คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมาทเลินเล่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หากใช้ความระมัดระวังได้
เครื่องหมายจราจรเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ขับรถได้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรไม่ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลี้ยวกลับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร ไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิด
เครื่องหมายจราจรเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ขับรถได้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย การเลี้ยวกลับรถโดยฝ่าฝืน เครื่องหมายจราจร ถ้าใช้ความระมัดระวังพอสมควรก็สามารถทำได้ โดยปลอดภัยการฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรดังกล่าวจึงมิใช่เป็น ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะเป็นผลให้ผู้รับประกันภัยไม่ ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง, การรับผิดร่วมกัน, การประมาทเลินเล่อ, การพิพากษาแก้
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น-หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10-1806 ขก.ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น-2691ซย.ฯลฯ...แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของศปอ.หมายเลขทะเบียน2ง-9601ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี...รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น-2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้วเป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพคือวันที่ 15 เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประมาทเลินเล่อ ไม่ป้องกันไฟป่า ทำให้ไม้โจทก์เสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยรับจ้างลากขนไม้เพื่อไปส่งมอบให้แก่โจทก์ แล้วไฟป่าไหม้ไม้โจทก์เสียหาย ปรากฏว่าเหตุไฟไหม้เกิดเดือนมกราคม 2525 เป็นช่วงที่อากาศแห้ง บริเวณที่รวมหมอนไม้มีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อย จำเลยสามารถป้องกันได้โดยถาง ต้นหญ้าที่ขึ้นปกคลุมกองไม้ออกเสีย และจัดหาเครื่องมือดับเพลิงเตรียมไว้ แต่จำเลยหาปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้ไฟไหม้แล้วลามไปไหม้ไม้โจทก์ จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหาใช่เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงร่วมกันวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามคดีอาญาในคดีแพ่ง การประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายทำให้ค่าเสียหายตกเป็นพับ
แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย จากเหตุที่เกิดขึ้นเหตุเดียวกับคดีนี้ แต่ก็อาจตกลงกับจำเลย ขอให้วินิจฉัยข้อเท็จจริงคดีนี้ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีอาญาดังกล่าวได้ ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวย่อมหมายถึงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบแล้ววินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเป็นอย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากเรือชนสะพาน: การประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมเรือ และอายุความ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรือ ว.ทองทะเล 4 ที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 เป็นผู้เช่าบ้านให้จำเลยที่ 1 พักรวมกับคนงานอื่น ๆ จัดรถยนต์รับส่งระหว่างบ้านพักกับสะพานที่เกิดเหตุที่ถูกเรือดังกล่าวชนเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับคนงานอื่น ๆ ลงเรือดังกล่าวไปทำงานกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 4 ทุกวัน และเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานดังกล่าว ทั้งภริยาจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้เป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรง และจัดการเรื่องอาหารทุกมื้อให้แก่คนงานทั้งหมดของจำเลยที่ 4 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับเรือของจำเลยที่ 4 คืนจากเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังได้ใช้เรือของจำเลยที่ 4 ที่ตนควบคุมอยู่ทำการช่วยเหลือกู้เรือชาวประมงตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างควบคุมเรือ ว.ทองทะเล 4 กระทำกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4
ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูมรสุม จำเลยที่ 1 มีอาชีพกู้เรือมานาน 20 ปี ย่อมรู้ดีว่าการจอดเรือ ว.ทองทะเล 4 ในบริเวณที่ไม่มีที่กำบังลมเพื่อกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อัปปางอาจถูกลมพายุพัดหลุดลอยได้ง่าย การจัดการป้องกันด้วยการนำเรือไปหลบหาที่กำบังพายุก็สามารถกระทำได้ทันเพราะมีประกาศเตือนทางวิทยุให้รู้ว่าจะเกิดพายุล่วงหน้าติด ๆ กันทุกชั่วโมงตั้งแต่หัวค่ำของคืนก่อนวันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจป้องกันไม่ให้เรือถูกพายุได้แต่ไม่จัดการป้องกัน เป็นเหตุให้เรือ ว.