คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดุลพินิจศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการบังคับค่าบำเหน็จนำจับจากผู้กระทำผิด พ.ร.บ.ฆ่าโคกระบือฯ ไม่จำเป็นต้องตามประกาศ
การที่ศาลจะให้จำเลยเสียค่าบำเหน็จนำจับในกรณีที่กระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ฆ่าโคกระบือ ฯ นั้นอยู่ในดุลยพินิจของศาล แล้วแต่จะสมควรแก่รูปคดี หาจำต้องบังคับให้จำเลยเสียตามจำนวนในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลความหมายฟ้องอาญาเกินเลยข้อความที่กล่าวอ้าง และขอบเขตดุลพินิจของศาลในการลงโทษ
วิธีพิจารณาความอาญาพรรณาฟ้อง หลักวินิจฉัยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อแร่โดยไม่ตรวจใบสุทธิแร่จะแปลฟ้องว่าหมายถึง ผู้ขายไม่มีใบสุทธิแร่ด้วยไม่ได้ ฎีกาอุทธรณ์สัญญาทางพระราชไมตรีระวางสยามกับอังกฤษข้อเท็จจริง จำเลยเป็นคนบังคับอังกฤษคู่ความฎีกาได้ฉะเพาะข้อกฎหมายควรริบของกลางหรือควรวางโทษหนักเบาเพียงไรนั้นอยู่ในดุลพินิจของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการส่งตัวผู้กระทำผิดไปต่างจังหวัดภายใต้ พ.ร.บ.ดัดสันดานคนจรจัด พิจารณาจากระยะเวลาระหว่างความผิดและพฤติการณ์
ความผิดอย่างไรควรส่งไปต่างจังหวัด การส่งไปต่างจังหวัดหรือไม่อยู่ในดุลยพินิจของศาล จำเลยต้องโทษมาแล้ว 3 ครั้ง ระยะที่จำเลยทำผิดครั้ง 1 ๆ ห่างไกลกันมาก แลพ้นโทษครั้งที่ 3 แล้วถึง 3 เดือน โจทก์จึงฟ้องของให้ส่งไปต่างจังหวัด ศาลไม่ส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดโทษปรับเทียบเท่าโทษจำคุก เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดโทษขั้นต่ำ
จำแทนค่าปรับอยู่ในดุลพินิจของศาลเพราะกฎหมายไม่บัญญัติเกณฑ์โทษคั่นต่ำปัญหากฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษและการพิจารณาประวัติผู้ต้องหา
ไม่ควรรอการลงอาญาเปนปัญหากฎหมาย พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการนับโทษต่อจากคดีอื่น: ดุลพินิจของศาลตาม ป.อ.มาตรา 22 และการพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อย.2203/2555 ของศาลชั้นต้น และมีคำขอให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้ ความปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อย.3747/2556 ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.อ. มาตรา 22 แม้ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลไม่อาจรู้เองได้แต่การจะนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจนับโทษจำเลยที่ 2 ต่อเพราะมีข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นเองว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นในคดีนั้นพิพากษาว่าอย่างไร จึงสามารถใช้ดุลพินิจนับโทษต่อได้โดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงเพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการนับโทษต่อจากคดีอื่น: ดุลพินิจศาลและข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2643/2556 และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2645/2556 และมีคำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีดังกล่าว จำเลยให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ แม้โจทก์ไม่ได้แถลงให้ศาลทราบว่าคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ อย่างไร ทั้งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เอง แต่การจะนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ประกอบกับก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลเองว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4682/2556 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4687/2556 ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงเพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และผลกระทบต่อคู่ความ
โจทก์ขอถอนฟ้องคดี ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนตามคำฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของฝ่ายตนอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13293/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง, ดุลพินิจศาล, ฟ้องไม่สมบูรณ์, การต่อสู้คดี
โจทก์ขอถอนฟ้องคดีภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้วซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ดังนี้ การถอนฟ้องของโจทก์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งห้าและทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นคดีใหม่ จำเลยทั้งห้าก็ยังมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีตามจำเลยที่ 1 และที่ 5 คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4567/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการเรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลยร่วม: พิจารณาความสะดวกในการพิจารณาคดี
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) จะเป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในคดีที่จะขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องอนุญาตตามคำร้องขอในทุกกรณี ศาลย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่า สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือไม่เรียกเข้ามาในคดี หากจะไม่เป็นการสะดวกแก่การพิจารณา หากศาลไม่อนุญาตให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี คู่ความที่ยื่นคำร้องขอก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องบุคคลภายนอกดังกล่าวเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีนี้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมรับผิดตามมูลหนี้สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียก ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อให้รับผิดต่อโจทก์ เนื่องจาก ศ. เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อในสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ตัวแทนทำไว้กับโจทก์ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าไม่สะดวกแก่การพิจารณาเพราะต้องตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่ ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นเดิม จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวกับ ศ. โดยเฉพาะ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงเป็นดุลพินิจในการพิจารณาสั่งคดีของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย ไม่มีเหตุให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
of 25