คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และการไม่เป็นทรัพย์มรดก
ก่อนถึงแก่กรรม ล. ผู้ตายซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. ผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษายกฟ้องกรณีพินัยกรรมปลอมและทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากลักษณะลายมือชื่อและอายุของผู้ทำพินัยกรรม
เมื่อปรากฏว่าคำพยานโจทก์หลายปากขัดกันเป็นข้อพิรุธ อีก ทั้งพยานโจทก์ทุกปากล้วนเป็นผู้ใกล้ชิดกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่มี คนใดพอที่จะถือได้ว่าเป็นพยานคนกลางโดยแท้จริง ประกอบกับเมื่อ พิจารณาลายมือชื่อของ บ. ในพินัยกรรมที่โจทก์อ้างเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ บ. ในเอกสารอื่น ๆ แล้ว จึงเชื่อได้ว่า บ. มิได้ทำพินัยกรรม การยกให้อสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์และจำเลยร่วมเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ย่อมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในบ้านพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360วรรคสอง แต่คำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมเรียกร้องเอาดอกผลของ บ้านพิพาทจากโจทก์เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวทั้งหมด ศาลจะพิพากษา ให้จำเลยร่วมได้รับแต่ส่วนแบ่งในเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมควรได้แต่ส่วนแบ่งเท่าใดก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสามีภรรยาเป็นของทั้งสองคน และอายุความมรดกสะดุดเมื่อมีผู้จัดการมรดก
ค.เป็นผู้ปกครองเด็กชายท. ตามคำสั่งศาล มีอำนาจฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกให้แก่เด็กชาย ท. ได้ โจทก์ระบุในหน้าฟ้องว่า ค.ในฐานะผู้ปกครองเด็กชายท.แต่เมื่อข้อความตามที่โจทก์ระบุไว้หน้าฟ้องดังกล่าวและตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้แทนเด็กชาย ท.ในฐานะผู้ปกครองเด็กชาย ท. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของ บ.เจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่เด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้วไม่จำเป็นต้องระบุเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คน และเป็นผู้ใดหากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่า จำนวนทายาทของเจ้ามรดกหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องให้การต่อสู้คดีไว้ ส่วนที่ฟ้องโจทก์ระบุวันที่ ส.ถึงแก่กรรมผิดไป แต่ตามภาพถ่ายใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องได้ระบุว่าส. ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่เท่าไร ซึ่งเมื่ออ่านฟ้องโจทก์ประกอบกับใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาดที่ถูกต้องเป็นวันที่ตามใบมรณบัตรที่แนบมาท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม มรดกที่มีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทจึงไม่จำต้องฟ้องเรียกให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายทรัพย์มรดกและสินสมรส, อายุความมรดก, สิทธิของทายาทและผู้รับโอน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่อยู่กินกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีสินเดิม ฝ่ายชายได้ 2 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ส่วน
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาในทรัพย์มรดก: ผลของการส่งมอบโดยปริยายและการบอกล้างโมฆียกรรมเกินกำหนด
การที่ จ. ทายาททำหนังสือยกส่วนได้ของตนที่จะได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 ในฐานะทรัสตีให้แก่ ส. เป็นการโอนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ตกได้แก่ตนด้วยการให้โดยเสน่หาแก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ในขณะที่ จ. ทำสัญญาให้นั้น ทายาททุกคนรวมทั้งทรัสตีได้ตกลงยกเลิกทรัสต์กันแล้ว โดยให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทรัสตีในขณะนั้นทำการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททรัพย์มรดกทั้งหมดจึงมีจำเลยที่ 2ในฐานะทรัสตีและในฐานะผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาแทนทายาททุกคน การที่ จ. ทำสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ส. ทำบันทึกมอบฉันทะให้ จ. เป็นผู้รับส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวแทน โดยจำเลยที่ 2 ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกให้กับการมอบฉันทะดังกล่าว เท่ากับเป็นการตกลงว่าต่อแต่นั้นไปจำเลยที่ 2จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกอันเป็นส่วนได้ของ จ. แทน ส.เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้โดยปริยายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 การให้ทรัพย์สินในส่วนที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์จึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 สำหรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีจำเลยที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคน การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 วรรคสองเมื่อ จ. ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การให้โดยเสน่หาจึงไม่อาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ได้การรับรู้การยกให้ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 อีก การที่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จ. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดกให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2510 แต่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า หนังสือที่ จ. ทำขึ้นดังกล่าวเป็นหนังสือยกให้ส่วนแบ่งมรดกมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง การให้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2510 เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง โจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ต้องฟังว่า จ. ทำหนังสือยกให้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 โจทก์เพิ่งบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527เป็นการบอกล้างเมื่อเกินสิบปี จึงบอกล้างไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143(มาตรา 181 ที่แก้ไขใหม่)สัญญาให้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยในทรัพย์มรดก: สิทธิของบุตรและผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของอ.ที่เคยให้จำเลยอยู่อาศัยจำเลยให้การต่อสู้ว่าตึกพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับสามี ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าตึกพิพาทเป็นของอ.หรือของจำเลย ที่ศาลยกเอาสิทธิอาศัยของบุตรจำเลยที่ได้มาโดยพินัยกรรมตามที่พิจารณาได้ความมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ดี ข้อที่ว่า อ.ยกตึกพิพาทให้บุตรจำเลยอยู่อาศัยและการที่จำเลยได้อยู่ร่วมด้วยกับบุตรเป็นความสุขในครอบครัว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247ว่าจำเลยมีสิทธิอาศัยในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิของบุตรจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากทรัพย์มรดก: การเปลี่ยนแปลงสถานะหลังพ.ร.บ.ใหม่ และการใช้กฎหมายย้อนหลัง
ผู้ร้องได้รับทรัพย์มรดกซึ่งรวมทั้งที่พิพาทมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นสามีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์มรดกอื่นส่วนที่เป็นของผู้ร้องย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกันดังนั้น แม้จะมีการนำเงินที่ได้จากการขายพืชผลของสวนและนา มรดกไปไถ่ถอนจำนองที่พิพาทและโอนที่พิพาทให้กับผู้ร้องในปี พ.ศ. 2520ภายหลังจาก พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ทำให้ที่พิพาทกลับกลายเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่พิพาทที่โจทก์นำยึด บทบัญญัติมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีความหมายเฉพาะว่าความสมบูรณ์ของการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ไม่ถูกกระทบกระเทือน คือไม่เสื่อมเสียไปเท่านั้น ไม่ได้มีข้อความว่าให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ย้อนหลังอันเป็นการยกเว้นความตามมาตรา 2 แต่อย่างใด จะถือว่าความสมบูรณ์ของการอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 จะต้องถูกกระทบกระเทือนคือต้องเปลี่ยนไปใช้กฎหมายใหม่หาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้กฎหมายไม่ต้องด้วยความตามตัวอักษรที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 และมาตรา 5 ดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินเมื่อมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้มีการอ้างเป็นทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด จำเลยเก็บรักษาโฉนดไว้ โจทก์ขอโฉนดคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดให้ไว้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดคืนจากจำเลยโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนด และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดนั้น คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังคำให้การของจำเลยเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดให้โจทก์ภายในกำหนด7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้เป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของสิทธิย่อมเรียกคืนได้หากไม่ได้ยินยอมให้ครอบครอง
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลย โดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลย และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้การที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล หรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืนขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินเดิมแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้นเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี โจทก์ขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดิน: แม้มีข้ออ้างเป็นทรัพย์มรดก แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามโฉนดมีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดิน จำเลยเก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ขอโฉนดที่ดินคืน จำเลยไม่ยอมคืนขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดที่ดินได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดิน และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาลหรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี
of 49