คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันข้อตกลงประนีประนอมยอมความโดยไม่จำเป็นต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์แต่งตั้งให้ ผ. เป็นตัวแทนโจทก์เจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายกับจำเลย โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ผ. ที่ได้ไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะตัวแทนโจทก์ โจทก์ต้องผูกพันในข้อตกลงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797และมาตรา 823 โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ผ.เจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าสาบานผูกพันจำเลย หากไม่ปฏิบัติตาม ถือเป็นฝ่ายแพ้คดี แม้จำเลยจะแจ้งทนายว่าไม่ยอมรับ
ใบแต่งทนายความของจำเลยระบุให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยได้ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การประนีประนอมยอมความ ฯลฯในวันชี้สองสถาน ทนายโจทก์และทนายจำเลยตกลงท้ากันว่า หากโจทก์และผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับโจทก์ไปสาบานที่ วัดพระแก้วกับ วัดบ้านแหลม โดยจำเลยจะเป็นผู้นำสาบานว่าโจทก์กับพวกไม่ได้เคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินมุม ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ แล้วจำเลยไม่ติดใจถือว่ายอมแพ้ ก่อนถึงวันนัดสาบานตามคำท้า ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายจำเลยโดยอ้างว่าความคิดเห็นไม่ตรงกัน เนื่องจากได้แจ้งเรื่องคำท้าให้จำเลยทราบแล้วจำเลยไม่ยอมรับ คำท้า แต่จะให้มีการสืบพยานต่อไป ในคำร้องดังกล่าวจำเลยได้ลงชื่อรับทราบข้อความและไม่คัดค้านไว้ ทั้งในวันนัดสาบานตามคำท้าทนายจำเลยก็แถลงยืนยันตามข้อความในคำร้องดังกล่าวจึงต้องฟังว่าจำเลยได้ทราบวันนัดสาบานตามคำท้าแล้ว แม้ในวันที่คู่ความแถลงท้ากันจำเลยไม่ได้ไปศาลก็ตาม เมื่อคำท้ามีผลผูกพันจำเลย จำเลยสามารถปฏิบัติตามคำท้านั้นได้โดยไปเป็นผู้นำสาบานตามคำท้า แต่จำเลยไม่ไป ถือได้ว่าจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำท้าจึงต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทนในตลาดหลักทรัพย์: สัญญาผูกพันแม้ไม่ได้โอนชื่อหุ้นโดยตรง
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายได้กระทำตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา1129 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย โดยไม่ได้โอนชื่อให้จำเลย แต่มีหลักฐานลงไว้ในบัญชีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งระบุหุ้นทุกหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนลูกค้าในแต่ละวัน ต่อมามีการคิดทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ค้างอยู่แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำและการผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน กรณีพิพาทเรื่องภาษีอากร
คดีเดิมซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินภาษีอากรของโจทก์ที่ 1 ชอบหรือไม่ และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารและชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยหรือไม่ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนี้มีประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรเพิ่มเติมจากที่โจทก์ได้รับชำระจากจำเลยและจากธนาคารผู้ค้ำประกันเพียงใดหรือไม่ ประเด็นในคดีทั้งสองแตกต่างกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลย คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ที่บัญญัติให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้นั้น มิได้บังคับให้จำเลยต้องฟ้องแย้งมาในคำให้การเสมอไป แต่เป็นบทบัญญัติที่ให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ หรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ตามแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควร ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ฟ้องแย้งมาในคำให้การคดีก่อน หากแต่ได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้กรรมการกระทำการแทนบริษัทและผลผูกพันทางสัญญา
บริษัทจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัดกระแสรายวันกับโจทก์ โดยมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เซ็นสั่งจ่ายพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 โดยไม่คำนึงถึง ป. กับกรรมการอื่น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อโจทก์และยินยอมให้โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยในการกู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งได้นำเงินฝากเข้าบัญชีและถอนเงินตลอดมา ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินบัญชีจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตที่ดิน: ผลผูกพันตามข้อตกลงและการรังวัดตามที่ตกลง
โจทก์กับจำเลยแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้น โดยตกลงให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดินไปดำเนินการรังวัดปักหลักเขตตามข้อตกลงอีกครั้งหนึ่ง และโจทก์จำเลยยินยอมให้ถือเอาผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินในครั้งหลังเป็นยุติดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับผลการรังวัดปักหลักเขตครั้งที่แล้ว เมื่อการรังวัดปักหลักเขตของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมีผลเป็นประการใด คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามข้อตกลงที่ได้แถลงต่อศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยินยอมของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525 เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 87, 87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าที่ชอบด้วยกฎหมายและการผูกพันของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อการชำระภาษี
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ. 2525ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าโจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 87,87 ทวิ(7) นั้น เป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้วการที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3ที่ 4 และที่ 5 ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยอมรับของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา87,87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้คำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ผูกพันเมื่อโจทก์ยินยอมแล้ว
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่า มีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย
of 52