คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และการบังคับคดีเอาคืนการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทบริเวณที่ระบายด้วยสีเขียวตามแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลได้ทำขึ้นตามคำสั่งศาลชั้นต้น เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 1/24 ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ที่โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง จำเลยได้เข้าไปยึดถือแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเอาคืนภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเอาคืนการครอบครอง โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาปีหนึ่ง จึงมีสิทธิฟ้องคดี จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยเกินกว่าที่โจทก์อ้าง และขอบเขตความรับผิดจำกัดตามกรมธรรม์
โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารไม่ประจำทางคันเกิดเหตุ มีความรับผิดต้องชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 3 ยื่นกรมธรรม์ประกันภัยประกอบคำแถลงต่อศาล ซึ่งปรากฏว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกันกับที่โจทก์อ้าง หากแต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากกรมธรรม์ประกันภัยของโจทก์ระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลไว้ในแผ่นที่ 2 ว่า "จำนวนเงินจำกัดความรับผิดแต่ละครั้งเกินกว่าจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับมาแล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ถึง 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน" แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดพิจารณาและยื่นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับดังกล่าวก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าว โดยถือว่าเป็นพยานของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาถูกจำกัดเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทแต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสามแต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลงอยู่ติดต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ทำการรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิครอบครอง คดีจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการพิพาทด้วยสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์ทั้งสามจะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งสามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้ยกเลิกหรือระงับหรือเพิกถอนการแจกหรือออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมาด้วยก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่คนละคนแยกกัน ที่ดินพิพาทสามแปลงรวมเนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา ราคา 229,250 บาท ของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 10 ไร่เศษ และของโจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนทางอาญาจำกัดเฉพาะความเสียหายจากการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่ผู้เสียหายจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ และค่าขาดไร้อุปการะได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาเกี่ยวกับป่าไม้: สิทธิการเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญาถูกจำกัดเฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตป่าตามฟ้องมาด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการขอให้ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดอันถือได้ว่าเป็นคำขออุปกรณ์ คดีนี้จึงเป็นคดีความอาญา ซึ่งวิธีพิจารณาคดีจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งหากมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีอาญานั้น มีได้เฉพาะดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และมาตรา 31 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและกรณีพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว การขอเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่อาจจะมีได้ ทั้งการอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติกรณีเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แล้ว ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) มีเพียงสองฝ่าย คือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ดังนั้น แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีและมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย ผู้ร้องก็ไม่อาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญา: สิทธิการเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตป่าตามฟ้องมาด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการขอให้ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดอันถือได้ว่าเป็นคำขออุปกรณ์ คดีนี้จึงเป็นคดีความอาญา ซึ่งวิธีพิจารณาคดีจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งหากมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีอาญานั้นมีได้เฉพาะดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และมาตรา 31 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและกรณีพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว การขอเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่อาจจะมีได้ ทั้งการอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ตามที่ผู้ร้องฎีกาก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติกรณีเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แล้ว ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) มีเพียงสองฝ่าย คือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ดังนั้น แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีและมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย ผู้ร้องก็ไม่อาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
of 21