คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการขยายเวลาศึกษาเกินกำหนดสัญญา
สัญญาระหว่างกรมวิเทศสหการโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 5 ปี และสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าค้ำประกันหนี้ซึ่งจะเกิดขึ้นตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ซึ่งกำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อไปอีกเกินกว่ากำหนด 5 ปี โดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมด้วยในการขยายกำหนดเวลาการศึกษา จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับกำหนดระยะเวลาที่เกินกว่า 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คและค้ำประกัน การขาดอายุความเป็นความผิดจำเลย
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ และรับมอบเช็คจากโจทก์ไปใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สลักหลังเช็คและได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็หาได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่เช็คขาดอายุความลงจึงเป็นความผิดของจำเลยทั้งสองเอง
จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นว่า สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาซื้อขายหรือเป็นสัญญากู้ยืม จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคแรกไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน เพราะวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ ดังนั้น คู่สัญญาจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย แต่คำพิพากษาศาล-ชั้นต้นมิได้กำหนดว่าดอกเบี้ยก่อนฟ้องมิให้เกินกว่าที่โจทก์ขอ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง: สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกัน
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลอมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง การกู้ยืมเงินและค้ำประกันที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงแต่ลงลายมือชื่อให้โจทก์ไว้เกินไปจากความจริงโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยอมรับว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์15,000 บาท และจำเลยที่ 2 ค้ำประกันโจทก์ไว้ 15,000 บาท โจทก์ไม่อาจอาศัยสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ใช้เงินตามจำนวนที่กู้ยืมและค้ำประกันจริงได้ ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 15,000 บาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องจากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1ได้ผิดนัดแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้นดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน 196,186.28บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่แท้จริงคือสัญญาให้โจทก์เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้เดิม ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์ทั้งสองนำโฉนดที่ดินไปจำนองไว้แก่ธนาคารเพื่อเป็นประกันหนี้ของ ฐ. โดยจำเลยและจำเลยร่วมทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการจำนองไว้ต่อโจทก์ทั้งสองมีข้อความสำคัญว่า จำเลยและจำเลยร่วมยอมร่วมรับผิดชอบเป็นลูกหนี้ร่วมกับ ฐ.หากฐ.ผิดสัญญาไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ทั้งสอง จำเลยและจำเลยร่วมยอมรับผิดชอบไถ่ถอนให้ และยินดีชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการจำนองให้โจทก์ทั้งสอง เช่นนี้ โจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นลูกหนี้ของธนาคารหาใช่เจ้าหนี้ของ ฐ. สัญญาที่จำเลยและจำเลยร่วมทำกับโจทก์จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680แต่เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่บังคับระหว่างคู่กรณีกันได้ตามกฎหมายเมื่อฐ. ไม่ชำระหนี้แก่ธนาคาร โจทก์ทั้งสองจึงนำเงินชำระหนี้แทนฐ.และไถ่ถอนจำนองแล้ว ซึ่งทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน vs. สัญญาผูกพัน - ความรับผิดตามสัญญาไถ่ถอนจำนอง
จำเลยและจำเลยร่วมทำสัญญากับโจทก์ว่า ตามที่โจทก์นำโฉนดที่ดินไปจำนองไว้แก่ธนาคาร เพื่อค้ำประกันหนี้ของบริษัท ฐ. มีกำหนดเวลา 1 ปี โดยจำเลยและจำเลยร่วมยอมรับผิดชอบเป็นลูกหนี้ร่วมกับบริษัท ฐ.หากบริษัทฐ.ผิดสัญญาไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมยอมรับผิดชอบยินดีไถ่ถอนให้และยินดีชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการจำนองให้โจทก์เช่นนี้ โจทก์เป็นเพียงผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของบริษัท ฐ.ลูกหนี้ของธนาคารเจ้าหนี้ โจทก์จึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ของธนาคารหาใช่เจ้าหนี้ของบริษัท ฐ. ไม่ ดังนั้นสัญญาที่จำเลยและจำเลยร่วมทำกับโจทก์จึงไม่เป็นสัญญาค้ำประกัน แต่เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่คู่กรณีอาจทำผูกพันและใช้บังคับระหว่างกันได้ตามกฎหมายเมื่อบริษัท ฐ. ไม่ชำระหนี้แก่ธนาคาร โจทก์จึงนำเงินชำระหนี้แทนบริษัท ฐ.และไถ่ถอนจำนองแล้วถือได้ว่าบริษัทฐ.ไม่ไถ่ถอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์ตามที่จำเลยและจำเลยร่วมได้ให้สัญญาไว้ต่อโจทก์ซึ่งทำให้โจทก์เสียหายจำเลยและจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี และดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน โดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน 320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้น ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางหนังสือค้ำประกันธนาคารเพื่อประกันค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร โดยมีเงื่อนไขการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
of 61