พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีก็ยังคงมีองค์ประกอบความผิดต่อแผ่นดิน
โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ร่วมจะขอถอนฟ้อง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะความผิดต่อส่วนตัว แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268 เป็นความผิดต่อแผ่นดิน โจทก์ร่วมไม่อาจขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ทั้งการที่โจทก์ร่วมขอถอนฟ้องก็ไม่ทำให้การกระทำผิดของจำเลยซึ่งสำเร็จไปแล้วกลับเป็นขาดองค์ประกอบความผิด เพราะโจทก์ร่วมไม่เสียหายได้อีก การกระทำของจำเลยจึงยังเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,268.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องที่ศาลอนุญาตแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับได้ หากเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองกับให้ส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพิพาทคืนแก่โจทก์ เรียกค่าเสียหายเทียบตามอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารและอาศัยอยู่ในที่ดินของราชพัสดุ แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกกรมธนารักษ์เข้ามาเป็นคู่ความในคดีและศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตแล้วก็ตาม ก็หาใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของตนเองไม่ เมื่อไม่มีข้อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเกินเดือนละสองพันบาทจึงต้องฟังว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 1,200 บาท ตามฟ้องโจทก์ ดังนี้จึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตถอนฟ้องในคดีที่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพิพาท กับเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่โจทก์ฎีกาเรื่องนี้ขึ้นมาอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุดได้ หากจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะผู้ขอถอน หากถอนแล้วยื่นฟ้องใหม่ ถือเป็นการเอาเปรียบ
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน ๒ เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๘๐ วรรคสอง(๒) จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.
โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน ๒ เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๘๐ วรรคสอง(๒) จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ หากมีข้อบกพร่องในคำฟ้องเดิมแล้วต้องการแก้ไขใหม่ ย่อมสร้างความเสียหายแก่จำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา180 วรรคสอง(2) จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องที่ไม่สุจริตเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและฟ้องใหม่ ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลไม่อนุญาต
โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเห็นว่าดวงตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจและในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ การขอถอนฟ้องจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่เพื่อฉวยโอกาสปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีที่ทำไปแล้วและนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่อีก ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยเสียเปรียบชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องที่ไม่สุจริตเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและฟ้องใหม่ ศาลไม่อนุญาตตามมาตรา 175 วรรคสอง
โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเห็นว่าดวงตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจและในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ การขอถอนฟ้องจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่เพื่อฉวยโอกาสปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีที่ทำไปแล้วและนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่อีก ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยเสียเปรียบชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีแพ่ง แม้จำเลยคัดค้านว่าเป็นการปรับปรุงฟ้องเพื่อเสียเปรียบ
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะ ดังนั้น แม้จำเลยจะคัดค้านว่าโจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อนำฟ้องไปปรับปรุงใหม่ให้สมบูรณ์โดยถือเอาประโยชน์จากคำให้การของจำเลยเป็นแนวทาง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี เมื่อศาลเห็นว่าคำคัดค้านของจำเลยไม่เป็นเหตุที่จะใช้ดุลพินิจไม่ให้โจทก์ถอนฟ้อง ก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้.