พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: ประเด็นการคัดค้านต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าสิทธิการเช่าอาคารตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านและทรัพย์อื่นอันเป็นมรดกของผู้ตายไม่มี จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากในเรื่องขอจัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดก แต่ต้องรับผิดชอบหน้าที่และความรับผิดของผู้ตาย
การที่โจทก์ที่ 1 กับ ฟ. หย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนหย่าว่ายกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น บันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ซึ่งทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ฟ. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ได้ และโจทก์ที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิเรียกให้ ฟ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ตนได้โดยตรงเช่นกัน เมื่อ ฟ.ตายหน้าที่และความรับผิดที่ฟ. มีต่อโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมายังจำเลยในฐานะทายาทของ ฟ.จำเลยจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกดังกล่าว โจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้คัดค้านการขอรับมรดกที่ดินของจำเลยเมื่อปี 2530 และฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2531ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้คดีของโจทก์ที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความจำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอม-พินัยกรรม-การรับมรดก: สิทธิในที่ดินเมื่อคู่สมรสหย่าและมีพินัยกรรมยกมรดก
ข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ที่ตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นบุตรนั้น เป็นบันทึกข้อตกลงที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.และทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรส ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ฟ.ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 ได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลภายนอกหากแสดงเจตนาแก่ ฟ.ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น โจทก์ที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ ฟ.ชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญานั้นให้แก่ตนได้โดยตรง ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.เมื่อหย่ากัน แต่ละฝ่ายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 แต่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้แสดงเจตนาแก่ ฟ.ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาในส่วนที่ดินพิพาทซึ่ง ฟ.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งก่อนที่ฟ.จะตาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งจึงยังเป็นของ ฟ.อยู่ฟ.ย่อมแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับที่ดินนั้นในส่วนของตนเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนตายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ฟ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับที่ดินดังกล่าวตามส่วนที่ ฟ.มีกรรมสิทธิ์อยู่ในฐานะเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรม เมื่อ ฟ.ตาย อย่างไรก็ตามกองมรดกของผู้ตายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 นอกจากจะได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายแล้ว ยังรวมถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ด้วย แม้จำเลยจะมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายก็ตามแต่หน้าที่และความรับผิดที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นมรดกมีผลผูกพันให้จำเลยต้องรับผิดด้วย ดังนั้น หน้าที่และความรับผิดที่ ฟ. มีต่อโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงตกทอดมายังจำเลย และจำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกดังกล่าวด้วยการที่โจทก์ทั้งสองไปคัดค้านในขณะที่จำเลยทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองไปแสดงและขอรับมรดกต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า ฟ.ไม่มีสิทธินำเอาที่ดินพิพาทไปทำพินัยกรรมยกให้จำเลย นั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ได้ทำกันไว้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2519 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวได้ โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 จึงเกินกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) แล้ว คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ แต่คดีของโจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2ไปคัดค้านการขอรับมรดกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2530และโจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) คดีของโจทก์ที่ 2จึงยังไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอรับมรดกที่ดินครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทและไม่มีสิทธิที่จะยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ต่อไป จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดสิทธิทายาท การเพิกถอนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ได้ความภายหลังว่าก่อนตาย ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ที่ 1 และตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก จำเลยจึงถูกตัดมิให้รับมรดก และไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิผู้ร้อง (ภริยา) และผู้คัดค้าน (ผู้รับพินัยกรรม) ในกรณีทรัพย์สินเป็นสินสมรส
แม้ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวอันเป็นการตัดสิทธิทายาทอื่นรวมทั้งผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายด้วยก็ตาม แต่ทรัพย์สินตามที่ระบุในพินัยกรรมดังกล่าวยังคงมีข้อโต้เถียงกันว่าได้รวมเอาทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เช่นกันเมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ต่างมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม: ศาลพิจารณาจากหลักวิชาการและลักษณะลายมือชื่อเพื่อวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
การที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมแล้วลงความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของส. นั้น เป็นการแสดงความเห็นตามหลักวิชาการ หาได้รับฟังถ้อยคำจากบุคคลใดมากล่าว ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจึงมิใช่พยานบอกเล่าแต่ศาลก็มิได้รับฟังคำเบิกความของผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักในการวินิจฉัยเสมอไป หากแต่รับฟังประกอบดุลพินิจของศาลเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีพินัยกรรม: คู่ความต่างกัน ฟ้องไม่ซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
คดีก่อน ก.เป็นผู้ร้องขอจัดการมรดกของ จ. จำเลยในคดีนี้เป็นผู้คัดค้าน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ จ.ทำขึ้นว่าเป็นพินัยกรรมปลอม แม้ทั้งสองคดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้ร้องในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(ข้อสังเกต ฎีกานี้วินิจฉัยแนวเดียวกันกับฎีกาที่ 3146/2533)
(ข้อสังเกต ฎีกานี้วินิจฉัยแนวเดียวกันกับฎีกาที่ 3146/2533)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การปฏิเสธการเป็นผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับผลประโยชน์
ข้อกำหนดพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านเป็นส่วนใหญ่และตั้งพันโทหญิงม. และนางม. บุตรผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านให้ทนายความแจ้งไปยังพันโทหญิงม.และนางม.ว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ คนทั้งสองได้รับหนังสือแล้วไม่ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายใน 1 เดือน นับแต่วันรับแจ้งความ ถือได้ว่าคนทั้งสองปฏิเสธที่จะรับเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1717 ไม่สมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการ....มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนพินัยกรรม: ทายาทมีสิทธิฟ้องหากพินัยกรรมทำโดยข่มขู่หรือฉ้อฉล
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุตร ของ ส.ซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์คนละส่วนตามข้อกำหนดในพินัยกรรมของส.กับพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ทรัพย์อีกส่วนหนึ่งตกได้แก่ผู้ทำบุญ อุทิศให้แก่ ส.เมื่อส.ถึงแก่กรรมอันเป็นเจตนาของส. จำเลยที่ 3ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมต่อนายอำเภอ คดีนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าพินัยกรรมไม่ถูกต้อง เป็นโมฆะทำขึ้นโดย มีการบังคับขู่เข็ญหรือฉ้อฉลไม่เป็นไปตามเจตนาเดิมของ ส. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทของ ส. ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมดังกล่าวได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1708 และมาตรา 1709.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกใหม่ กรณีผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมปฏิเสธหน้าที่
เมื่อคำร้องของผู้ร้องระบุชัดว่า ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ปฏิเสธที่จะจัดการมรดกเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกไม่เต็มใจที่จะ จัดการมรดกโดยไม่เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงชอบที่ผู้ร้อง จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เพื่อจัดการมรดกต่อไป ผู้ร้องไม่อาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เพราะการถอนผู้จัดการมรดก มาตรา 1727 นี้เป็นเรื่องที่ ผู้จัดการมรดกเข้ารับตำแหน่งแล้วละเลยไม่จัดการมรดกตามหน้าที่.