พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและการล่วงสิทธิ - แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้นำเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การดังกล่าวคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญา ซึ่งมีผลคุ้มครองเฉพาะแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้น เมื่อประเทศไทยมิได้เป็นสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว อนุสัญญานี้จึงไม่มีผลกระทบต่อเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย อนุสัญญาดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: บันทึกแบ่งที่ดินหลังจดทะเบียนใช้ได้ ยึดเจตนาการแบ่งตามที่ตกลง
ช.ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 26 ตารางวา แต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญ กว้างประมาณ10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบ แม้ ช.จะไม่ได้พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตาม แต่ ช.ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้น หรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึก แต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ ช.จดทะเบียนการให้ ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้ว ทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไป บันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของ ช.แต่อย่างใดไม่ แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้ แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้น ช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง 4 ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้น ที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้ว ย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ 10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสน แม้จะจดทะเบียนในประเภทสินค้าต่างกัน ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก10ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเครื่องบอกเวลาในประเทศไทยตั้งแต่ปี2494เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎห้ายอดบนยอดมงกุฎแต่ละยอดมีจุดกลมสีดำใต้มงกุฎมีอักษรโรมันคำว่าROLEX(โรเล็กซ์)ส่วนจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก39รายการดินสอและสินค้าจำพวก39ทั้งจำพวกเมื่อปี2524และปี2526โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎห้ายอดมีจุดกลมสีดำอยู่บนมงกุฎเช่นเดียวกันใต้มงกุฎต่างมีอักษรโรมันคำว่าLolexซึ่งมีลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกันทั้งยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า"โรเล็กซ์"ด้วยเมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจึงคล้ายคลึงกันมากแม้จำเลยจะจดทะเบียนในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ก็นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดเพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้นแม้จำเลยจะยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแต่การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหายโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามานานกว่า80ปีและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22ไว้แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินโดยสุจริต & การครอบครองปรปักษ์: สิทธิของบุคคลภายนอกที่จดทะเบียน
ตามคำฟ้องคำให้การคดีฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมากกว่า 10 ปี แล้ว มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินที่พิพาทโดยไม่สุจริต ดังนี้โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่จำเลยให้การว่าจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคสอง และแม้จำเลยจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาการครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของจำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ คดีจึงไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงจากคำฟ้องโจทก์ โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า โจทก์กระทำการซื้อขายโดยสุจริตกล่าวคือ ได้มีการเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและมีการจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้มาในคำให้การว่า โจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ การที่จำเลยหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อข้อเท็จจริงจากคำฟ้องโจทก์ โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า โจทก์กระทำการซื้อขายโดยสุจริตกล่าวคือ ได้มีการเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและมีการจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้มาในคำให้การว่า โจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ การที่จำเลยหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9158/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิของบุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียน การคุ้มครองสิทธิโดยเด็ดขาด
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมากกว่า 10 ปีแล้ว ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิได้ต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินที่พิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6ว่ากระทำการโดยสุจริต แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นตามที่จำเลยให้การแต่เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ แม้จำเลยจะยังครอบครอง ที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาการครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของจำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเตรียมการฟ้องคดีโดยเจตนาหลีกเลี่ยงให้จำเลยไม่ทราบ และการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในการฟ้องคดีก่อนจำเลยเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โจทก์ทราบว่าถูกฟ้อง แม้แต่ชื่อของโจทก์ก็ระบุไม่ตรงกับชื่อและนามสกุลของโจทก์ หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยนำคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ให้จำเลยทั้ง ๆ ที่ชื่อและนามสกุลของโจทก์ไม่ตรงกับชื่อของโจทก์ที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดิน เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ถือว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420 โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: ศาลไม่อาจบังคับจำเลยจดทะเบียนแทนโจทก์
กรณีศาลพิพากษาว่าโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความมิใช่พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ จึงไม่จำต้องออกคำบังคับจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนให้แก่โจทก์ กรณีที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมนั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำบังคับดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: ราคาประเมิน ณ วันเกิดข้อพิพาทสำคัญกว่าวันจดทะเบียน
โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรงว่าโจทก์หรือจำเลยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายในราคาตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินที่ออกกันฝ่ายละครึ่ง โดยโจทก์จำเลยตกลงไปจดทะเบียนโอนขายกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี ในวันที่ 26 ตุลาคม2532 เมื่อถึงวันนัดไม่อาจจดทะเบียนโอนขายกันได้เนื่องจากโจทก์จำเลยต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมินจึงเกิดข้อพิพาทกันดังกล่าว ดังนี้ราคาประเมินตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองนั้นย่อมมีความหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 หาใช่มีความหมายถึงราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: ราคาประเมินที่ใช้คือราคา ณ วันเกิดข้อพิพาท ไม่ใช่วันจดทะเบียน
โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรงว่าโจทก์หรือจำเลยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากรแสตมป์และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายในราคาตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกินจากราคาประเมินที่ออกกันฝ่ายละครึ่งโดยโจทก์จำเลยตกลงไปจดทะเบียนโอนขายกันที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ในวันที่26ตุลาคม2532เมื่อถึงวันนัดไม่อาจจดทะเบียนโอนขายกันได้เนื่องจากโจทก์จำเลยต่างโต้แย้งการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนที่ราคาเกินจากราคาประเมินจึงเกิดข้อพิพาทกันดังกล่าวดังนี้ราคาประเมินตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองนั้นย่อมมีความหมายถึงราคาประเมินที่ใช้อยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทเมื่อวันที่36ตุลาคม2532หาใช่มีความหมายถึงราคาประเมินในขณะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่28กันยายน2537ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังไม่