พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะจากข้อมูลเท็จ ผลผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์เคยถูกฟ้องเป็นจำเลยรวมสองสำนวนเรื่อง ละเมิดศาลเรียกจำเลยในคดีนี้เข้าเป็น จำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าขณะเกิดเหตุรถโดยสารของโจทก์พลิกคว่ำโจทก์ยังไม่ได้ทำสัญญา ประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวกับจำเลยหลังเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยออกกรมธรรม์คุ้มครองย้อนหลังไปถึงวันเกิดเหตุโดยไม่บอกความจริงว่ารถยนต์เกิดอุบัติเหตุแล้วสัญญาประกันภัยจึงตกเป็น โมฆียะ เมื่อจำเลย บอกล้างสัญญาประกันภัยย่อมสิ้นความผูกพันและ คดีถึงที่สุดไปแล้วดังนี้การที่โจทก์นำสัญญาประกันภัยในรถยนต์คันเดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกหาชอบไม่เพราะโจทก์เป็น คู่ความในกระบวนพิจารณาคำพิพากษามีผลผูกพันโจทก์โจทก์จะโต้แย้งว่าสัญญาประกันภัยยังมีผลบังคับและจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: คดีซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับคดีขับไล่ ศาลต้องยึดตามคำพิพากษาเดิม
ฟ้องโจทก์คดีนี้กับคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นจำเลยมีประเด็นข้อพิพาทเดียวกันว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสำคัญสัญญาจึงยังไม่เลิกกันพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ภายใน90วันโดยจำเลยต้องชำระเงินให้โจทก์ในวันโอนกรรมสิทธิ์คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145และเป็นผลให้ศาลในคดีนี้ต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในภายหลังว่าจำเลยผิดสัญญาและพิพากษาให้ขับไล่จำเลยจึงไม่ชอบส่วนที่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้หาทำให้คำพิพากษาดังกล่าวสิ้นผลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจพิสูจน์สายสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และผลผูกพันทางกฎหมายของการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ขอให้แพทย์ตรวจกรุ๊ปยีน ของโจทก์ที่ 1ที่ 2 และจำเลย หากผลการตรวจพิสูจน์กรุ๊ปยีน ความเป็นบิดามารดาและบุตรเป็นยีนเดียวกันจำเลยยอมแพ้คดีหากผลการตรวจยีนเป็นคนละกรุ๊ปกันโจทก์ยอมแพ้คดีการตรวจเลือดพิสูจน์สายสัมพันธ์กระทำได้หลายวิธีแต่ในคำท้าไม่ได้ระบุว่าจะต้องตรวจโดยวิธีใดเมื่อทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการตรวจและแจ้งผลให้ทราบถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจกรุ๊ปยีน ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยแล้วมีความเห็นตรงตามคำท้าของคู่ความ จึงเป็นการปฏิบัติโดยถูกต้องตามคำท้าแล้ว การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ยกปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงไม่ต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7351/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองมีผลผูกพันแม้ทำก่อนสัญญากู้ เหตุมีข้อตกลงประกันหนี้ในอนาคตตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร และมาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติให้หนี้ในอนาคตก็ประกันได้ นอกจากนี้ในสัญญาจำนองได้ระบุว่า จำนองเป็นประกันเงินกู้ทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ หรือจะมีขึ้นต่อไปภายหน้าอันพึงมีต่อโจทก์ ดังนั้น แม้สัญญากู้จะทำภายหลังสัญญาจำนอง สัญญาจำนองก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการอายัดที่ดินตาม ป.ก.ท. มาตรา 83: การโอนที่ดินระหว่างอายัดและผลผูกพันกับผู้ซื้อสุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาต่อคู่ความและบุคคลภายนอก กรณีคดีมีมูลคดีเดียวกัน
คดีนี้เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีมูลคดีอย่างเดียวกัน ที่ดินพิพาทเป็นแปลงเดียวกัน และคู่ความทั้งหมดยกเว้นโจทก์ที่ 2 เป็นรายเดียวกัน ศาลฎีกาได้พิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โดยพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 คดีนี้ถึงแม้คำพิพากษาจะไม่ผูกพันเพราะเป็นบุคคลภายนอก แต่การที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งที่ดินพิพาทเป็นคุณแก่โจทก์ และโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจึงใช้ยันแก่โจทก์ที่ 2ได้ ตามมาตรา 145 วรรคสอง (2) เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ที่ 1 และใช้ยันโจทก์ที่ 2 ได้เช่นนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทได้ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: การผูกพันตามการประนอมหนี้ และผลของการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดอยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดโจทก์ก็ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,91 และ 94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว จนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและ ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้วโจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญา ค้ำประกันมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายมีผลเมื่อมีเจตนาทำสัญญา หากรับของเพื่อทดลองใช้ก่อนยังไม่ถือเป็นการซื้อขาย
จำเลยทั้งสองได้ให้การไว้แล้วว่า ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จึงไม่มีหนี้ซึ่งจะต้องชำระให้แก่โจทก์ ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 2 รับของไปจากโจทก์เพื่อทดลองใช้ดูก่อนหากเป็นที่พอใจจะได้ตกลงทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันในภายหลังจึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่นั่นเอง กรณีหาใช่การรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ส. ทนายจำเลยทั้งสามร่วมกับฝ่ายโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสาม การที่ ส. ทนายจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสามมิได้รู้เห็นยินยอมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องไปว่ากล่าวกับ ส.เอง เมื่อจำเลยทั้งสามตั้ง ส. เป็นทนาย-ความดำเนินคดีแทนโดยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ตราบใดที่จำเลยทั้งสามยังมิได้ขอถอน ส. จากการเป็นทนายความของตน การกระทำของ ส.ในฐานะทนายความของจำเลยทั้งสามย่อมจะต้องผูกพันจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน, ทางสาธารณะ, การเพิกถอนบันทึกโฉนด, สิทธิในที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่1006 เลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนนและที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล. เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่นการแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้โดยล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลงรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล. ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์