คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญามาตรา 157 ต้องมีพฤติกรรมเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ/ทุจริต หากไม่มีพฤติการณ์ดังกล่าว แม้ฟ้องใช้ได้ก็ลงโทษไม่ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 จดข้อความเท็จลงในเอกสารการซื้อขายที่ดิน และจำเลยทั้งสองไม่ได้สมคบกันอ้างหรือใช้เอกสารดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานก็ไม่ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ซึ่งจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดนี้ไม่ได้อยู่แล้ว ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญาและการเลือกปรับบทลงโทษ: ศาลมีอำนาจพิจารณาจากข้อเท็จจริงแม้โจทก์ขอหลายมาตรา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานบังอาจยักยอกทรัพย์ของทางราชการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโดยนำไปขายให้ผู้อื่น อันเป็นการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151,157,158, 352 และ 353 เช่นนี้ เมื่อมาตราดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่บรรยายในฟ้องทั้งสิ้น และการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามมาตราใดย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะพึงเลือกปรับบทลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาที่โจทก์สืบสมตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงานท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลากระทำผิดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 เวลากลางวัน และกลางคืน จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายแล้วต่อมาบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยคนไหนมีหน้าที่อย่างไร แล้วบรรยายว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันให้เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครสมาชิกประเภทสามัญโดยรับเงินจากผู้สมัครส่งเป็นผลประโยชน์รายได้ของสมาคม แล้วบรรยายต่อไปว่า ตามวันเวลาดังกล่าวนี้ จำเลยทั้งสองได้รับเงินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันไว้จากประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกดังกล่าวแล้ว และเงินซึ่งสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันยืมจากบริษัทนฤมิตรธนาคมจำกัด แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเงินค่าสมัคร... กับเงินยืมอันเป็นทรัพย์สินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตัน.... ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นคำฟ้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทำให้เข้าใจข้อหาได้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 เวลากลางวัน และกลางคืน จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายแล้วต่อมาบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยคนไหนมีหน้าที่อย่างไร แล้วบรรยายว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันให้เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครสมาชิกประเภทสามัญโดยรับเงินจากผู้สมัครส่งเป็นผลประโยชน์รายได้ของสมาคม แล้วบรรยายต่อไปว่า ตามวันเวลาดังกล่าวนี้ จำเลยทั้งสองได้รับเงินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันไว้จากประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกดังกล่าวแล้ว และเงินซึ่งสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันยืมจากบริษัทนฤมิตรธนาคมจำกัด แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเงินค่าสมัคร... กับเงินยืมอันเป็นทรัพย์สินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตัน.... ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นคำฟ้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความลงชื่อแทนโจทก์ และสิทธิการฟ้องเพิกถอนสัญญาเช่าของบริษัท
คำฟ้องคดีอาญาที่ทนายความของโจทก์ลงชื่อมาในคำฟ้องแทนโจทก์แม้ในใบแต่งทนายจะระบุอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ไว้ด้วยก็เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 158(7) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญาและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลแขวง
โจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทเปิดเผยความลับและทำให้เสียทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2510 แล้วโจทก์มาฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 322, 358 เมื่อวันที่7 พฤศจิกายน 2510 เกินกำหนด 3 เดือน โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมชื่อจำเลยในฟ้อง: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องว่าฟ้องโจทก์หน้าแรกตรงข้อความว่า "ข้าพเจ้าพนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โจทก์ขอยื่นฟ้อง (1)... จำเลย" นั้น ยังมิได้เติมชื่อจำเลยลงไป ด้วยความพลั้งเผลอ จึงขอเติมชื่อจำเลยในช่องว่างเป็นว่า "นายดวง จิตชุ่ม" จำเลยนั้นเห็นว่าฟ้องของโจทก์ในช่องคดีระหว่างใครโจทก์ ใครจำเลยนั้น โจทก์ได้ระบุชื่อนายดวง จิตชุ่ม เป็นจำเลยไว้แล้ว เพียงแต่โจทก์พิมพ์ตกชื่อจำเลยในฟ้องหน้าแรก บรรทัดที่ 10 เท่านั้น ส่วนที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยในบรรทัดต่อไปโจทก์ก็พิมพ์ไว้ครบถ้วน ทั้งในฟ้องหน้า 2 ตอนท้าย โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลยต้องขังตามหมายขังของศาล ฟ้องของโจทก์จึงไม่มีทางที่จะให้เข้าใจผิดไปว่า โจทก์มิได้ฟ้องจำเลย จำเลยเองก็ดำเนินการต่อสู้คดีตลอดมาโดยมิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ จึงเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวในฟ้องด้วยความพลั้งเผลอ และไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี สมควรอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163, 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุสถานที่เกิดเหตุในฟ้องอาญา: เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา แม้ไม่ได้ระบุตำบล อำเภอ จังหวัด
เมื่อคำฟ้องบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดกระทำผิดที่กล่าวหามาพอเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจได้ดีว่า การกระทำผิดเกิด ณ สถานที่ใดแล้ว แม้จะไม่ได้ระบุ ตำบล อำเภอ จังหวัดของสถานที่ที่เกิดเหตุนั้นมาด้วยก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
(อ้างฎีกาที่ 951/2509)
of 55