พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากก่อนและหลังคำพิพากษา: ผลกระทบต่อธนาคารและโจทก์เมื่อคำสั่งอายัดเดิมยกเลิก
การที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2524 นั้น เป็นคำสั่งอายัดในคดีอื่น ซึ่งจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นโจทก์ และขณะนั้นจำเลยที่ 1 มีเงินฝากประจำอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาตราด จำนวน 2,000,000 บาทแต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโดยยินยอมให้นำเงินฝากประจำ 1,000,000 บาทมาเป็นประกัน หลังจากที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากครั้งแรกแล้วนั้น แม้จำเลยที่ 1จะมาขอเบิกเงินและธนาคารได้จ่ายให้ไป ก็เป็นการจ่ายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอายัดในคดีนี้ ซึ่งสั่งอายัดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ทั้งยังปรากฏว่าในคดีนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 การที่ธนาคารจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปก่อนที่จะมีคำสั่งอายัดทรัพย์ในคดีนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของธนาคารเป็นเหตุให้โจทก์คดีนี้ต้องเสียหายหาได้ไม่.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยรู้เช็คปลอมนำไปแสดงต่อธนาคาร ทำให้ธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินเข้าบัญชีตนเองเข้าข่ายความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกง
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมไม่มีหน้าที่การเงินจำเลยนำเช็คปลอมจำนวน3ฉบับไปยื่นต่อส. และอ. ซึ่งเป็นพนักงานการเงินของโจทก์ร่วมต่างวันกันโดยแต่ละครั้งจำเลยนำใบฝากโอนเงินเข้าธนาคารต่างสาขาในบัญชีของบ. ซึ่งจำเลยแต่ผู้เดียวมีอำนาจถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวแม้ไม่มีพยานหลักฐานบ่งชี้ว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือมีส่วนในการปลอมเช็ค3ฉบับดังกล่าวแต่ตามพฤติการณ์แสดงได้ว่าจำเลยรู้ว่าเช็คนั้นเป็นเอกสารปลอมดังนั้นการที่จำเลยนำเช็คปลอมไปแสดงต่อพนักงานการเงินของโจทก์ร่วมโดยปกปิดความจริงจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมสั่งจ่ายเงินตามเช็คปลอมจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกง พนักงานอัยการโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยฉ้อโกงไปคืนแก่ผู้เสียหายมาท้ายฟ้องและโจทก์ร่วมได้เสียค่าธรรมเนียมมาถูกต้องแล้วจำเลยจึงต้องคืนหรือใช้เงินตามฟ้องให้โจทก์ร่วม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยเจตนาทุจริตหรือไม่มีเงินในบัญชี และความผิดฐานห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค รวมถึงประเด็นอายุความ
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายนั้น หาใช่ว่าจะต้องเป็นความผิดฐานห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คโดยทุจริตเสมอไปไม่ แต่อาจเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้หรือออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้นก็ได้
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น หากนับตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถึงวันฟ้องยังไม่เกินสามเดือน คดีก็ไม่ขาดอายุความ
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น หากนับตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถึงวันฟ้องยังไม่เกินสามเดือน คดีก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยระบุตัวบุคคลธรรมดา ย่อมไม่ใช่การฟ้องตำแหน่ง
โจทก์ยื่นฟ้องผู้จัดการและสมุหบัญชีธนาคารสาขาเป็นจำเลยที่2และที่3โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของธนาคารจำเลยที่1ดังนี้เป็นการฟ้องตัวบุคคลธรรมดาที่มีตัวอยู่แน่นอนแล้วไม่ใช่เป็นการฟ้องตำแหน่งซึ่งไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันลักทรัพย์เช็คแล้วนำไปใช้เป็นเช็คปลอมเพื่อฉ้อโกงธนาคาร จำเลยมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกง
