พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน: สิทธิสินสมรสและการฉ้อฉลสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่าผู้ร้องเป็นภรรยาของจำเลย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง จำเลยนำไปขายฝากโดยผู้ร้องไม่ทราบ เมื่อผู้ร้องทราบได้ฟ้องจำเลยขอให้ลงชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ก่อนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้ร้องได้ขอไถ่การขายฝากแต่โจทก์ไม่ให้ไถ่ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยว่าสมคบกันไม่ยอมให้ผู้ร้องไถ่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา และที่จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เป็นการฉ้อฉลโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผิดสัญญาเพื่อโจทก์จะได้ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารคือผู้ร้อง จึงขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยเพื่อขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) คำร้องสอดของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม เป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยต่อศาลไว้ก่อน คดีอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้กฎหมาย & ฟ้องซ้อนจากคดีเดิม
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว อำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับ ซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้ไขกฎหมาย และฟ้องซ้อนจากประเด็นข้อตกลงทางเดิน
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้วอำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา" จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเช่าในคดีเดิมที่ฟ้องขับไล่ ย่อมขัดต่อหลักการห้ามฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโดยอ้างว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าหรือค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ขาดประโยชน์ไม่ได้ใช้ที่ดินดังนี้ เป็นการอาศัยมูลกรณีที่กล่าวว่าจำเลยอยู่ในที่ดินโจทก์โดยละเมิดซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้จากจำเลยในคดีเดิมนั่นเองแม้การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนนี้ จะเป็นประเด็นที่เพิ่มจากประเด็นในคดีเดิมแต่มูลกรณีที่จะเรียกร้องได้ก็ต้องอาศัยประเด็นตามฟ้องเดิมซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่จากมรดกที่ฟ้องแล้วซ้ำอีก แม้ฟ้องเพิ่มจำเลยใหม่ก็ยังห้าม
คดีแรก อ.อ้างว่าเป็นผู้จัดการมรดกของฉ. ได้ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่เช่าซึ่งเป็นที่ดินมรดกศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เพราะไม่เชื่อว่าพินัยกรรมที่ อ.อ้างเป็นพินัยกรรมที่ฉ.ทำขึ้นอ. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขณะคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ฉ. มาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทอีก ที่ อ. ฟ้องคดีแรกนั้นถือได้ว่ากระทำไปในฐานะตัวแทนของทายาทของ ฉ. หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นตัวแทนของโจทก์นั่นเอง เพราะฉะนั้นฟ้องสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่ต้องห้ามไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ฉ้อโกงกับการใช้เช็คเป็นกรรมเดียวกัน การฟ้องซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อน
การที่จำเลยนำเช็คมาแลกเงินสดกับโจทก์โดยจำเลยกล่าวหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จฯ นั้น ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จนศาลประทับฟ้องแล้ว โจทก์จะมาฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน – ฉ้อโกง vs. ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค – กรรมเดียวกัน
การที่จำเลยนำเช็คมาแลกเงินสดกับโจทก์โดยจำเลยกล่าวหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จฯ นั้น ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจนศาลประทับฟ้องแล้วโจทก์จะมาฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการยกประเด็นผู้ปกครองบุตรในชั้นฎีกา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอาศัยความยินยอมหย่าที่โจทก์จำเลยทำเป็นหนังสือกันไว้เป็นข้ออ้าง ส่วนคดีหลังโจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินกว่าหนึ่งปี และจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง สภาพแห่งข้อหาตลอดจนประเด็นในคดีทั้งสองต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
ปัญหาว่าบิดาหรือมารดาควรเป็นผู้ปกครองบุตร มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
ปัญหาว่าบิดาหรือมารดาควรเป็นผู้ปกครองบุตร มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจศาลในการวินิจฉัยเรื่องผู้ปกครองบุตร
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอาศัยความยินยอมหย่าที่โจทก์จำเลยทำเป็นหนังสือกันไว้เป็นข้ออ้างส่วนคดีหลังโจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินกว่าหนึ่งปีและจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงสภาพแห่งข้อหาตลอดจนประเด็นในคดีทั้งสองต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
ปัญหาว่าบิดาหรือมารดาควรเป็นผู้ปกครองบุตรมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
ปัญหาว่าบิดาหรือมารดาควรเป็นผู้ปกครองบุตรมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในความผิดหมิ่นประมาท การกระทำความผิดทั่วราชอาณาจักรไม่ถือเป็นความผิดต่างกรรม
กรณีจะเป็นความผิดต่างกรรมหรือไม่ ย่อมอยู่ที่การกระทำของจำเลย การที่ความผิดเกิดทั่วราชอาณาจักร แต่โจทก์ทราบการกระทำความผิดในสถานที่หนึ่ง แล้วมาทราบความผิดอันเดียวกันในอีกสถานที่หนึ่งนั้น มิใช่การกระทำของจำเลย จะถือเอาเหตุดังกล่าวเป็นความผิดต่างกรรมเพิ่มขึ้นมิได้
โจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลหนึ่ง และศาลนั้นประทับฟ้องคดีอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว โจทก์จะฟ้องจำเลยนั้นในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลหนึ่ง และศาลนั้นประทับฟ้องคดีอยู่ระหว่างพิจารณาแล้ว โจทก์จะฟ้องจำเลยนั้นในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15