างคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 487/2493)
คำสั่งศาลอายัดเงินของจำเลยนั้น. เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการอายัดเงินรายนี้และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้นั้นแต่ประการใด คำสั่งอายัดนั้นจึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)(อ้างฎีกาที่ 885/2490)
คำสั่งศาลอายัดเงินของจำเลยนั้น. เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการอายัดเงินรายนี้และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้นั้นแต่ประการใด คำสั่งอายัดนั้นจึงเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)(อ้างฎีกาที่ 885/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินให้ผู้สั่งจ่ายเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คของผู้ถือไม่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้ร้องในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คร้องขอรับเงินซึ่งได้ชำระไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คืนเพื่อนำไปชำระแก่ผู้ทรงเช็คที่กำลังดำเนินคดีกับผู้ร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่าตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ให้งดการคืนเงินให้ผู้ร้องจนกว่าศาลจะได้พิพากษาคดีถึงที่สุดคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวนี้ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งเด็ดขาดเป็นแต่เพียงงดจ่ายไว้ก่อนเช่นนี้ผู้ร้องยังไม่จำต้องร้องคัดค้าน
ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องแพ้คดีแล้วรายหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ร้องเสียหายผู้ร้องจึงได้ยืนยันขอรับเงินจำนวนนี้คืนอีก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงสั่งทำนองเดียวกันกับครั้งแรก ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลภายในกำหนด 14 วันนับแต่ทราบคำสั่งครั้งหลัง ตามมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายได้
ผู้ร้องออกเช็คชนิดผู้ถือเพื่อชำระหนี้แทนผู้ซื้อตึกแถวและที่ดินของจำเลย แต่ปรากฏว่าในขณะที่จำเลยล้มละลายนั้นเช็คนั้นได้ตกไปอยู่ในมือของผู้ทรง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เช่นนี้ไม่ถือว่าเช็คเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยผู้ล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าเรียกเก็บเงินได้
ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องแพ้คดีแล้วรายหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ร้องเสียหายผู้ร้องจึงได้ยืนยันขอรับเงินจำนวนนี้คืนอีก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงสั่งทำนองเดียวกันกับครั้งแรก ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลภายในกำหนด 14 วันนับแต่ทราบคำสั่งครั้งหลัง ตามมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายได้
ผู้ร้องออกเช็คชนิดผู้ถือเพื่อชำระหนี้แทนผู้ซื้อตึกแถวและที่ดินของจำเลย แต่ปรากฏว่าในขณะที่จำเลยล้มละลายนั้นเช็คนั้นได้ตกไปอยู่ในมือของผู้ทรง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เช่นนี้ไม่ถือว่าเช็คเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยผู้ล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าเรียกเก็บเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายเมื่อศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาให้ชนะคดี
หากคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ชนะคดีแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นก็มีสิทธิที่จะทำคำแถลงขอคืนเงินที่วางไว้ต่อศาลเพื่อใช้ฤชาธรรมเนียมและค่าทนายแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมหลังชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ แม้คดีไม่ถึงที่สุด
หากคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ชนะคดีแล้วคู่ความฝ่ายนั้นก็มีสิทธิที่จะทำคำแถลงขอคืนเงินที่วางไว้ต่อศาลเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินเกินระเบียบของเทศบาล: จำเลยต้องคืนเงินที่เบิกเกินไป แม้จะอ้างสุจริตไม่ได้
จำเลยให้การว่า ระเบียบและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชกฤษฎีกาและปลัดกระทรวงก็ไม่มีอำนาจลงนามในระเบียบและคำสั่ง โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าขัดต่อพระราชกฤษฎีกาบทใดข้อใดและเหตุใดปลัดกระทรวงจึงไม่มีอำนาจลงนามนั้นถือว่าไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยให้
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนจำหน่ายสินค้าและการคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป
(1) องค์การสรรพาหาร เป็น+ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด
กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เอาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่ายและชำระเงินค่าสินค้าให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้าแล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับขนแทน โดยองค์การสรรพาหาร เสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้า ส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้อตกลงราคานั้น ผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ (ตัวการ)
การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง แม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไป+แล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้ว ก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป จำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้เพื่อไม่ต้องเสียค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การ+ขึ้นไม่ชอบ ให้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
เมื่อองค์การสรรพหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ ๆ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้
ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าจำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือไม่ปฏิบัติตามสัญญา แต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการ หากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี
ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฎว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร
การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ถึงแม้องค์การสรรพาหาร จะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวาง คนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง
กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เอาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่ายและชำระเงินค่าสินค้าให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้าแล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับขนแทน โดยองค์การสรรพาหาร เสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้า ส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้อตกลงราคานั้น ผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ (ตัวการ)
การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง แม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไป+แล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้ว ก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป จำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้เพื่อไม่ต้องเสียค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การ+ขึ้นไม่ชอบ ให้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
เมื่อองค์การสรรพหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ ๆ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้
ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าจำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือไม่ปฏิบัติตามสัญญา แต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการ หากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี
ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฎว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร
การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ถึงแม้องค์การสรรพาหาร จะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวาง คนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานกรรโชกและการสนับสนุนความผิด ไม่ใช่ฉ้อโกง ศาลแก้ฟ้องฐานฉ้อโกงและยกคำขอคืนเงิน
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบ ช.ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟังช.พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส.และด. การกระทำของป.ส.และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145,310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียวขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียวขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)