คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการขายฝาก: นับจากวันที่รู้เรื่องฉ้อฉลหรือทุจริต
การฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินซึ่งอ้างว่าได้กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตและฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาเช่าจากฉ้อฉล: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิ
ข้อต่อสู้ว่าลูกหนี้ทำสัญญาเช่าโดยถูกผู้ให้เช่าฉ้อฉลเป็นโมฆียะนั้น ผู้บอกล้างคือบุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 137 ซึ่งไม่รวมถึงผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันผู้เช่ายกขึ้นต่อสู้ผู้ให้เช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เรื่องฉ้อฉลทนายร่วมกับโจทก์ ศาลอุทธรณ์สั่งไต่สวนและวินิจฉัย
ศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอม จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าทนายจำเลยฉ้อฉลร่วมกับโจทก์ ดังนี้ อุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1),225 ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อที่จำเลยอ้างว่าฉ้อฉล แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากกรรมสิทธิ์เดิมถูกเพิกถอนด้วยเหตุฉ้อฉล ผู้รับโอนไม่มีสิทธิอ้างซื้อโดยสุจริต
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม.ตามเดิม จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลของคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุทีได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ ในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ประเด็นอายุความ และการเรียกร้องเงินจากผู้รับจำนอง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 113 นั้น อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ซึ่งบัญญัติว่า "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฯลฯ" ผู้ร้องรู้ถึงต้นเหตุเมื่อใดนั้น ต้องถือเอาคดีที่มีการขอให้เพิกถอนเป็นหลัก คือคดีนี้นั่นเอง โดยผู้ร้องสอบสวนลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2514 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นแห่งอายุความ และยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 จึงไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ว.โดยไม่สุจริต และเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นต้องเสียเปรียบ ต่อมา ว.นำทรัพย์สินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารให้ ข. ดังนี้ ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้และ ว.ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องขอให้เรียกเงินจาก ข. ตามจำนวนที่ ว.จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้น เห็นว่ากรณีไม่กระทบกระเทือนถึงธนาคารที่ได้สิทธิจำนองไปโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุที่จะเรียกร้องได้ เพราะเป็นเรื่องเกินขอบเขตของการเพิกถอนการฉ้อฉล อีกทั้งจะกลายเป็นว่าผู้ร้องได้เข้าสวมสิทธิบังคับจำเลยแทนธนาคารเจ้าหนี้โดยมิชอบ ทั้งราคาทรัพย์จำนองก็ท่วมหนี้จำนอง การเพิกถอนการโอนเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ประเด็นอายุความและผลกระทบต่อสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 113 นั้นอายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ซึ่งบัญญัติว่า "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฯลฯ"ผู้ร้องรู้ถึงต้นเหตุเมื่อใดนั้น ต้องถือเอาคดีที่มีการขอให้เพิกถอนเป็นหลัก คือคดีนี้นั่นเอง โดยผู้ร้องสอบสวนลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2514 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นแห่งอายุความ และยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 จึงไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ว. โดยไม่สุจริต และเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นต้องเสียเปรียบ ต่อมา ว.นำทรัพย์สินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารให้ ช. ดังนี้ ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้และ ว. ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องขอให้เรียกเงินจาก ช.ตามจำนวนที่ว. จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้น เห็นว่ากรณีไม่กระทบกระเทือนถึงธนาคารที่ได้สิทธิจำนองไปโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุที่จะเรียกร้องได้ เพราะเป็นเรื่องเกินขอบเขตของการเพิกถอนการฉ้อฉล อีกทั้งจะกลายเป็นว่าผู้ร้องได้เข้าสวมสิทธิบังคับชำระหนี้แทนธนาคารเจ้าหนี้โดยมิชอบ ทั้งราคาทรัพย์จำนองก็ท่วมหนี้จำนอง การเพิกถอนการโอนเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ทำขึ้นโดยรู้ว่าทรัพย์สินกำลังถูกบังคับคดียึดขายทอดตลาด ถือเป็นการฉ้อฉล สัญญาเป็นโมฆะ
ท.เป็นเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ ช. จำเลยรู้ดีว่า ช. กับ ท. กำลังเป็นความกันอยู่และศาลได้พิพากษาให้ ท.ไถ่ถอนจำนองที่ดินและตึกพิพาท ควรจะรู้แล้วว่าหาก ท.ไม่จัดการไถ่ถอนที่ดินและตึกพิพาทอาจจะต้องถูกยึดขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนองแก่ ช. จำเลยก็ยังทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ท. มีกำหนด 8 ปี โดยจดทะเบียนซึ่งควรรู้ไดว่าจะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ตึกพิพาทในเมื่อ ท.ไม่สามารถชำระหนี้จำนองและอาจมีการขายทอดตลาดซึ่งย่อมทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบ ครั้นเมื่อ ท.ไม่ชำระหนี้จำนอง ศาลจึงบังคับคดียึดที่ดินและตึกพิพาทขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อได้โดยไม่รู้ว่าตึกพิพาทมีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ พฤติการณ์ของ ท.กับจำเลยถือได้ว่า ท.กับจำเลยสมยอมกันทำสัญญาเช่าตึกพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้บุคคลที่อาจประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลังเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉล แม้โจทก์จะประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลัง ก็ถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 สัญญาเช่านั้นจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ไม่ได้บรรยายว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 จำเลยโต้แย้งขึ้นมาในชั้นแก้ฎีกา จึงไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่สมยอมกันเพื่อทำให้ผู้ประมูลซื้อเสียเปรียบ ถือเป็นการฉ้อฉล สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพัน
ท. เป็นเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ ช. จำเลยรู้ดีว่า ช. กับ ท. กำลังเป็นความกันอยู่และศาลได้พิพากษาให้ท. ไถ่ถอนจำนองที่ดินและตึกพิพาทควรจะรู้แล้วว่าหากท. ไม่จัดการไถ่ถอน. ที่ดินและตึกพิพาทอาจจะต้องถูกยึดขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนองแก่ ช.จำเลยก็ยังทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ท. มีกำหนด 8 ปี โดยจดทะเบียน ซึ่งควรรู้ได้ว่าจะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ตึกพิพาทในเมื่อ ท.ไม่สามารถชำระหนี้จำนอง และอาจมีการขายทอดตลาดซึ่งย่อมทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบ ครั้นเมื่อ ท. ไม่ชำระหนี้จำนองศาลจึงบังคับคดียึดที่ดินและตึกพิพาทขายทอดตลาดโจทก์เป็นผู้ซื้อได้โดยไม่รู้ว่าตึกพิพาทมีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ พฤติการณ์ของ ท.กับจำเลยถือได้ว่าท. กับจำเลยสมยอมกันทำสัญญาเช่าตึกพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้บุคคลที่อาจประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลังเสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลแม้โจทก์จะประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลัง ก็ถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 สัญญาเช่านั้นจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ได้บรรยายว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จำเลยโต้แย้งขึ้นมาในชั้นแก้ฎีกาจึงไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868-1869/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่เป็นการฉ้อฉล หากลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น ย่อมมีความหมายว่าลูกหนี้ได้กระทำให้กองทรัพย์สินของตนลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ได้ การที่จำเลยนำทรัพย์สินและสิทธิตามประทานบัตรไปร่วมลงทุนเป็นหุ้นในบริษัทผู้ร้องโดยตีราคาเป็นค่าหุ้นของจำเลยเป็นจำนวนเงินซึ่งมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ที่มีอยู่ต่อโจทก์ หาทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ เพราะจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินพอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์อยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514-1515/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาจากเหตุเนรคุณและการฉ้อฉลในการโอนทรัพย์สิน
ผู้ให้ซึ่งเป็นมารดาผู้รับพูดกับผู้รับว่า อย่าขายที่นาพิพาทเลยผู้รับกลับเถียงว่านาของกู จะขาย จะทำไม มึงยกให้กูแล้วอีแม่หมาๆ อีดอกทอง เมื่อไหร่มึงจะตาย ดังนี้ถือได้ว่าผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ให้มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้ว
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
of 30