คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมินราคา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีนำเข้าต้องใช้ราคาสินค้าขายส่งตามปกติ ไม่ใช่ราคาพิเศษที่ลดจากผู้ขาย
ความรับผิดในอันที่จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับรถยนต์ที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ และการคำนวณภาษีต้องถือตามสภาพรถยนต์ ราคารถยนต์ และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่โจทก์นำรถยนต์เข้ามาในประเทศไทย
ราคารถยนต์ที่จะคำนวณภาษี ต้องถือตามราคาขายส่งเงินสดไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
รถยนต์ที่โจทก์ซื้อมาเป็นรถยนต์ซึ่งผู้สั่งซื้อไว้ไม่ยอมซื้อ บริษัทผู้ขายจึงลดราคาให้เป็นพิเศษ จึงแสดงว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ซื้อมามิใช่ราคาตามปกติ ย่อมจะถือเป็นราคารถยนต์ที่นำเข้าเพื่อคำนวณภาษีหาได้ไม่ เพราะมิใช่ราคาขายส่งซึ่งจะพึงขาย ณ เวลาและที่ที่นำเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำไปเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาตามราคาตลาด และอำนาจการจ่ายค่าทดแทน
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาปานกลางที่กรมที่ดินประเมินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นการไม่ชอบเพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 ระบุให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ซึ่งให้กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันกรณีส่งออกสินค้าคืน และการประเมินราคาภาษีอากรเพิ่มเติม
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้ว สินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาล ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 78 น.ว. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนและเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันค่าอากรเพิ่ม กรณีส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ และการประเมินราคาภาษี
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้วสินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วนหรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 78 นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการค้าให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้จากการค้ำประกันและการประเมินราคาที่ดินที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
โจทก์ซื้อเชื่อปุ๋ยจาก ก. มาขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ค้ำประกันโจทก์ต่อ ก. จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินแก่ธนาคารประกันหนี้ของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เองต่อธนาคาร โจทก์ไม่ใช้ราคาปุ๋ยแก่ ก. ธนาคารใช้เงินแก่ ก.ไป 800,000บาทตามวงเงินที่ค้ำประกัน ดังนี้ โจทก์ต้องใช้เงินนี้แก่ธนาคาร ที่ดินที่จำเลยที่ 1 จำนองราคาจริง 120,000 บาท แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารประเมินไว้ 2 ล้านบาท โจทก์สืบรู้เอง ไม่ใช่ธนาคารแจ้งแก่โจทก์โจทก์อ้างว่าเสียหายเพราะเข้าใจราคาที่ดินที่จำนองผิด จึงให้ธนาคารค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ แม้คนของธนาคารทุจริตโจทก์ ก็ไม่พ้นความรับผิดต่อธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าขึ้นศาลในคดีพิพาททรัพย์สิน: การโต้แย้งเรื่องประเภทคดีและการประเมินราคา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นภรรยาของโจทก์ ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์และโจทก์ได้บอกล้างแล้วขอให้ศาลแสดงว่านิติกรรมเป็นโมฆะจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นภรรยาของโจทก์และมีอำนาจทำนิติกรรมนั้นได้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: คดีขับไล่ที่ประเด็นหลักเป็นภาระผูกพันที่ไม่สามารถประเมินราคาได้ แม้มีเรียกค่าเสียหาย
คดีฟ้องขับไล่ซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือว่า เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ถึงแม้โจทก์จะมีคำขอเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายมาด้วยก็จะชี้ขาดว่าเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ไม่ได้ คดีเช่นว่านี้ แม้ประเด็นเรื่องขับไล่ได้ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วคงมีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้นก็ตามจำเลยก็ยังฎีกาในข้อเท็จจริงในฐานที่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพาทกรรมสิทธิที่ดิน: การประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อกำหนดค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยต่อสู้ว่า ไม่ได้มีการทำสัญญาขายแก่โจทก์ ดังนี้ เป็นการพิพาทกันด้วยกรรมสิทธิที่ดิน ต้องเรียกคู่ขึ้นศาลตามราคาที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าเรือโดยหลีกเลี่ยงภาษี, การประเมินราคา, การริบของกลาง, และการจ่ายสินบน/รางวัลจากประกัน
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันนำเรือยอช์ท ซึ่งเป็นของที่ยังไม่ได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องแล่นเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540 โดยแจ้งต่อนายด่านศุลกากรว่าเป็นการนำเข้าชั่วคราว ซึ่งมีเวลาอยู่ในราชอาณาจักร 6 เดือน คือภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2540 จากนั้น จำเลยทั้งสองกับพวกนำเรือของกลางจอดแล่นใช้งานตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2540 จนกระทั่งมีผู้แจ้งความนำจับและเจ้าพนักงานอายัดเรือไว้เป็นของกลางเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2541 ดังนี้ วันที่กระทำความผิดจึงเป็นวันที่ 20 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันนำเรือของกลางเข้ามา หาใช่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่เรือของกลางอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนด 6 เดือน ดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำผิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540 นั้น จึงชอบแล้ว
เงินตามสัญญาประกันค่าเรือที่บริษัท ล. ซึ่งเป็นเจ้าของเรือทำสัญญาไว้กับกรมศุลกากรในการรับเรือของกลางไปเก็บรักษา หากเรือของกลางชำรุดเสียหายหรือไม่สามารถส่งมอบเรือคืนให้ในสภาพเดิมได้ จะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 133,821,659 บาท นั้น เงินจำนวนนี้มิใช่เงินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบแทนเรือของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิด เพราะหากปรากฏภายหลังศาลมีคำพิพากษาให้ริบเรือของกลางแล้ว บริษัท ล. ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรมศุลกากรก็มีสิทธิฟ้องบังคับเงินค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในส่วนที่ให้ริบเงินตามสัญญาประกันเท่ากับขายเรือของกลาง และให้จ่ายสินบนนำจับและเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดจากเงินตามสัญญาประกันจึงไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นดังกล่าวนี้ไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย โจทก์มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10181/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ประเมินราคาและผู้รายงานผลการประเมินต่อความเสียหายจากการประเมินราคาผิดพลาด
ตามฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดด้วย ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 และผู้ประเมินซึ่งก็คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความบกพร่อง มีความประมาทเลินเล่อ ไม่ละเอียดรอบคอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ โดยไม่ตรวจสอบระวางที่ดิน ทำให้ไม่ทราบว่ามีการปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินแปลงข้างเคียง และประเมินที่ดินผิดแปลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งตามรายงานต่อโจทก์ตามแบบสรุปผลการประเมินราคาหลักประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ประเมิน จำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้จัดการ อันเป็นการร่วมกันรายงานต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
of 23