คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การนับระยะเวลาตามปฏิทินราชการ
สัญญาประนีประนอมยอมความมีสาระสำคัญว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์งวดละ 10,000 บาท งวดแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 และงวดต่อไปทุก ๆ 3 เดือน จนกว่าจะครบหนี้ ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ดังนี้การนับระยะเวลาตามที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องคำนวณตามปฏิทินในราชการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ดังนั้น การชำระหนี้งวดที่ 2 จึงครบกำหนดชำระวันที่ 1 พฤษภาคม 2530 และงวดที่ 3 ครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2530 การที่จำเลยนำเงินงวดที่ 3 ไปชำระให้โจทก์เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2530 เป็นการเลยกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และถือว่าเป็นการผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยอ้างว่า โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระไม่ตรงวันที่ 1 ของเดือนก็ได้ แต่ไม่ให้ข้ามงวด โจทก์ว่าไม่เป็นความจริง เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีข้อตกลงกันดังที่จำเลยอ้าง ศาลต้องถือตามที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดทรัพย์คืน สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถัง และค่าเสียหายจากการใช้รถ
การที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อไปยึดรถยนต์พิพาทคืนจากโจทก์โดยโจทก์ผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันจำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยแล้วโจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทโดยไม่มีตัวถัง โจทก์ผู้เช่าซื้อเป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น กรณีจึงเป็นการเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้าด้วยกันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ ตัวรถยนต์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานที่รวมเข้าด้วยกันแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่น ๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 วรรคสอง เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการต่อตัวถังรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้จำเลยเพียง 5 งวด แต่โจทก์ใช้รถยนต์พิพาทตั้งแต่ต่อตัวถังเสร็จจนถึงวันที่จำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทคืนมา เป็นเวลาอย่างน้อย 17 เดือน โจทก์จึงใช้รถยนต์พิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าซื้อรวมอยู่ด้วยนับแต่วันที่รถยนต์พิพาทถูกยึดถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเป็นเวลา 22 เดือนเศษแล้วโจทก์จึงได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อมากกว่าค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์พึงได้รับ โจทก์จะเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายกรณีที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันในหนี้จำกัดวงเงิน และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
ฎีกาของโจทก์แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่ กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า500,000 บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการเสนอชำระหนี้ค่าชดเชยที่โจทก์ปฏิเสธ ทำให้โจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดนัด
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยไม่มีความ จำเป็นที่จะจ้างโจทก์ต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมี ความจำเป็นต้องยุบเลิกตำแหน่งของโจทก์เพื่อปรับภาวะทางเศรษฐกิจ ของจำเลย จึงเป็นสาเหตุเดียวกันแม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัย สาเหตุอื่นมาด้วย ก็ไม่เป็นการนอกเหนือเหตุในหนังสือเลิกจ้าง และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวถือได้ว่า เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างโดย ไม่เป็นธรรม
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน ๗๘,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์เมื่อ เลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับ โดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้ รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึง สิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงิน ดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำ เข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคาร มิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่ จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธ ไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตก เป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชย นับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๑.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุผลเลิกจ้างสมเหตุสมผล & การปฏิเสธรับชำระหนี้ทำให้เป็นฝ่ายผิดนัด
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์ต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องยุบเลิกตำแหน่งของโจทก์เพื่อปรับภาวะทางเศรษฐกิจของจำเลย จึงเป็นสาเหตุเดียวกันแม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยสาเหตุอื่นมาด้วย ก็ไม่เป็นการนอกเหนือเหตุในหนังสือเลิกจ้าง และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก
จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยจากวันผิดนัด
การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์สืบพยานเพิ่มเติมภายหลังจากสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วเพียงรอฟัง คำพิพากษา เพื่อพิสูจน์ชื่อโจทก์เพราะชื่อโจทก์ตามฟ้องกับหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ไม่ตรงกันนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย และ 187
จำเลยผู้ซื้อผิดนัดชำระราคาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระนับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ทวงถามวันใดอันจะถือว่าจำเลยผิดนัด ศาลให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ แม้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจ นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยหากผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำพ.ศ. 2515 ก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 ก็ดี ต่างก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีห้ามรัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ แต่ก็ปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นข้อยกเว้นบทกฎหมายได้ และถือว่าจำเลยผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัด: การคืนของหมั้น สินสอด ค่าทดแทนความเสียหาย และการพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิง หลังจากแต่งงานกันแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้ หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187-189/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: ถือเป็นหนี้เงิน, ผิดนัดไม่ต้องทวงถาม, คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่าย ย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่จำต้องทวงถาม
ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากรผิดนัด: ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ แต่ใช้เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีหน้าที่ชำระภาษีอากรผิดนัด ประมวลรัษฎากร มาตรา 27กำหนดทางแก้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาใช้บังคับไม่ได้
of 41