ทองทะเล 4 ถูกพายุพัดหลุดลอยไปชนสะพานของโจทก์ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความคือวันที่ 23ตุลาคม 2522 เป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 161 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างในการควบคุมเรือ กู้เรือ และอายุความ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรือ ว. ทองทะเล 4 ที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 เป็นผู้เช่าบ้านให้จำเลยที่ 1พักรวมกับคนงานอื่น ๆ จัดรถยนต์รับส่งระหว่างบ้านพักกับสะพานที่เกิดเหตุที่ถูกเรือดังกล่าวชนเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับคนงานอื่น ๆลงเรือดังกล่าวไปทำงานกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางซึ่งเป็นกิจการของจำเลยที่ 4 ทุกวัน และเป็นผู้เปิดบัญชีธนาคารให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานดังกล่าว ทั้งภริยาจำเลยที่ 1ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้เป็นผู้ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงและจัดการเรื่องอาหารทุกมื้อให้แก่คนงานทั้งหมดของจำเลยที่ 4 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับเรือของจำเลยที่ 4 คืนจากเจ้าพนักงานตำรวจหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังได้ใช้เรือของจำเลยที่ 4 ที่ตนควบคุมอยู่ทำการช่วยเหลือกู้เรือชาวประมงตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างควบคุมเรือ ว. ทองทะเล 4กระทำกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 ขณะเกิดเหตุเป็นฤดูมรสุม จำเลยที่ 1 มีอาชีพกู้เรือมานาน20 ปี ย่อมรู้ดีว่าการจอดเรือ ว. ทองทะเล 4 ในบริเวณที่ไม่มีที่กำบังลมเพื่อกู้ตัดเหล็กซากเรือใหญ่ที่อับปางอาจถูกลมพายุพัดหลุดลอยได้ง่าย การจัดการป้องกันด้วยการนำเรือไปหลบหาที่กำบังพายุก็สามารถกระทำได้ทันเพราะมีประกาศเตือนทางวิทยุให้รู้ว่าจะเกิดพายุล่วงหน้าติด ๆ กันทุกชั่วโมงตั้งแต่หัวค่ำของคืนก่อนวันเกิดเหตุ เมื่อจำเลยที่ 1 อาจป้องกันไม่ให้เรือถูกพายุได้แต่ไม่จัดการป้องกัน เป็นเหตุให้เรือ ว. ทองทะเล 4 ถูกพายุพัดหลุดลอยไปชนสะพานของโจทก์ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความคือวันที่ 23 ตุลาคม 2522 เป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ กรณีทุจริตการเบิกจ่ายเงิน การปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ
ในการจัดทำฎีกาเบิกเงิน จ่าสิบตำรวจ พ. มีหน้าที่รวบรวมใบสำคัญของผู้เบิกและใบแจ้งหนี้ของเจ้าหนี้ให้นายดาบตำรวจ ส.จำเลยที่ 2 และพันตำรวจตรี ว. สมุห์บัญชีกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดตรวจพิจารณาเพื่ออนุมัติจัดทำฎีกา เมื่อทำฎีกาและ หน้างบใบสำคัญขึ้นมาแล้วต้องเสนอให้พันตำรวจตรี ว. ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และต้องส่งหลักฐานการเบิกไปยังคลังจังหวัดพร้อมกับ การวางฎีกา เงินตามฎีกาทุกฉบับที่จ่าสิบตำรวจพ. ยักยอกไปโดย ทุจริตเมื่อรับจากคลังจังหวัดแล้วได้มีการนำมาลงบัญชีรับจ่ายของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดครบถ้วนทุกฎีกา พันตำรวจตรี ว.เป็นผู้เก็บรักษาเงินทั้งหมดไว้เพื่อรอจ่ายแก่ผู้ขอเบิกและเจ้าหนี้แต่พันตำรวจตรีว. ไม่ทำการจ่ายเงินนั้นด้วยตนเองกลับมอบหมายให้จ่าสิบตำรวจ พ. ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการจ่ายเงินดังกล่าวตามคำสั่งของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนำเงินไปจ่ายแก่ผู้ขอเบิก และเจ้าหนี้แทน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตเกี่ยวกับการ เงินรายนี้เป็นเพราะพันตำรวจตรี ว. ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจ่าสิบตำรวจพ.มอบเงินให้จ่าสิบตำรวจพ. นำไปจ่ายโดยไม่มีหน้าที่และไม่กำกับดูแลใกล้ชิด จึงเป็นช่องทางให้จ่าสิบตำรวจ พ. เบียดบังเอาเงินไปเป็นประโยชน์ของตนได้โดยง่าย ทั้งตามคำสั่งกองกำกับการดังกล่าวก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องเรียกและรวบรวมหลักฐานใบสำคัญประกอบฎีกาที่เบิกเงินแล้วส่งไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินภายใต้การตรวจตราสอดส่องควบคุมของพันตำรวจตรี ว.โดยตรงไม่ปรากฏว่าขณะที่พันตำรวจโทส.จำเลยที่ 1 ลงนามในฎีกาเบิกเงินมีใบสำคัญครบถ้วนหรือไม่ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลยให้จ่าสิบตำรวจ พ. เอาเงินไปเป็นประโยชน์ของตน การที่จำเลยที่ 1ลงนามในฎีกาเบิกเงินดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นผลโดยตรงเป็นเหตุให้กรมตำรวจโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อเอกสารหาย - ความประมาทเลินเล่อไม่เป็นเหตุยกเว้นการส่งเอกสาร
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชารับผิดร่วม
ที่ดินพิพาทได้มีการจัดทำระวางแผนที่ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2454 ก่อนที่พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะมีพระบรมราชโองการกำหนดเขตที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในปี พ.ศ.2467 พระบรมราชโองการดังกล่าวเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตที่ดินทั้งสี่ด้านไว้โดยละเอียด จึงมีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวง แม้ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษายังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2516) แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามเมื่อปี พ.ศ.2510 ที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างรังวัดสอบเขตตามคำขอของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องทราบดีและควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว
of 52