เช็คปลอมจำนวน23ฉบับเป็นส่วนหนึ่งของเช็คที่จำเลยลักมาจากธนาคารโจทก์ร่วมซึ่งจำเลยเป็นพนักงานอยู่ไม่ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวได้สูญหายไปจากจำเลยการที่บุคคลอื่นจะนำเช็คนั้นไปกรอกวันเดือนปีจำนวนเงินและปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายทำเป็นเช็คปลอมแล้วนำไปขึ้นเงินได้นั้นบุคคลนั้นต้องได้รับเช็คไปจากจำเลยการที่จำเลยมอบเช็คที่ลักมาให้ผู้อื่นไปทำการดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่จะให้สำเร็จผลดังเจตนาของจำเลยกับพวกในการที่จะหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วมโดยนำเช็คปลอมนั้นๆไปขึ้นเงินจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมใช้เช็คปลอม ฉ้อโกงธนาคาร
เช็คปลอมจำนวน23ฉบับเป็นส่วนหนึ่งของเช็คที่จำเลยลักมาจากธนาคารโจทก์ร่วมซึ่งจำเลยเป็นพนักงานอยู่ไม่ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวได้สูญหายไปจากจำเลยการที่บุคคลอื่นจะนำเช็คนั้นไปกรอกวันเดือนปีจำนวนเงินและปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายทำเป็นเช็คปลอมแล้วนำไปขึ้นเงินได้นั้นบุคคลนั้นต้องได้รับเช็คไปจากจำเลยการที่จำเลยมอบเช็คที่ลักมาให้ผู้อื่นไปกระทำการดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่จะให้สำเร็จผลดังเจตนาของจำเลยกับพวกในการที่จะหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วมโดยนำเช็คปลอมนั้นๆไปขึ้นเงินตามเช็คปลอม23ฉบับนั้นจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินที่ธนาคารจ่ายเกินเนื่องจากความสำคัญผิดของผู้ปฏิบัติงานธนาคาร
ตามหนังสือมอบอำนาจปรากฏว่า ธนาคารมอบอำนาจให้ผู้จัดการธนาคารสาขามีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีที่สาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้อง ดังนี้ผู้จัดการธนาคารสาขาย่อมมีอำนาจร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินที่พนักงานของธนาคารสาขาส่งมอบให้จำเลยโดยสำคัญผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ครอบครองเงินจำนวน 90,000 บาท ของธนาคารโจทก์ร่วม ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้จัดการธนาคารโจทก์ร่วมสาขานครศรีธรรมราช โดยผู้มีชื่อได้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน 10,000 บาท โดยเขียนจำนวนเงินด้วยอักษรว่า 'หนึ่งหมื่นบาท' แต่จำนวนเงินที่เขียนด้วยตัวเลข ได้ใส่เครื่องหมายจุลภาคผิดตำแหน่ง โดยใส่ไว้หลังเลขศูนย์ตัวที่สองนับจากเลข 1 แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคารพนักงานธนาคารสำคัญผิดว่าจำเลยขอเบิกเงิน 100,000 บาท จึงจ่ายเงินให้จำเลย 100,000 บาท ถือได้ว่าเงินจำนวน 90,000 บาท เป็นเงินที่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยสำคัญผิดไป แม้จะด้วยการใดก็ตาม เมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ครอบครองเงินจำนวน 90,000 บาท ของธนาคารโจทก์ร่วม ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้จัดการธนาคารโจทก์ร่วมสาขานครศรีธรรมราช โดยผู้มีชื่อได้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน 10,000 บาท โดยเขียนจำนวนเงินด้วยอักษรว่า 'หนึ่งหมื่นบาท' แต่จำนวนเงินที่เขียนด้วยตัวเลข ได้ใส่เครื่องหมายจุลภาคผิดตำแหน่ง โดยใส่ไว้หลังเลขศูนย์ตัวที่สองนับจากเลข 1 แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคารพนักงานธนาคารสำคัญผิดว่าจำเลยขอเบิกเงิน 100,000 บาท จึงจ่ายเงินให้จำเลย 100,000 บาท ถือได้ว่าเงินจำนวน 90,000 บาท เป็นเงินที่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยสำคัญผิดไป แม้จะด้วยการใดก็ตาม เมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเงินโดยสำคัญผิดและการยักยอกทรัพย์ ธนาคารมีอำนาจฟ้องร้องได้
ตามหนังสือมอบอำนาจปรากฏว่าธนาคารมอบอำนาจให้ผู้จัดการธนาคารสาขามีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีที่สาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องดังนี้ผู้จัดการธนาคารสาขาย่อมมีอำนาจร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินที่พนักงานของธนาคารสาขาส่งมอบให้จำเลยโดยสำคัญผิด. โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ครอบครองเงินจำนวน90,000บาทของธนาคารโจทก์ร่วมซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้จัดการธนาคารโจทก์ร่วมสาขานครศรีธรรมราชโดยผู้มีชื่อได้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นการกล่าวถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)แล้วฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์หาเคลือบคลุมไม่. จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน10,000บาทโดยเขียนจำนวนเงินด้วยอักษรว่า'หนึ่งหมื่นบาท'แต่จำนวนเงินที่เขียนด้วยตัวเลขได้ใส่เครื่องหมายจุลภาคผิดตำแหน่งโดยใส่ไว้หลังเลขศูนย์ตัวที่สองนับจากเลข1แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคารพนักงานธนาคารสำคัญผิดว่าจำเลยขอเบิกเงิน100,000บาทจึงจ่ายเงินให้จำเลย100,000บาทถือได้ว่าเงินจำนวน90,000บาทเป็นเงินที่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยสำคัญผิดไปแม้จะด้วยการใดก็ตามเมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารมีหน้าที่จ่ายเงินเมื่อเอกสารครบถ้วน แม้สินค้าไม่ส่งถึง
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ผู้ขายไปได้เมื่อมีการยื่นตั๋วแลกเงินใบตราส่งสินค้าทางเรือครบชุดใบกำกับสินค้าพร้อมลายมือชื่อใบรับรองหรือกรมธรรม์ประกันภัยและจำเลยจะชำระเงินให้โจทก์เมื่อจำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวนั้นแล้วเมื่อใบตราส่งสินค้าทางเรือแสดงว่าได้มีการบรรทุกสินค้าขึ้นระวางเรือแล้วธนาคารตัวแทนของโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายไปโจทก์หรือธนาคารตัวแทนของโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องตรวจตราว่าความจริงสินค้าได้บรรทุกลงเรือแล้วหรือไม่.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าเช็คเป็นเช็คต่างประเทศหรือไม่ ให้ดูที่ผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นสำคัญ ไม่ใช่ที่ตั้งธนาคาร
ตามบทบัญญัติมาตรา987และมาตรา988แห่งป.พ.พ.บุคคลผู้ออกเช็คหรือทำตราสารดังกล่าวก็คือผู้สั่งจ่ายโดยทั่วๆไปอาจจะเห็นว่าธนาคารเป็นผู้พิมพ์แบบฟอร์มเช็คออกเป็นเล่มๆให้แก่ผู้มีบัญชีฝากเงินกับธนาคารแต่ที่เป็นดังนั้นมิใช่หมายความว่าธนาคารเป็นผู้ออกเช็คแต่ธนาคารกระทำขึ้นแทนผู้สั่งจ่ายเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้สั่งจ่ายในการใช้และกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจึงทำเป็นแบบพิมพ์ในรูปเดียวกันแต่โดยเนื้อแท้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้วผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ออกเช็คหรือทำตราสารนั้น(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่1017/2507)โดยเหตุนี้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คออกมาแต่ต่างประเทศหรือไม่จึงอยู่ที่ว่าผู้สั่งจ่ายเช็คได้สั่งจ่ายเช็คภายในประเทศหรือสั่งจ่ายเช็คที่ต่างประเทศเป็นสำคัญหาใช่ดูว่าธนาคารตามเช็คอยู่ณ ที่ใดเป็นสำคัญไม่ดังนั้นเมื่อจำเลยที่1ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทในประเทศไทยแม้ธนาคารเจ้าของเช็คจะอยู่ต่างประเทศเช็คพิพาทจึงมิใช่เช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศตามมาตรา989วรรคสอง.