คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภารจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน แม้ได้รับประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้าง ก็ต้องเสียค่าใช้ที่ดิน และอาจจดทะเบียนภารจำยอมได้
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกัน โจทก์จำเลยว่าจ้าง บ. ให้ปลูกสร้างตึกแถว 4 ชั้น บนที่ดินของทั้ง 2 ฝ่าย โดยให้ตึกแถวส่วนของโจทก์อยู่บนที่ดินของโจทก์และตึกแถวส่วนของจำเลยอยู่บนที่ดินของจำเลยโดยให้ใช้คานคอดินกับผนังตึกซึ่งอยู่กึ่งกลางตามแนวเขตร่วมกันแต่เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จจึงรู้ว่าคานคอดินและผนังตึกที่ใช้ร่วมกันรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ1 ตารางวา เช่นนี้ เมื่อการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้คานคอดินที่เป็นแนวแบ่งแยกตึกรวมทั้งผนังตึกที่ตั้งอยู่บนคานคอดินซึ่งโจทก์จำเลยใช้ประโยชน์ร่วมกันรุกล้ำเข้าไปอยู่ในที่ดินของโจทก์แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากคานคอดินและผนังตึกด้วยก็จะถือว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์หาได้ไม่ หากแต่ต้องถือว่าจำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ยินยอม อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในที่ดินแล้ว แม้ปรากฏว่าขณะทำการชี้แนวเขตวางผังและทำการก่อสร้างโจทก์จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแล แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนอันทำให้ตึกแถวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์จำเลยจะอ้างว่าการก่อสร้างรุกล้ำเกิดจากความผิดพลาดของโจทก์เองหาได้ไม่และจะถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ไม่ได้ เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันมาแต่ต้นเพียงว่าให้ตึกแถวของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่บนที่ดินของแต่ละฝ่าย ทั้งจะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะจำเลยก็มีหน้าที่ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินส่วนที่รุกล้ำเข้าไปให้แก่โจทก์ และมีสิทธิเรียกให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการก่อสร้างโดยสุจริต การฟ้องค่าเสียหายและภารจำยอม
แม้ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อย่างไร ส่วนไหน ขนาดกว้างยาวเท่าไร อยู่ทางทิศไหนของที่ดิน ก็หาเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมานั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแลการชี้แนวเขตและทำการก่อสร้าง แต่ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้ตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางโดยยินยอมไม่ก่อให้เกิดภารจำยอม และประเด็นศาลวินิจฉัยเกินคำขอ
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดย ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินยินยอมให้ใช้ เมื่อเป็นการใช้โดยเจ้าของที่ดินยินยอม แม้จะเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ได้ภารจำยอม โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อต่อไปว่า โจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภารจำยอมบนถนน จะมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนกำแพงออกจากถนนพิพาทได้หรือไม่ และตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมบนถนนพิพาทขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนกำแพงออกไป และในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มีคำขอให้พิพากษาตามฟ้องของโจทก์ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงมิได้พิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี ถือเป็นการได้ภารจำยอม แม้เจ้าของเดิมอนุญาตในเบื้องต้น
ทางพิพาทเป็นทางแยกจากซอยวิชิต แม้จะเป็นถนนส่วนบุคคลที่มารดาจำเลยที่ 1 ได้ปักป้ายสงวนสิทธิไว้ที่ปากซอยมาประมาณ30 ปีแล้ว ก็มีผลเป็นเพียงการสงวนกรรมสิทธิ์ซอยวิชิตและทางพิพาทไม่ให้ต้องตกไปเป็นทางสาธารณะอันจะกลายเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินเท่านั้น ไม่มีผลเลยไปถึงว่าซอยวิชิตและทางพิพาทปลอดจากภาระติดพันใด ๆ มารดาโจทก์กับโจทก์และผู้เช่าที่ดินของโจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยต่างได้ใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเสมือนว่าตนมีสิทธิที่จะใช้โดยมิได้อาศัยสิทธิของมารดาจำเลยที่ 1 หรือจำเลยทั้งสองตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว พฤติการณ์ในการใช้ทางพิพาทของโจทก์และบุคคลทั่วไปจึงมีลักษณะเป็นการใช้โดยถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอม การที่โจทก์จะได้ภารจำยอมหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อที่ว่า โจทก์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยทั้งสองมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทเป็นประจำด้วยหรือไม่เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การได้สิทธิใช้ทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นเมื่อใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี โดยเจ้าของที่ดินไม่โต้แย้ง
ที่ดินของโจทก์กับจำเลยมีเขตติดต่อกันโดยมีลำรางสาธารณะกั้นและโจทก์ได้สร้างสะพานข้ามลำรางสาธารณะเพื่อใช้ข้ามจากที่ดินของโจทก์ไปยังที่ดินของจำเลยและเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์มาเป็นเวลานานเกินกว่าสิบปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ โจทก์จึงไม่ต้องใช้ค่าเสียหายหรือค่าทดแทนให้แก่จำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่อง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และบุตรคนอื่น ๆ ปลูกบ้านลงในที่ดินมีโฉนดของบิดามารดาตามที่บิดามารดาอนุญาตและชี้ให้ปลูก โดยบิดามารดามีเจตนายกให้ตั้งแต่วันที่อนุญาตนั้น และต่างได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตลอดมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ แต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตนปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ ทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์และบริวารใช้เดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่แรกโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ การย้ายแนวทาง และการจดทะเบียนทางภารจำยอม
โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ใช้ทางในที่ดินของจำเลย ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก่อนปี 2498ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวล้วนแต่อยู่ในตระกูล ของ โจทก์ทั้งสิ้น การใช้ทางในระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการ ขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติหรือโดยถือวิสาสะ จึงไม่อาจได้ ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2498 ที่ ส. ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกไปและมีการโอนกันต่อ ๆมาจนถึงจำเลยซึ่งรับโอนเมื่อปี 2526 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางของโจทก์และคนในครอบครัวเป็นไปโดยสงบและเปิดเผย มิได้ขออนุญาตจากผู้ใด จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นทางสาธารณะที่โจทก์สามารถใช้สัญจรไปมาได้อยู่แล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ยังถือไม่ได้ว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางในที่ดินของจำเลยที่โจทก์ใช้เดินออกสู่ถนนพระรามที่ 3 อยู่จึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยให้การว่า โจทก์และคนในครอบครัวโจทก์ไม่เคยใช้ ทางบนที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่มีทางภารจำยอมคำให้การดังกล่าวย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วยการที่ศาลวินิจฉัยไปถึงความกว้างของทางภารจำยอมว่ามีความกว้าง 1 เมตร จึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การ ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร โจทก์ใช้ทางพิพาทไม่สะดวก ทั้งการสร้างรั้วหรืออาคารในที่ดินของจำเลยโดยเว้นทางพิพาทไว้ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางด้านทิศใต้เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์จากที่ดินทางด้านทิศใต้สุดแนวเขตที่ดินไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากได้ย้ายทางไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้แล้วย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลงกลับจะทำให้โจทก์เดินระยะทางสั้นเข้าเพราะไม่ต้องเดินวกไป ทางขวามากดังที่เป็นอยู่เดิม และการย้ายภารจำยอมเป็น ประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมนั้นพึงต้องถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่ง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 แม้โจทก์จะได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบที่จะเรียกให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้ โจทก์สร้างสะพานไม้ใช้เดินเข้าออกบนทางภารจำยอมเนื่องจากน้ำท่วม บางครั้งต้องเดินลุยน้ำแต่หากท่วมมากก็ต้องถอดกางเกงแล้วเดินออกไป ดังนั้นที่จำเลยถมดินทำให้ทางภารจำยอมสูงกว่าระดับที่ดินของโจทก์ก็ยิ่งทำให้โจทก์ ได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้นไม่ต้องเดินสะพานไม้อีกต่อไปการถมดินของจำเลยจึงมิได้ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น ไม่ใช่ประโยชน์แก่ตัวบ้านที่ปลูกบนที่ดินของผู้อื่น
อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีทางพิพาทในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของบ้านแต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ตนปลูกบ้านอยู่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรวมแยกโฉนดที่ดินก่อนได้รับอนุญาตจัดสรร ไม่เข้าข่ายละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ แม้ถนนลดขนาด
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยื่นคำขอรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดินภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 296 ใช้บังคับ จำเลยที่ 4ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ทำการรังวัดและแบ่งแยกที่ดินเสร็จสิ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขออนุญาตและได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังไม่ตกอยู่ในภารจำยอมจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะขอรวมและแบ่งแยกโฉนดและจำเลยที่ 3ถึงที่ 9 ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการรวมและแยกโฉนดตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามอำนาจหน้าที่ของตนที่มีอยู่ได้ แม้ที่ดินที่เป็นถนนตามโฉนดดังกล่าวเมื่อรวมและแบ่งแยกแล้วจะมีเนื้อที่ลดน้อยลงกว่าเดิม และโจทก์ไม่ได้รับแจ้งให้ไประวังแนวเขตที่ดินขณะทำการรังวัด แต่เมื่อเจ้าพนักงานไม่ได้รังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3265/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีละเมิดสิทธิใช้ทาง: ผู้เช่ามีหน้าที่เปิดทางจำเป็น/ภารจำยอมได้ แม้ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 2 ผู้เช่าที่ดินภารยทรัพย์นำรถแทรกเตอร์ไปไถทางภารจำยอมและทางจำเป็นของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้เป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ในการใช้ทาง โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เปิดทางเพื่อให้โจทก์สามารถใช้เป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะได้
of 46