พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการชำระหนี้: การงดการขายทอดตลาดและการขอเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8616/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีตามคำพิพากษาซื้อขายบ้าน: โจทก์ต้องดำเนินการตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้บ้านมีสภาพชำรุด
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยทำสัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินแปลงที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายและรับชำระราคาบ้านพร้อมที่ดินส่วนที่เหลือ ให้จำเลยติดตั้งโทรศัพท์ประจำบ้านที่ตกลงจะขายและชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 10,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจะโอนขายบ้านพร้อมที่ดินแก่โจทก์ หากไม่อาจโอนขายบ้านและที่ดินได้ให้คืนเงิน 950,000 บาท และชำระค่าเสียหาย 1,000,000บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงิน 1,950,000 บาท ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนั้นการบังคับคดีจึงต้องอาศัยคำพิพากษาดังกล่าวเป็นหลักแห่งการบังคับ เมื่อจำเลยได้ติดตั้งโทรศัพท์ประจำบ้านที่ตกลงจะซื้อจะขายและพร้อมจะทำสัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยพร้อมจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้ว โจทก์จะกล่าวอ้างและเรียกร้องให้จำเลยแก้ไขความชำรุดบกพร่องและความไม่เรียบร้อยของบ้านพิพาทก่อนโดยจำเลยไม่ยอมรับและตกลงด้วยนั้นไม่ได้ แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าบ้านพิพาทอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย โจทก์เสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8508/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสัญญาประนีประนอมยอมความหลังผิดนัดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 จะระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโอนไปยังจำเลยที่ 1 ทันที และโจทก์จะดำเนินการจดทะเบียนโอนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรายการสมุดคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสียก่อน โดยเช็คที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน 4 ฉบับ โจทก์จึงได้ใช้สิทธิของตนเพื่อการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4ซึ่งระบุว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใด งวดหนึ่ง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดทั้งหมดและยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยหักส่วนที่ชำระมาแล้วออกก่อนคงบังคับเอาเฉพาะส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่ค้างชำระ พร้อมทั้งยินยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ทันที นอกจากนี้แล้วข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาก็ปรากฏว่าหลังจากผิดนัดชำระหนี้แล้ว จำเลยทั้งสองได้ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวกลับคืนไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ด้วย ฉะนั้นเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ซึ่งยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนกลับคืนมาแล้วโจทก์จึงสามารถนำรถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อได้โดยไม่อาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 แต่อย่างใด โจทก์ได้นำรถยนต์ออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไป ซึ่งการขายและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวได้กระทำภายหลังที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแล้ว การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นผลให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระงับไปดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างเมื่อโจทก์ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกำหนด: จำเลยต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาลก่อนฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา เมื่อนับถึงวันยื่นฎีกาเป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือน หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า 6 เดือน ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเกี่ยวกับระยะเวลาพักใช้ใบอนุญาตขับขี่และการบังคับคดีที่ถูกต้อง รวมถึงเหตุผลที่ไม่รอการลงโทษจำคุก
ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษาซึ่งเมื่อนับถึงวันยื่นฎีกานี้เป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือนแล้ว หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า6 เดือนนั้น เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี ซึ่งมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้ตามลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดี: ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจึงบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จะต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เสียก่อน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงจะดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก แต่โจทก์กลับนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ก่อนเป็นการข้ามการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะต้องบังคับชำระหนี้โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่งก็ตาม
ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก แต่โจทก์กลับนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ก่อนเป็นการข้ามการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะต้องบังคับชำระหนี้โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่งก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดี: ผู้ค้ำประกันต้องถูกบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินที่บังคับได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน แม้จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้ขอให้ออกคำบังคับแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ไม่พอชำระหนี้ โจทก์จะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่มีเหตุที่จะมีคำสั่งเพียงให้งดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมฯ ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแทนลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (ในคดีที่ร้องนี้) จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวสำหรับกรณีที่เจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 นั้น หมายถึงการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้รวมทั้งเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับการบังคับคดีตามสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยสามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทนแก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองการบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามลำดับในสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยอยู่สามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทน 35,000 บาท แก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 35,000 บาท ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองนั้น การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้วโดยมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองคือให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นเงิน 35,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงิน 35,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติชำระหนี้ โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา
จำเลยต้องมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงิน 35,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติชำระหนี้ โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา