พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมทายาทเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลยได้ คดีไม่เกินคำขอ
แม้ตามคำฟ้องในช่องคู่ความจะระบุว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ช. ก็ตาม แต่ข้อความในคำฟ้องได้บรรยายว่าโจทก์ทั้งสอง ส. และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ช. เจ้ามรดก ตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกันแล้วจำเลยได้คัดค้านการโอนที่ดินมรดกซึ่งเป็นส่วนแบ่งของโจทก์ทั้งสองจึงขอให้จำเลยถอนคำคัดค้าน ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องในฐานะส่วนตัวหาใช่ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ไม่ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้อง หนังสือยินยอมทายาทมีใจความว่าโจทก์ทั้งสอง ส. และจำเลยทราบการประกาศขอรับมรดกที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองแล้วไม่ขัดข้องยินยอมให้โจทก์ทั้งสองรับมรดกที่ดินนั้นไปได้แต่เพียงฝ่ายเดียวต่างไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ข้อความดังกล่าวเป็นการตกลงกันไว้เพื่อให้เป็นที่แน่นอนว่าต่างฝ่ายต่างไม่โต้เถียงแย่งเอาที่ดินนั้นแก่กันและกัน เป็นการระงับข้อพิพาทอันอาจจะมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามจะกล่าวอ้างเรื่องข้อตกลงอื่นที่มิได้กำหนดไว้ในสัญญามาปฏิเสธหรือยกเลิกหาได้ไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้านการโอนมรดกของโจทก์ทั้งสองที่ยื่นไว้ มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปถอนคำคัดค้านการจดทะเบียนโอนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมาเป็นทรัพย์มรดกของโจทก์ทั้งสองนั้น มีความหมายเพียงว่าให้จำเลยไปถอนคำคัดค้านเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปว่าให้ที่ดินมรดกตามฟ้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสองด้วยไม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระงับข้อพิพาทสัญญาประกันชีวิตด้วยการประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
โจทก์และนางสาว ก. ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายอ้างว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะและขอบอกล้างสัญญา ย่อมเกิดข้อพิพาทตามสัญญาประกันชีวิตขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เสนอคืนเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์และนางสาว ก.แทนการชำระเงินตามสัญญาระกันชีวิตตามที่โจทก์และนางสาว ก.เรียกร้องหรือคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์และนางสาว ก.ตกลงยอมรับเอาเงินเบี้ยประกันภัยคืนตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ และสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องเอาเงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์จากจำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยซึ่งมีอยู่นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ป.พ.พ. มาตรา 850 บัญญัติไว้ ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และนางสาว ก.ตามสัญญาประกันชีวิตระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาทสัญญาประกันชีวิตด้วยการยอมคืนเบี้ยประกันภัย ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องจึงระงับสิ้น
โจทก์และนางสาว ก. ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายอ้างว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆะและขอบอกล้างสัญญา ย่อมเกิดข้อพิพาทตามสัญญาประกันชีวิตขึ้นแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 เสนอคืนเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์และนางสาว ก. แทนการชำระเงินตามสัญญาประกันชีวิตตามที่โจทก์และนางสาว ก. เรียกร้องหรือคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์และนางสาว ก. ตกลงยอมรับเอาเงินเบี้ยประกันภัยคืนตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ และสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องเอาเงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์จากจำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยซึ่งมีอยู่นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 บัญญัติไว้ ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และนางสาว ก. ตามสัญญาประกันชีวิตระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเบี้ยประกันภัยสละสิทธิเรียกร้อง ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิประกันชีวิตระงับ
เมื่อ อ. ถึงแก่กรรม โจทก์และ ก. ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายอ้างว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ย่อมเกิดข้อพิพาทขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยเสนอคืนเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์และ ก. แทนการชำระเงินตามที่โจทก์และ ก. เรียกร้องหรือคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 892 โจทก์และ ก. ก็ได้ตกลงยอมรับเอาเงินเบี้ยประกันคืนตามที่จำเลยเสนอและสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องเอาเงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์จากจำเลยอีกย่อมเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยซึ่งมีอยู่นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และ ก. ที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกันชีวิตอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมผูกพันคู่ความ แม้เป็นผู้เยาว์ หากไม่เคยอุทธรณ์คัดค้าน
โจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 448/2529 ของศาลชั้นต้นมี ม. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทน คดีดังกล่าวถึงที่สุดด้วยการประนีประนอมยอมความในศาล แม้โจทก์จะเป็นผู้เยาว์และการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ขออนุญาตศาลก่อน คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ก็ย่อมผูกพันโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 หากโจทก์ไม่พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอย่างใดก็ชอบจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังร้องขัดทรัพย์ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิในการขอกันส่วนยังคงมี
แม้ในชั้นร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องจะตกลงกับโจทก์ว่า ผู้ร้องจะชำระหนี้แทนจำเลยภายในเวลาที่กำหนดเพื่อให้โจทก์ถอนการยึดทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์และในที่สุดผู้ร้องก็ผิดนัดไม่นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 ไม่ เพราะการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามบทกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง เมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์เสียแล้ว จึงไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความประกอบคำร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นสั่งเพียงว่า อนุญาตให้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ได้ และจำหน่ายคดีจากสารบบความ มิได้สั่งหรือพิพากษาตามที่ผู้ร้องตกลงกับโจทก์แต่อย่างใด ตามคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องยังสงวนสิทธิที่ผู้ร้องมีเหนือทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด และตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุว่า"...วันนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์และแถลงว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดอีกต่อไป ไม่ร้องขัดทรัพย์อีก..." และศาลได้ขีดฆ่าคำว่า "ไม่ขอร้องกันส่วนด้วย"ออก แสดงว่าผู้ร้องจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินเฉพาะการร้องขัดทรัพย์เท่านั้น แต่ยังติดใจที่จะขอกันส่วนอยู่ ดังนั้น สิทธิของผู้ร้องในการขอกันส่วนจึงยังมีอยู่ และการใช้สิทธิของผู้ร้องหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่เพราะผู้ร้องได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังถอนฟ้องไม่เป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิในการขอกันส่วนยังคงอยู่
การตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนฟ้อง หากคู่ความตกลงกันหลังจากถอนฟ้องแล้วย่อมไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันอีก ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงถอนคำร้องขัดทรัพย์มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิขอกันส่วนยังคงมีอยู่
แม้ในชั้นร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องจะตกลงกับโจทก์ว่า ผู้ร้องจะชำระหนี้แทนจำเลยภายในเวลาที่กำหนดเพื่อให้โจทก์ถอนการยึดทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์และในที่สุดผู้ร้องก็ผิดนัดไม่นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน ตามบทกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องเมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์เสียแล้ว จึงไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความประกอบคำร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวเท่านั้นทั้งศาลชั้นต้นสั่งเพียงว่า อนุญาตให้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ได้และจำหน่ายคดีจากสารบบความ มิได้สั่งหรือพิพากษาตามที่ผู้ร้องตกลงกับโจทก์แต่อย่างใด ตามคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องยังสงวนสิทธิที่ผู้ร้องมีเหนือทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด และตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุว่า "วันนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์และแถลงว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดอีกต่อไป ไม่ร้องขัดทรัพย์อีก" และศาลได้ขีดฆ่าคำว่า"ไม่ขอร้องกันส่วนด้วย" ออก แสดงว่าผู้ร้องจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินเฉพาะการร้องขัดทรัพย์เท่านั้น แต่ยังติดใจที่จะขอกันส่วนอยู่ดังนั้น สิทธิของผู้ร้องในการขอกันส่วนจึงยังมีอยู่ และการใช้สิทธิของผู้ร้องหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่เพราะผู้ร้องได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิดทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ
บันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายที่สามีโจทก์ทำไว้กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนเพื่อไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798แต่ปรากฏว่าในการไปทำบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ได้แสดงออกหรือยอมให้สามีโจทก์แสดงออกว่าเป็นตัวแทนโจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายกับจำเลย อันเป็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 798 ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้โจทก์มิได้มีหนังสือตั้งให้สามีโจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกับจำเลย โจทก์ในฐานะตัวการก็ต้องผูกพันรับผิดต่อจำเลยตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบ, การถอนฟ้องที่ไม่สุจริต, และการประนีประนอมยอมความที่เป็นการเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของโจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษากลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและกระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