พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนพิเศษจากรถยนต์ใช้ในการประกอบการค้า ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายรับเพื่อเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆจากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ.โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือ คอนซายน์เมนท์ฟี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซ็นต์การขายเป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้น แต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ.มากขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้น ซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัท อ.ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60 - 70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ.ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการหรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะเพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัวเช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ.ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัท อ.ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามป.รัษฎากร มาตรา 39และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่ง ป.รัษฎากร
สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตามค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่า หากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้า ถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่ง ป.รัษฎากร
สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตามค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่า หากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้ว ค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้า ถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทในการประกอบธุรกิจ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือคอนซายน์เมนท์พี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์ รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซนต์ การขาย เป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้นแต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ. มาก ขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัทอ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60-70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้า โดย ไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และ ย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์ จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะ เพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว เช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทน หรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้ เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตาม ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าหากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้วค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดั้งนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายรับที่ต้องเสียภาษี
โจทก์รับฝากขายสินค้าผงชูรสและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินที่เรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือ "คอนซายน์เมนท์ฟี"เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด เหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัท อ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน60-70 คัน ต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทน ซึ่งหากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการและย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการหรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์จะต้องสูงขึ้นเพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะเพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว การที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นจำนวนตายตัวในสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทั้งเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าอันถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ที่จะต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการประเมินที่ถูกต้อง การงดลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าแต่โจทก์ไม่ได้เสีย กลับอ้างว่าเงินได้หรือรายรับเป็นของผู้อื่นพฤติการณ์โจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2534คงเรียกเก็บร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมาย และลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2525 และภาษีการค้าของปี 2524และ 2525 คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ประมวลรัษฎากรสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2525 และเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิสำหรับภาษีการค้าปี 2524 และ 2525 ซึ่งเป็นเงินเพิ่มเพราะโจทก์ไม่เสียภาษีภายในกำหนดนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดหรือลดได้ และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการงด/ลดเงินเพิ่ม/เบี้ยปรับ กรณีผู้เสียภาษีมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
เงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินเพิ่มสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2525 และเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิสำหรับภาษีการค้าปี 2524 และ 2525 ซึ่งเป็นเงินเพิ่มเพราะโจทก์ไม่เสียภาษีภายในกำหนดนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอน โดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้ และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีในช่วงพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้เสียภาษีต้องยื่นคำขอและชำระภาษีตามกำหนด
โจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 ยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีจนกว่าจะถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็นการยกข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่มีอำนาจ เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ต้องเสียภาษีที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรตามมาตรา 30 จะต้องเป็นผู้ที่ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดภายในเดือนกรกฎาคม2529 และได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่ต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอด้วย แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีและชำระภาษีตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาตามพระราชกำหนด ดังกล่าว โจทก์คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่มีเงินได้และไม่ได้กระทำการค้าที่จะต้องเสียภาษี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับยกเว้นการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีตามพระราชกำหนด เป็นฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักฐานการจ่ายเงินต้องชัดเจน หากไม่มีหลักฐาน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าใช้จ่ายให้เหมาได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่ามีการหักให้เจ้าของฟิล์มภาพยนต์ ที่ นำมาฉายนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำหลักฐานการรับเงินไว้ บัญชีแสดงการจ่ายเงินก็ไม่มีจ่ายให้แก่ผู้ใด จำนวนเท่าใดก็ไม่ปรากฏ จึงไม่อาจนำจำนวนค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการ คำนวณภาษีที่ต้องชำระของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนด ค่าใช้จ่ายให้เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 75 เป็นประโยชน์แก่โจทก์ มากกว่า ไม่มีข้อที่โจทก์จะอ้างได้ว่าหักค่าใช้จ่ายให้ไม่ถูกต้อง และเป็นผลร้ายแก่โจทก์ โจทก์จึงนำเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง เพื่อให้เพิกถอนการประเมินไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4100/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายที่ดินต่ำกว่าราคาตลาด และการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินมาปรับปรุงแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยขาย เป็นการประกอบธุรกิจการค้าหากำไร การที่โจทก์โอนขายที่ดินให้แก่ศ.และส. ไปในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน แม้บุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้มีบุญคุณต่อโจทก์ตามที่กล่าวอ้างก็ย่อมเป็นเหตุอันไม่สมควรในทางการค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินราคาที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่ ศ.และส.ตามราคาตลาดในวันที่มีการโอนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) โจทก์มีเงินได้จากการค้าที่ดิน จัดอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ซึ่งประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาอันได้แก่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 155 พ.ศ. 2515 ข้อ 10 ที่กำหนดว่าเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรา 8 ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0802/6625 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ได้วางแนวทางให้ถือปฏิบัติในการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรไว้ดังนี้ 1. ผู้มีเงินได้จะต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 หากผู้มีเงินได้ไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้หักค่าใช้ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาหักค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนที่ดินและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาตามสภาพความเป็นจริงเป็นราย ๆ ไปแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาขาย เมื่อโจทก์มีเพียงหลักฐานทางบัญชี แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชีมาแสดง การที่เจ้าพนักงานประเมินฟังว่า เป็นกรณีโจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้และพิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาขายจึงเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร: จำเลยต้องพิสูจน์การเสียภาษีของสินค้าที่ซื้อเข้ามา
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งหน้าที่พิสูจน์ในกรณีนี้ตกอยู่แก่จำเลยที่จะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าของกลางซึ่งได้นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้ว ดังที่มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบ เพียงแต่อ้างว่าเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะขายในตลาดสุขาภิบาลโดยเปิดเผย จึงเป็นความเข้าใจของจำเลยที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีนี้ และไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด จึงต้องฟังว่าจำเลยซื้อสินค้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: แผ่นพลาสติกปูพื้นเป็นวัตถุก่อสร้าง ไม่ใช่สิ่งทอหรือเครื่องแต่งกาย
โจทก์ผลิตสินค้าแผ่นพลาสติกดูราฟลอร์ซึ่งเป็นแผ่นพี.วี.ซี.หรือแผ่นพลาสติกนิ่มเพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะ หาได้มีความประสงค์จะให้ใช้เป็นสินค้าประเภทอื่นไม่การที่มีผู้นำสินค้าที่โจทก์ผลิตไปใช้ประกอบเป็นสินค้าอื่น เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นสินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชี 1 ท้าย พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่ประเภทผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2)จึงไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีการค้าตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว.